โควิด-19 คลายล็อก ชาวเน็ตเตรียมนัดเพื่อนเที่ยว ส่องมาตรการผ่อนคลาย ไปไหน ทำอะไรได้บ้าง?

ตึงเครียดกับการกักตัวอยู่บ้านท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 มานานหลายเดือน เดือนนี้เริ่มมีข่าวดีสำหรับคนเหงาที่จะได้ออกไปเจอเพื่อนกันสักที เพราะภาครัฐเริ่มมีมาตรการคลายล็อกดาวน์ตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไป ชาวเน็ตผู้ใช้งานแอปพลิเคชันหาเพื่อนคลายเหงาอย่าง BeeBar ซึ่งช่วยหาเพื่อนที่มีความสนใจตรงกันได้อย่างง่ายดาย ถึงเวลาเปิดฟังก์ชันนัดหมายเจอเพื่อนทางอินเตอร์เน็ตแบบออกไปเจอหน้ากันจริงๆ ได้แล้ว ทีมงานแอปพลิเคชัน BeeBar พาทวนมาตรการคลายล็อกดาวน์และเคอร์ฟิวล่าสุดซึ่งเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. ที่ผ่านมาว่ามีสถานที่ไหนที่ผู้ใช้แอปพลิเคชันหาเพื่อน สามารถใช้ฟังก์ชันนัดหมายทางออนไลน์ชวนเพื่อนไปเที่ยวไปเจอตัวจริงกันได้อย่างปลอดภัยและไม่เสี่ยงผิดกฎ ร้านจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม สถานที่หลักที่ชาวเน็ตส่วนมากมักเลือกไปนัดเจอเพื่อนใหม่ครั้งแรกอย่างร้านอาหารหรือคาเฟ่ ตอนนี้เริ่มเปิดให้บริการนั่งรับประทานในร้านได้ไม่เกิน 21.00 น. แต่ยังคงจำกัดการดื่มสุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ภายในร้าน รวมถึงให้นั่งได้ไม่เกินร้อยละ 75 ของจำนวนที่นั่งปกติ โดยมาตรการนี้ใช้บังคับกับร้านจําหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่มที่ตั้งอยู่ในห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ หรือสถานประกอบการอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน โรงภาพยนตร์ อีกหนึ่งสถานที่สุดคลาสสิคของชาวเน็ตในการแฮงเอาท์กับเพื่อนคงหนีไม่พ้นโรงภาพยนตร์ มาตรการคลายล็อกรอบนี้ก็ผ่อนคลายไปถึงโรงภาพยนตร์ด้วย โดย​​เปิดดําเนินการได้ไม่เกินเวลา 21.00 น. จํากัดจํานวนผู้ใช้บริการไม่เกินร้อยละ 50 ของจํานวนความจุที่นั่ง ผู้ใช้บริการต้องสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า งดการบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มในระหว่างการชมภาพยนตร์ และต้องนั่งให้มีการเว้นระยะห่างตามแนวปฏิบัติที่กระทรวงวัฒนธรรมร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขกําหนด เพราะฉะนั้นใครนัดเพื่อดูหนังช่วงนี้จะยังคงต้องรักษาระยะห่างกันอยู่ เจอเพื่อนได้แต่ปลอดภัยไว้ก่อน ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุดสำหรับสายชิลผู้รักงานศิลป์ การนัดเจอเพื่อนใหม่ที่พิพิธภัณฑ์ ห้องสมุด หรือหอศิลป์ทุกประเภทก็สามารถทำได้แล้วเช่นกัน โดยงดบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มขณะเข้าชมหรือใช้บริการ งดการทํากิจกรรมที่อาจทําให้เกิด ความแออัด และเข้าได้ไม่เกินร้อยละ 75 […]

เพื่อนกันไม่พูดแบบนี้ แชตกันแบบไหนที่ชวนให้คิดเกินเพื่อน

กักตัวอยู่บ้านนานๆ เริ่มเหงากันแล้วรึเปล่า? อยากจะคุยกับเพื่อนก็ได้แต่แชทคุยกัน คนที่อยากเจอหน้าก็ออกไปเจอกันไม่ได้เหมือนเคย มีก็แต่ข้อความจากคนพิเศษที่ชวนให้คนรับใจเต้นทุกครั้งที่เห็นโนติฟิเคชัน และจะเต้นแรงเป็นพิเศษเวลาที่เป็นคนที่เราแอบรู้สึกดีๆ อยู่ข้างเดียว เดือนนี้ทีมงาน BeeBar สำรวจความสัมพันธ์ของคน “แอบชอบเพื่อน” ความสัมพันธ์ที่ก้าวข้ามได้ยากเพราะเริ่มมาด้วยการเป็นเพื่อนกันแต่สุดท้ายกลับรู้สึกมากกว่านั้น สัญญาณไหนที่ผู้ใช้แอปพลิเคชัน BeeBar เห็นแล้วรู้สึกได้ว่าอีกฝ่ายต้องคิดเกินเพื่อนแน่ๆ ทีมงานได้รวบรวมประโยคแชตจากผู้ใช้ แล้วเปิดให้โหวตว่าข้อความไหนสะกิดใจว่าอีกฝ่ายคิดเกินเพื่อนชัดเจนที่สุด ได้ผลสรุปคือ อันดับ 1 “เราชอบเวลาเธอ…” อันดับ 2 “ฝันดี ฝันถึงเราด้วยล่ะ” อันดับ 3 “อย่าดื้อ” อันดับ 4 “ไว้ไปที่…ด้วยกันนะ” อันดับ 5 “เราเป็นห่วงนะ” ข้อความที่ติดอันดับ 1 “เราชอบเวลาเธอ…” เป็นข้อความที่มีความหลากหลาย โดยสามารถเติมการกระทำที่คนส่งชอบ เช่น เราชอบเวลาเธอหัวเราะ เราชอบเวลาเธอกินขนม ส่วนข้อความอันดับ 4 “ไว้ไปที่…ด้วยกันนะ” ในช่องว่างก็สามารถเติมสถานที่ที่อยากให้ฝ่ายที่รับข้อความไปด้วย ชวนให้สงสัยว่า เอ๊ะ คนคนนี้คิดกับเรายังไงกันแน่นะ ส่วนข้อความอื่นๆ ก็ชัดเจนมากว่าถ้าไม่แอบชอบจะอยากให้ฝันถึงทำไม จะเป็นห่วงทำไม แล้วทำไมถึงมองว่าอีกฝ่ายดื้อ มีแต่คนที่มองกันด้วยฟิลเตอร์เจ้าตัวน่ารักที่สุดนั่นแหละที่จะคิดและส่งข้อความแบบนี้มา นอกจากแชตแล้วเรายังถามต่อถึงด้วยว่าการกระทำแบบไหนที่ชวนให้รู้สึกว่ามากกว่าเพื่อน […]

“ฉีดวัคซีน” “ลงทะเบียนวัคซีน” หัวข้อพูดคุยยอดฮิตช่วงโควิด ทั้งปลอดภัย ทั้งได้เพื่อน

สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยร้อนระอุไม่แพ้อากาศบ้านเรา เพื่อความปลอดภัยต่อตัวเอง คนรอบข้าง และสังคม การกักตัวอยู่บ้านเลยเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำในช่วงนี้ แต่กักตัวอยู่บ้านนานๆ เริ่มเหงากันแล้วหรือเปล่า? ชาวเน็ตหลายคนเลือกใช้แอปพลิเคชันหาเพื่อนช่วยคลายเหงาอย่าง BeeBar ที่ช่วยหาเพื่อนในพื้นที่ใกล้ๆ หรือความสนใจตรงกันได้อย่างง่ายดาย เท่านี้ก็กักตัวอยู่บ้านได้อย่างปลอดภัยแถมมีเพื่อนคุยไม่ให้เหงาด้วย เพราะโควิด-19 นี่เองที่กระทบกับอะไรๆ ในหลายด้าน รวมไปถึงวิธีการที่พวกเราสื่อสารทักทาย หรือการหาหัวข้อมาคุยกัน แอปพลิเคชัน BeeBar ได้วิเคราะห์ผลจาก Big Data ของระบบแอปพลิเคชันเพื่อตรวจหาคำที่ถูกใช้ในบทสนทนาบ่อยที่สุดในช่วง 2 เดือนมานี้ ผลการวิเคราะห์พบว่า คำที่ถูกใช้เป็นอันดับ 1 คือ “วัคซีน” ถูกใช้มากกว่า 200,000 ครั้งภายใน 7 วัน ตามมาด้วยอีก 9 อันดับคือ “สวัสดี” “อยู่บ้าน” “โควิด” “น่ารัก” “กินอะไร” “นัดเจอ” “ทำอะไร” “กินข้าว” และ “เที่ยว” ทั้งนี้ชุดคำที่มีความเกี่ยวข้องกับวัคซีนคือ “ฉีดวัคซีน” “ลงทะเบียนวัคซีน” “ลงชื่อวัคซีน” และ “จองวัคซีน” […]

โควิดทำชาวเน็ตเหงา แห่เล่นแอปหาเพื่อนคึกคัก BeeBar พบอัตราการทักทายสูงขึ้น ตอบกลับไวขึ้น

ไวรัสโควิด-19 ที่ยังไม่สงบดีทำให้การออกไปยังสถานที่ที่มีคนแออัดหรืออยู่ในสถานที่ปิดอาจเพิ่มความเสี่ยงได้ การนัดหมายเจอเพื่อนในช่วงนี้จึงอาจต้องพักเอาไว้ก่อน หลายบริษัทเองก็เลือกให้พนักงาน Work from home กัน ภายในหนึ่งปีมานี้ พวกเราต้องกักตัวอยู่กับบ้านกันบ่อยครั้ง หลายคนก็เริ่มรู้สึกทนไม่ไหวกับการไม่ได้เข้าสังคมเลย ทำให้แอปพลิเคชันหาเพื่อนอย่าง BeeBar คึกคักกว่าปกติ การนัดหมายออนไลน์ แน่นอนว่าการออกไปข้างนอกเจอผู้คนก็เสี่ยงกับไวรัส แต่การไม่สามารถออกไปไหนมาไหนได้นานๆ ก็ทำให้เกิดความเครียดสะสมได้ ผู้ใช้แอปพลิเคชัน BeeBar ชาวไทยเองก็เช่นกัน โดยปกติแล้วฟังก์ชันการนัดหมายบน BeeBar ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง เพราะผู้ใช้สามารถสร้างการนัดหมายหลากหลายรูปแบบได้อย่างรวดเร็วและรอให้ผู้ใช้คนอื่นมาลงชื่อแสดงความสนใจได้ ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 นี้หลายคนยังคงใช้ฟังก์ชันนัดหมายอยู่ แต่ความเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดคือการ “นัดแชต” ที่สูงขึ้นกว่า 2.4 เท่า ฟังก์ชันการนัดหมายของ BeeBar มีตัวเลือกกิจกรรมมากมายให้ผู้ใช้เลือก ซึ่งรวมไปถึงการนัดแชตที่ไม่จำเป็นต้องออกไปเจอหน้าก็สามารถทำความรู้จักกันได้ นอกจากนี้ระบบยังจะแสดงโปรไฟล์ของผู้ใช้ที่มีประกาศนัดหมายไว้อันดับต้นๆ ทำให้เพิ่มโอกาสได้คุยกับผู้ใช้คนอื่น ตรงตามความต้องการที่จะ “นัดแชต” คลายเครียดในช่วงเวลาแบบนี้ ทำให้การใช้ฟังก์ชันนัดหมายไม่ได้ลดลงไปในช่วงของการระบาดโควิด-19 เลย ส่งคำทักทายและตอบกลับมากขึ้น จากการสุ่มสำรวจความคิดเห็นจากผู้ใช้ชาวไทยจำนวน 600 คน กว่าร้อยละ 72 ยังบอกอีกด้วยว่าตนเองเลือกที่จะเป็นฝ่ายทักทายผู้ใช้คนอื่นก่อนมากกว่าปกติ ร้อยละ 66 บอกว่าได้รับการตอบกลับจากคนที่ทักทายไปมากกว่าเดิม และอีกร้อยละ 49 […]

แอปพลิเคชันหาเพื่อน BeeBar ศึกษาพบ ความสนใจส่วนตัวบนโปรไฟล์ส่งผลต่อโอกาสการแมตช์สำเร็จ

โดยทั่วไปคนเรามักคุยกับคนที่มีความสนใจตรงกันได้ถูกคอกว่าคนอื่น การเริ่มต้นบทสนทนาด้วยหัวข้อที่สนใจเหมือนกันสามารถนำไปสู่มิตรภาพดีๆ หรือแม้แต่การพัฒนาความสัมพันธ์ที่ไกลกว่านั้น เพราะเหตุผลนี้แอปพลิเคชัน BeeBar จึงมีระบบแนะนำผู้ใช้ที่มีความสนใจตรงกันเพื่อให้มั่นใจว่าผู้ใช้ทุกคนจะมีช่วงเวลาดีๆ กับเพื่อนใหม่บน BeeBar และยังได้ศึกษาสถิติการใช้งานจากฟังก์ชันความสนใจจนได้ผลลัพธ์ที่น่าสนใจต่อไปนี้ จากการศึกษาพบว่ายิ่งผู้ใช้แอปพลิเคชันมีความสนใจตรงกันมากเท่าไร ก็จะยิ่งพูดคุยกันบนแอปพลิเคชันนานขึ้น และผู้ใช้ที่สนใจเรื่องเกมร่วมกันยังพูดคุยกันนานกว่าความสนใจประเภทอื่นๆ อย่างเห็นได้ชัด ผู้ใช้เพศชายและหญิงที่มีความสนใจตรงกันอย่างน้อย 2 หัวข้อขึ้นไป ใช้เวลาคุยกันเฉลี่ย 5.09 ชั่วโมงต่อคู่ต่อวัน ขณะที่ผู้ใช้ที่มีความสนใจตรงกัน 1 หัวข้อใช้เวลาคุยกันเฉลี่ย 4.36 ชั่วโมงต่อคู่ต่อวัน และผู้ใช้ที่ไม่มีความสนใจร่วมกันเลยใช้เวลาคุยกันเฉลี่ย 3.02 ชั่วโมงต่อคู่ต่อวัน นอกจากนี้สถิติยังชี้ให้เห็นด้วยว่าผู้ใช้เพศชายและหญิงที่สนใจเรื่อง ‘เกม’ ร่วมกัน จะคุยกันโดยเฉลี่ยนานกว่าผู้ใช้คู่อื่นๆ ถึง 23 เปอร์เซ็นต์ การปรับแต่งข้อมูลส่วนตัวบนแอปพลิเคชันโดยการเพิ่มหัวข้อสิ่งที่สนใจเป็นอีกทางที่จะเพิ่มโอกาสการเจอเพื่อนใหม่ได้มากขึ้น และทำให้สามารถหาหัวข้อการสนทนาได้เป็นอย่างดี โดยนอกจากจะส่งผลต่อระยะเวลาการคุยกันต่อวันแล้ว สถิติยังแสดงให้เห็นด้วยว่าอัตราการจับคู่สำเร็จของผู้ใช้ที่เลือกแสดงความสนใจบนหน้าข้อมูลส่วนตัวมีสูงกว่าผู้ใช้ที่ไม่แสดงความสนใจส่วนตัวถึง 41 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้หัวข้อความสนใจที่ถูกเลือกจากผู้ใช้ชาวไทยมากที่สุด 5 อันดับคือ ท่องเที่ยว เกม อาหาร กีฬา และภาพยนตร์ เกี่ยวกับ BeeBar BeeBar เป็นแอปพลิเคชันแชท ศูนย์รวมคนที่มีความสนใจตรงกัน ด้วยอินเทอร์เฟซที่ใช้งานง่ายและออกแบบมาให้ผู้ใช้สามารถแชทและนัดเจอกันได้อย่างรวดเร็ว พร้อมกับตัวช่วยในการเริ่มต้นบทสนทนาที่หลากหลาย […]

แอปพลิเคชัน BeeBar เผยผลสำรวจ ชาวเน็ตไทยปี 2020 ได้เพื่อนจากอินเทอร์เน็ตเยอะสุด และพัฒนาเป็นคนรักสูงสุด

แอปพลิเคชัน BeeBar ทำการสำรวจพฤติกรรมการของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตชาวไทย พบว่าในปี 2020 ชาวเน็ตได้เพื่อนใหม่จากระบบอินเทอร์เน็ตเป็นอันดับหนึ่ง โดยผู้ตอบแบบสอบถาม 37 เปอร์เซ็นต์บอกว่าตนเองได้เพื่อนใหม่จากการใช้แอปพลิเคชันหาเพื่อนและโซเชียลมีเดียต่างๆ อีกทั้งกลุ่มเพื่อนจากอินเทอร์เน็ตนี้ยังมีสัดส่วนการพัฒนาความสัมพันธ์ไปเป็นคนรักมากที่สุดอีกด้วย สมัยนี้การมีเพื่อนจากอินเทอร์เน็ตไม่ใช่เรื่องแปลกอีกต่อไป เพราะไม่ว่าจะเป็นใคร อยู่ที่ไหน อายุเท่าไหร่ ขอแค่มีอุปกรณ์สำหรับออนไลน์ เช่น โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์ ทุกคนก็สามารถเจอเพื่อนใหม่จากโลกออนไลน์ได้ไม่ยาก สมัยก่อนพวกเราอาจต้องหาเพื่อนจากโรงเรียน มหาวิทยาลัย ที่ทำงาน เพื่อนบ้าน หรือเพื่อนของเพื่อนที่ถูกแนะนำมาให้ บางครั้งก็ต้องใช้เวลานานกว่าจะเจอเพื่อนที่คุยกันได้ถูกคอและสนใจอะไรเหมือนๆ กัน แต่เมื่อโลกเข้าสู่ยุคดิจิทัล การหาเพื่อนก็แทบไร้ข้อจำกัดอีกต่อไป แอปพลิเคชัน BeeBar ทำการสำรวจกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตชาวไทยอายุ 18-40 ปี จำนวน 500 คน ว่าในปี 2020 พวกเขาพบเพื่อนใหม่ด้วยวิธีใดบ้าง พบว่าในปีที่ผ่านมา คนไทยได้เพื่อนใหม่จากช่องทางบนอินเทอร์เน็ต เช่น แอปพลิเคชันหาเพื่อนหรือโซเชียลมีเดียเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุด คือ 37 เปอร์เซ็นต์ ตามมาด้วยการได้เพื่อนใหม่จากสถาบันการศึกษา เช่น โรงเรียน มหาวิทยาลัย ที่ 31 เปอร์เซ็นต์ ได้เพื่อนใหม่จากที่ทำงาน […]