โรงพยาบาลนครธน ชวนสังคม “สูงวัย” ปรับพฤติกรรมเสี่ยง ป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม

ในปัจจุบัน ประเทศไทยพบผู้ป่วยมากกว่า 6 ล้านคน ผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไปพบได้ถึงร้อยละ 50 ปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยในกลุ่มผู้สูงอายุคือโรคกระดูกและข้อ อายุที่เพิ่มขึ้น เป็นสิ่งที่สะท้อนความสามารถในการซ่อมแซมของกระดูกอ่อนกำลังลดลงไปทุกที อาการข้อเข่าเสื่อมสามารถเกิดขึ้นได้จากพฤติกรรมของเราในชีวิตประจำวันเองเช่นกัน นายแพทย์นิธิวุฒิ ปิ่นสิรานนท์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธน เผยว่าเมื่อร่างกายถูกใช้งานเป็นเวลาก็อาจมีความเสื่อมไปตามกาลเวลา การเสื่อมตามธรรมชาติของร่างกายมักจะเริ่มเกิดกับบุคคลที่มีอายุ 40 ขึ้นไป ซึ่ง “โรคข้อเข่าเสื่อม”(Knee osteoarthritis) เกิดจากการใช้งานผิวกระดูกอ่อนที่อยู่ในข้อเข่าเริ่มมีการสึก อาการปวดข้อเข่านั้นจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดเมื่อมีการเคลื่อนไหวของข้อเข่า เป็นสิ่งที่รบกวนการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุเป็นอย่างมากไม่ว่าจะเป็น การนั่ง การเดิน การยืน เป็นต้น ดังนั้นควรปรับพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยง เพื่อป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมช่วยชะลอกระดูกข้อเข่าให้ใช้งานได้นานมากขึ้น ทั้งนี้ครอบครัวที่มีผู้สูงอายุ ก็สามารถสังเกตและดูแลพฤติกรรมของผู้สูงอายุในบ้านได้อีกด้วย วิธีป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม • การนั่ง สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงคือ การนั่งยอง ๆ นั่งขัดสมาธิ นั่งพับเพียบ การนั่งในอิริยาบถเหล่านี้จะทำให้ข้อเข่ารับน้ำหนักมากขึ้น ท่าที่พับงอกระดูกอ่อนจะเสียดสีกันสูงกว่าปกติ อาจจะต้องปรับด้วยการนั่งบนเก้าอี้ ด้วยอิริยาบถที่เหมาะสมหากหลีกเลี่ยงไม่ได้จริง ๆ ควรปรับเปลี่ยนอิริยาบถสลับมานั่งเก้าอี้ที่ห้อยขาหรือสลับมานั่งเหยียดขา รวมไปถึงการเข้าห้องน้ำ ควรหลีกเลี่ยงการนั่งสุขภัณฑ์นั่งยองเพื่อลดแรงกดทับในข้อเข่าลง การใช้งานหนักติดต่อกันต่อเนื่องแบบนี้ก็ย่อมเสื่อมสมรรถภาพไปอย่างรวดเร็ว • การนอน ความสูงของเตียงที่เหมะสมกับหัวเข่า เวลาที่นั่งบนเตียงก่อนจะนอน […]

ชวนสังคม “สูงวัย” ปรับพฤติกรรมเสี่ยง ป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม

ในปัจจุบัน ประเทศไทยพบผู้ป่วยมากกว่า 6 ล้านคน ผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไปพบได้ถึงร้อยละ 50 ปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยในกลุ่มผู้สูงอายุคือโรคกระดูกและข้อ อายุที่เพิ่มขึ้น เป็นสิ่งที่สะท้อนความสามารถในการซ่อมแซมของกระดูกอ่อนกำลังลดลงไปทุกที อาการข้อเข่าเสื่อมสามารถเกิดขึ้นได้จากพฤติกรรมของเราในชีวิตประจำวันเองเช่นกัน นายแพทย์นิธิวุฒิ ปิ่นสิรานนท์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธน เผยว่าเมื่อร่างกายถูกใช้งานเป็นเวลาก็อาจมีความเสื่อมไปตามกาลเวลา การเสื่อมตามธรรมชาติของร่างกายมักจะเริ่มเกิดกับบุคคลที่มีอายุ 40 ขึ้นไป ซึ่ง “โรคข้อเข่าเสื่อม”(Knee osteoarthritis) เกิดจากการใช้งานผิวกระดูกอ่อนที่อยู่ในข้อเข่าเริ่มมีการสึก อาการปวดข้อเข่านั้นจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดเมื่อมีการเคลื่อนไหวของข้อเข่า เป็นสิ่งที่รบกวนการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุเป็นอย่างมากไม่ว่าจะเป็น การนั่ง การเดิน การยืน เป็นต้น ดังนั้นควรปรับพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยง เพื่อป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมช่วยชะลอกระดูกข้อเข่าให้ใช้งานได้นานมากขึ้น ทั้งนี้ครอบครัวที่มีผู้สูงอายุ ก็สามารถสังเกตและดูแลพฤติกรรมของผู้สูงอายุในบ้านได้อีกด้วย วิธีป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม • การนั่ง สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงคือ การนั่งยอง ๆ นั่งขัดสมาธิ นั่งพับเพียบ การนั่งในอิริยาบถเหล่านี้จะทำให้ข้อเข่ารับน้ำหนักมากขึ้น ท่าที่พับงอกระดูกอ่อนจะเสียดสีกันสูงกว่าปกติ อาจจะต้องปรับด้วยการนั่งบนเก้าอี้ ด้วยอิริยาบถที่เหมาะสมหากหลีกเลี่ยงไม่ได้จริง ๆ ควรปรับเปลี่ยนอิริยาบถสลับมานั่งเก้าอี้ที่ห้อยขาหรือสลับมานั่งเหยียดขา รวมไปถึงการเข้าห้องน้ำ ควรหลีกเลี่ยงการนั่งสุขภัณฑ์นั่งยองเพื่อลดแรงกดทับในข้อเข่าลง การใช้งานหนักติดต่อกันต่อเนื่องแบบนี้ก็ย่อมเสื่อมสมรรถภาพไปอย่างรวดเร็ว • การนอน ความสูงของเตียงที่เหมะสมกับหัวเข่า เวลาที่นั่งบนเตียงก่อนจะนอน […]