ปวดแบบนี้ สัญญาณเตือนว่าต้องถึงมือหมอ

บทความ โดย : นพ.ธีรฉัตต์ ธนะสารสมบูรณ์ ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธน ปวดหลัง อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุไม่ว่าจะเป็นกล้ามเนื้อ, เส้นเอ็น, หมอนรองกระดูกสันหลังหรือกระดูกสันหลัง หลายอาการสามารถหายเองได้ หรือรักษาได้ด้วยวิธีการอื่นที่ไม่ใช่การผ่าตัด เช่น การใช้ยา หรือการทำกายภาพบำบัด เป็นต้น แต่สัญญาณเตือนสำคัญที่บ่งบอกว่าควรต้องไปพบและปรึกษาแพทย์ คือ • ปวดหลังและหรือปวดร้าวลงขาจนไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ เช่น ลุกยืน นั่ง หรือเดิน และปวดมากขึ้นเมื่อขยับยืนหรือเดิน • ปวดร้าวตามเส้นประสาทจากหลังลงไปถึงขา โดยการปวดอาจมีลักษณะคล้ายไฟฟ้าช็อต • มีอาการชาและ/หรืออ่อนแรงแขนหรือขาร่วมด้วย • กลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่อยู่ร่วมกับอาการปวดหลัง • ปวดตามแนวกระดูกกลางหลัง ที่ไม่ได้ปวดเยื้องไปด้านซ้ายหรือขวา • ปวดต่อเนื่องนานเกิน 4 สัปดาห์ • ปวดหลังและ/หรือร้าวลงขาลักษณะปวดแบบเฉียบพลัน ที่ไม่ได้เกิดจากการยกของหนัก ออกกำลังกาย หรือขยับตัวผิดท่า หรืออุบัติเหตุ อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าเกิดความผิดปกติเกี่ยวกับกระดูกสันหลัง ไม่ว่าจะเป็นหมอนรองกระดูกเคลื่อนไปกดทับเส้นประสาท หรือมีโพรงกระดูกสันหลังตีบที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกาย กระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท หรือกระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อม การวินิจฉัยหาสาเหตุที่ถูกต้องได้อย่างรวดเร็ว จะช่วยให้รักษาได้ตรงจุด และผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งการวินิจฉัยโรคนี้ต้องอาศัยแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ […]

แนะวิธีสังเกตและป้องกันผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมผู้สูงอายุในบ้าน

โรคสมองเสื่อม หรือ ภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ คือโรคที่ผู้ป่วยมีความเสื่อมถอยของการทำงานของสมองในภาพรวมซึ่งเกิดจากการสูญเสียเซลล์สมองหลายส่วน ผู้สูงอายุที่เป็นโรคสมองเสื่อมจะมีปัญหาในการทำงานของสมองขั้นสูง 6 ด้าน คือ ด้านสมาธิ ด้านการคิด ตัดสินใจ ด้านความจำ ด้านการใช้ภาษา ด้านมิติสัมพันธ์ และด้านการเข้าสังคม โรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุกำลังจะเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของไทย กรมสุขภาพจิตพบว่าผู้สูงวัยในไทยสมองเสื่อมกันมากถึง 8 แสนกว่ารายในปัจจุบัน ปู่ย่าตายายของเราที่อายุ 80 ขึ้นไป กว่าร้อยละ 50 มักมีอาการสมองเสื่อม ลูกหลานต้องช่วยกันดูแลอย่างเป็นพิเศษด้วยความใจเย็น แพทย์หญิงรุ่งทิพย์ ชัยธีรกิจ แพทย์ชำนาญพิเศษด้านประสาทวิทยา ศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลนครธน เผยถึงวิธีการสังเกตเบื้องต้นว่าลูกหลานสามารถช่วยกันสังเกตผู้สูงอายุที่บ้านได้ว่าเข้าข่ายภาวะสมองเสื่อมหรือไม่ อาทิ ผู้สูงอายุมีอาการหลงลืม สับสนเรื่องเวลาหรือสถานที่อาจลืมว่าตอนนี้ตนอยู่ที่ใดและเดินทางมายังสถานที่นั้นได้อย่างไร ไม่สามารถรับรู้หรือเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ใช้ภาษาผิดปกติ บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง เช่น ซึมเศร้า เฉื่อยชา โมโหฉุนเฉียวง่ายโดยไม่มีสาเหตุชัดเจน พฤติกรรมเหล่านี้อาจเป็นหนึ่งในสัญญาณเตือนการเข้าสู่ภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุในครอบครัวซึ่งผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมจะสูญเสียการทำงานอย่างเป็นขั้นเป็นตอนไปและมีการสูญเสียความจำระยะสั้นย้อนกลับไปถามคำถามเดิมซ้ำ ๆ ทั้งที่เพิ่งพูดคุยกันภายใน 5-10 นาทีที่ผ่านมา มากกว่านั้น เกิดหลงทางขึ้นมาแม้เป็นเส้นทางที่ตนคุ้นเคยมาทั้งชีวิตและผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการทางจิตประสาท เช่น หูแว่ว ภาพหลอน เข้าใจว่ามีคนคิดจะมาทำร้ายตนเอง ซึ่งถือว่าเป็นความอันตรายให้กับผู้สูงอายุในระดับนึง หากผู้สูงอายุมีอาการดังกล่าว […]