การรักษาสมดุลเพื่อประสิทธิภาพในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม

บทความโดย นายฟาบิโอ ทิวิติ รองประธาน บริษัท อินฟอร์ อาเชียน ทั้งการแพร่ระบาดของโรคและการถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร (เบร็กซิต – Brexit) ล้วนแต่ซ้ำเติมความท้าทายต่าง ๆ ที่ผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มต้องเผชิญอยู่ให้รุนแรงมากยิ่งขึ้น อีกทั้งความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ปัญหาติดขัด ณ จุดใดจุดหนึ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ และต้นทุนที่เพิ่่มสูงขึ้น ทั้งหมดล้วนเป็นมรสุมธุรกิจลูกใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียกคืนสินค้าเพื่อความปลอดภัยยังคงเป็นหนึ่งในความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่บรรดาผู้ผลิตต้องเผชิญ ส่งผลทำให้ค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงเพิ่มสูงขึ้น จากข้อกำหนดของ GFSI (The Global Food Safety Initiative) ซึ่งเป็นองค์กรอิสระด้านความปลอดภัยอาหารที่ได้รับการยอมรับทั่วโลกระบุว่า ผู้ผลิตต้องมั่นใจว่ามีการดำเนินมาตรการควบคุมที่เพียงพอที่จะป้องกันการปนเปื้อนของสารก่อภูมิแพ้ ส่วนผสมทุกชนิดที่เป็นสาเหตุของการแพ้อาหารในผลิตภัณฑ์จะต้องมีการระบุและสื่อสารอย่างชัดเจนต่อผู้บริโภค เพราะในบางกรณีสารก่อภูมิแพ้แม้เพียง 1 มิลลิกรัม ก็สามารถกระตุ้นให้เกิดการตอบสนองและอาจถึงแก่ชีวิตได้ FARE (Food Allergy Research & Education) เผยว่าในแต่ละปีชาวอเมริกันจำนวนสูงถึง 200,000 คน ต้องเข้ารับการรักษาตัวจากอาการแพ้อาหาร และจำนวนเด็กแพ้อาหารระหว่างปี 2540-2542 และปี 2552-2554 มีจำนวนสูงขึ้นถึง 50% และแน่นอนว่าโควิดได้ทำให้เรากลับมาให้ความสำคัญกับเรื่องความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนจากมนุษย์ และเชื้อโรคภายในโรงงานผลิตอีกครั้งหนึ่ง ในโลกที่ความปลอดภัยของอาหารถือเป็นสิ่งสำคัญสูงสุด […]

การบริหารจัดการซัพพลายเชน: ก้าวต่อไปของธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม

บทความโดย นายฟาบิโอ ทิวิติ รองประธาน บริษัท อินฟอร์ อาเชียน บริษัทผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มต่อสู้มาอย่างยาวนานเกี่ยวกับข้อบังคับเฉพาะเรื่องการจัดการอายุของผลิตภัณฑ์, ความซับซ้อนของการจัดตารางการผลิต, การตรวจสอบย้อนกลับและปัจจัยอื่น ๆ อีกมากมาย ยิ่งไปกว่านั้นความไม่แน่นอนเกี่ยวกับภาษีศุลกากร, แนวคิดด้านความยั่งยืน และกฎระเบียบที่เพิ่มมากขึ้นก็เป็นแรงส่งมหาศาลที่เพิ่มความซับซ้อนให้กับเรื่องเหล่านี้มากขึ้น ปัญหาและแนวโน้มเหล่านี้สามารถส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบซัพพลายเชนทั้งหมดของคุณ – ตั้งแต่การจัดซื้อ กระบวนการผลิต ไปจนถึงการจัดส่งสินค้า อินฟอร์จำแนกความท้าทายที่เกี่ยวข้องกับความซับซ้อนของระบบซัพพลายเชนในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มออกเป็นสามเรื่อง ดังนี้ 1. ต้อ¬งมีความสามารถในการรับรู้และมองเห็นความเป็นไปของทั่วทั้งโลก 2. ต้องรู้จักคาดการณ์และรับมือกับความผันผวน และ 3. ต้องใช้เทคโนโลยีที่ดีที่สุด ต้องมีความสามารถในการมองเห็นและรับรู้สถานการณ์ของทั่วทั้งโลก เรามักจะสนใจเฉพาะตัวแปรต่าง ๆ ที่เราควบคุมได้ แต่ถึงเวลาแล้วที่จะต้องทบทวนระบบซัพพลายเชนทั้งหมดใหม่อีกครั้ง เนื่องจากกระบวนการเหล่านี้ไม่ได้มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรจะเป็น เมื่อประมาณสองปีที่แล้วอินฟอร์ได้ทำการสำรวจบริษัทต่าง ๆ ที่อยู่บนเครือข่าย Infor Nexus และพบว่า 46% ของบริษัทเหล่านั้นกล่าวว่า ก่อนที่จะใช้งาน Infor Nexus พวกเขาต้องใช้เวลานานถึงสามวันกว่าจะระบุได้ว่าผลิตภัณฑ์ชิ้นนั้นอยู่ที่ไหน และจะได้รับของเมื่อไหร่ เห็นได้ชัดเจนว่าข้อมูลที่มีไม่ได้ช่วยให้เขาตัดสินใจได้ดีเพียงพอ ยิ่งไปกว่านั้นยังมีช่องว่างระหว่างการที่ผู้ผลิตจะติดต่อกับลูกค้า ซัพพลายเออร์ และบริษัทขนส่งภายนอกองค์กร ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อ EDI (Electronic […]