จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน พร้อมด้วยบรรดาผู้ให้การสนับสนุนและผู้เชี่ยวชาญ ได้มารวมตัวกันเพื่อหารือแนวทางรับมือวิกฤตวัณโรคในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เนื่องจากประเทศสมาชิกองค์การอนามัยโลก (WHO) ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีจำนวนผู้ป่วยวัณโรครายใหม่เพิ่มขึ้นมากที่สุดในโลก
ในวันที่ 30 พฤศจิกายน และ 7 ธันวาคม จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน (Johnson & Johnson) พร้อมด้วยบุคลากรจากกองควบคุมวัณโรคแห่งชาติ (National Tuberculosis Program) จากอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม ได้จัดการประชุมสถานการณ์วัณโรคประจำเอเชียแปซิฟิกประจำปี 2564 ซึ่งเป็นการประชุมที่จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับความก้าวหน้าในการยุติโรควัณโรคในภูมิภาค เนื่องจากถึงแม้โรคดังกล่าวจะป้องกันและรักษาให้หายขาดได้ แต่วัณโรคยังคงเป็นโรคติดเชื้อที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากเป็นอันดับต้น ๆ ในเอเชียแปซิฟิก
การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นทางออนไลน์เป็นเวลา 2 วันภายใต้หัวข้อ United Against TB (รวมพลังสู้วัณโรค) โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมเกือบ 500 ราย ไม่ว่าจะเป็นบรรดาผู้นำ ผู้กำหนดนโยบาย หน่วยงานเอ็นจีโอ และแพทย์จากหลายประเทศทั่วเอเชียแปซิฟิก ทั้งนี้ วิทยากรจากอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม ได้ร่วมแบ่งปันแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด ตลอดจนองค์ความรู้ ความท้าทาย และคำแนะนำต่าง ๆ ซึ่งทุกประเทศมีวัตถุประสงค์เดียวกันคือการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (UN) ซึ่งตั้งเป้าที่จะกำจัดวัณโรคให้หมดไปจากโลกใบนี้ภายในปี 2573
ประเด็นหลักในการหารือครั้งนี้คือการพัฒนาการติดตามเคสผู้ป่วยใหม่ ซึ่งถือเป็นอุปสรรคที่หนักหนาเป็นอันดับต้น ๆ ในการต่อสู้กับวัณโรค เนื่องจากในเอเชียแปซิฟิก อัตราการป่วยเป็นโรควัณโรคอยู่ที่ราว 6.1 ล้านคนในปี 2563 แต่มีการแจ้งยอดผู้ป่วยเพียง 3.9 ล้านคนเท่านั้น[1] นอกจากนี้ ประเทศสมาชิก WHO ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังเป็นกลุ่มประเทศที่รับภาระด้านวัณโรคหนักมากที่สุดในโลก โดยมียอดผู้ป่วยใหม่สูงสุดถึง 43% จากจำนวนผู้ป่วยใหม่ทั่วโลกในปี 2563[2] ขณะเดียวกันยังมีรายงานว่า ผู้ป่วยวัณโรค 4 ใน 10 รายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่ได้รับการวินิจฉัยหรือแม้กระทั่งไม่ได้รับการรักษา[3] ซึ่งถือเป็นสถานการณ์ที่บั่นทอนกำลังของระบบสาธารณสุขซึ่งรับภาระหนักจากโควิด-19 อยู่ด้วยแล้ว ด้วยเหตุดังกล่าว ตัวเลขของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาโรคในประเทศที่มีอัตราการรักษาต่ำอยู่แล้วนั้นจึงทรุดหนักลงไปอีก แตะระดับเดียวกับปี 2551 ถือเป็นอุปสรรคที่สกัดความก้าวหน้าของเป้าหมายที่จะขจัดวัณโรคให้หมดไป[4]
อานา-มาเรีย โยเนสคู หัวหน้าสาขาวัณโรคระดับโลกแห่งสถาบันจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน โกลบอล พับบลิค เฮลธ์ กล่าวเกี่ยวกับการประชุมนี้ว่า “การประชุมครั้งนี้ได้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่น เอาจริงเอาจัง และนวัตกรรมของชุมชนวัณโรคและแผนงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในการรักษาระดับการช่วยชีวิตผู้ป่วย ตลอดจนความต่อเนื่องของบริการด้านการรักษาซึ่งจำเป็นต่อผู้ป่วยวัณโรคจำนวนมาก พร้อมลดผลกระทบในเชิงลบที่เป็นผลพวงจากโควิด-19 จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน มุ่งมั่นที่จะปลดล็อกนวัตกรรมในระดับท้องถิ่น ภูมิภาค และในระดับโลก เพื่อค้นหาผู้ป่วยที่ยังตกค้างและไม่ได้รับการรักษา ซึ่งถือเป็นเป้าหมายที่เรามีร่วมกัน นั่นคือการขจัดวัณโรคให้หมดไป”
ในการกำหนดแผนงานเพื่อสร้างกลยุทธ์ในการค้นหาผู้ป่วยใหม่ในอนาคต การประชุมครั้งนี้จึงได้เน้นหารือเกี่ยวกับการยกระดับการคิดเชิงนวัตกรรม เทคโนโลยี และความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับเอกชน เพื่อเร่งนำกลยุทธ์ดังกล่าวไปใช้งานจริงในชุมชน
การปรับปรุงอัตราการแจ้งเตือนผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ยังคงเป็นเป้าหมายสำคัญ โดยเรียกร้องให้เพิ่มความเข้มข้นในการค้นหาเคสผู้ป่วยใหม่ทั้งภายในระบบการแพทย์ หรือนอกเหนือจากระบบการถอดบทเรียนจากการรับมือวิกฤตการณ์ด้านสุขภาพระดับโลกอื่น ๆ อาทิ โควิด-19 และเอชไอวี เพื่อนำมาใช้ยกระดับการรับมือกับการรักษาวัณโรคเทคโนโลยีใหม่ ๆ สามารถช่วยสนับสนุนและรับมือกับอาการของผู้ป่วยวัณโรคในแต่ละระยะ ตั้งแต่การใช้การวิเคราะห์ข้อมูลและแมชชีนเลิร์นนิ่งเพื่อปรับปรุงอัตราการแจ้งเตือนผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ ไปจนถึงการนำเทคโนโลยีเอกซเรย์ล่าสุดและการวินิจฉัยระดับโมเลกุลไปใช้ยกระดับการวินิจฉัยวัณโรคในระยะเริ่มต้น และช่วยสร้างหลักประกันว่าผู้ป่วยจะได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งในส่วนนี้ Telehealth หรือบริการทางการแพทย์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต และเทคโนโลยีดิจิทัลจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการควบคุมและป้องกันวัณโรคส่งเสริมความร่วมมือทางกลยุทธ์ระหว่างภาครัฐกับเอกชน และขยายความร่วมมือไปยังผู้มีส่วนร่วมกลุ่มอื่น ๆ อาทิ หน่วยงานท้องถิ่น เอเจนซี องค์กรทางสังคม และภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลด้านวัณโรค เพื่อขจัดโรคนี้ให้หมดสิ้นไปความร่วมมือด้านนวัตกรรมควรจะต้องได้รับการผลักดันไปให้ไกลกว่าเดิม เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยให้ดียิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่นการจับมือเป็นพันธมิตรระหว่างซีอาน แจนส์เซน ฟาร์มาซูติคอล (Xian Janssen Pharmaceutical) และเทนเซ็นต์ ในประเทศจีน เพื่อร่วมกันสร้างแพลตฟอร์มผู้ป่วยวัณโรคกลุ่มที่มีภาวะดื้อยา เพื่อมอบบริการทางการแพทย์ที่เหมาะสมสนับสนุนมูลนิธิ MTV Staying Alive Foundation ในอินเดียในโครงการ “สาระความรู้คู่ความบันเทิง” เพื่อสร้างความตระหนักและให้ความรู้แก่เด็ก ๆ และจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน ร่วมมือกับโครงการ PATH on Breath for Life (B4L) ซึ่งเป็นโครงการริเริ่มในปี 2559 ที่มีเป้าหมายเพื่อเร่งการตรวจหาผู้ป่วยวัณโรคในเด็ก ตลอดจนแนวทางการรักษาและป้องกันโรค โดยอาศัยระบบการแพทย์ที่มีความแข็งแกร่งในจังหวัดเงียอาน ซึ่งเป็นพื้นที่ชนบททางตอนเหนือของเวียดนามปัญหาด้านการแบ่งแยกและเลือกปฏิบัติกับผู้ป่วยวัณโรคเป็นสิ่งที่บ่อนทำลายประสิทธิภาพในการค้นหาและวินิจฉัยโรคในกลุ่มผู้ป่วยใหม่มาอย่างยาวนาน ฉะนั้น การสื่อสารข้อมูลความรู้ทางการแพทย์กับผู้ป่วย สมาชิกในครอบครัว และชุมชน ไม่ว่าจะทั้งทางตรงและทางอ้อมจึงเป็นกระบวนการที่สำคัญเพื่อสร้างบรรยากาศในการรักษาที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยมากที่สุด ยกตัวอย่างเช่น โครงการ Ending Workplace TB (ถึงเวลายุติปัญหาวัณโรค) ซึ่งเป็นโครงการริเริ่มที่มีจุดประสงค์เพื่อผลักดันภาคเอกชนในการเข้ามามีบทบาทสำคัญในการเอาชนะวัณโรค ด้วยการงัดใช้ประโยชน์จากศักยภาพของธุรกิจทั่วโลกเพื่อให้เข้าถึงแรงงานและชุมชนหลายล้านคนได้
ภายในการประชุมยังได้เน้นย้ำถึงความสำคัญในการขับเคลื่อนเยาวชนให้มีส่วนร่วมกับการยุติวัณโรค ทั้งนี้ คนหนุ่มสาวที่มีอายุตั้งแต่ 15-34 ปีได้รับผลกระทบจากวัณโรคในสัดส่วนที่มากกว่ากลุ่มอื่น โดยเป็นกลุ่มอายุที่รับภาระจากโรคดังกล่าวหนักที่สุด[5] จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน ตระหนักดีว่า ก้าวแรกที่จะนำไปสู่ความสำเร็จคือการผลักดันคนหนุ่มสาวเหล่านี้ให้เข้าไปมีส่วนร่วมในความพยายามของแผนงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติ และริเริ่มโครงการใหม่ ๆ ที่จะผลักดันให้เยาวชนเป็นผู้สร้างความเปลี่ยนแปลงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
แจคกี แฮทฟิลด์ หัวหน้าพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ด้านวัณโรคของจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน กล่าวว่า “เพื่อสร้างหลักประกันว่าจะไม่มีเยาวชนคนไหนถูกทิ้งไว้ข้างหลัง เราจะต้องมองว่าเยาวชนทุกคนคือตัวแทนที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงในการรับมือกับปัญหาเกี่ยวกับวัณโรค อาทิ ช่องว่างระหว่างความตระหนักและการเข้าถึง รวมถึงการเผชิญหน้ากับปัญหาการแบ่งแยกและเลือกปฏิบัติ เราตั้งตารอที่จะยกระดับการมีส่วนร่วมกับเยาวชน เพื่อส่งเสียงของพวกเขาเพื่อยุติวัณโรค”