‘สกินชิพ’ แบบไหนไม่ผิดจุด 
สร้างความประทับใจให้นัดแรกไม่ล่ม


สถานการณ์โควิด-19แบบลุ่มๆ ดอนๆ ที่ไม่รู้ว่าจะกลับมาสู่จุดพีคอีกเมื่อไหร่ ทำเอาผู้ใช้แอปเดทแอปนัดหลายคนอยากรีบนัดเพื่อนแก้เหงา แต่การผลีผลามเกินไปอาจทำให้นัดแรกล่มไม่เป็นท่า ทีมงาน JD พามาส่องทำความเข้าใจ นัดเพื่อนใหม่ครั้งแรกถึงเนื้อถึงตัวได้แค่ไหนให้สบายใจกันทั้งสองฝ่าย ‘สกินชิพ’ หรือการสัมผัสแตะเนื้อต้องตัวกันของคนที่พบกันครั้งแรก หากผิดจังหวะหรือกาลเทศะไปบางครั้งอาจสร้างความไม่สบายใจให้คู่เดทของเราในนัดแรกได้ การให้เกียรติผู้ที่เดทกันไม่ได้แปลว่าห้ามแตะเนื้อต้องตัวอีกฝ่ายเลย แต่หมายถึงการไม่ฉกฉวยโอกาสหรือทำอะไรให้เขาและเธอรู้สึกไม่ดี อ้างอิงจากการศึกษาผู้ใช้แอปพลิเคชัน JD ชาวไทยเพศหญิง เรื่องการมีปฏิสัมพันธ์กับคู่เดทที่เพิ่งเจอกันครั้งแรก 78% ของผู้หญิงไทยให้ความเห็นว่า ‘แขน’ เป็นอวัยวะที่คนไม่สนิทจับแล้วก็รู้สึกสบายใจอยู่ รองลงมา 53% เป็นช่วง ‘มือ’ และ 21% เห็นว่า ‘หัวไหล่’ ยังเป็นส่วนที่ยอมรับได้ ส่วนอวัยวะที่สาวๆ หลายคนพร้อมใจกันบอกว่าหากเจอกันครั้งแรกห้ามแตะ จับ หรือแม้แต่มาปัดโดน ไม่อย่างนั้นความประทับใจแรกจะพังไม่เป็นท่า คือ ‘หน้าอก’ ‘ต้นขา’ และ ‘สะโพก’ ขณะที่ผู้ชายแม้เทียบกับผู้หญิงแล้วอาจมีจุดที่รู้สึกสบายใจในการถูกสัมผัสมากกว่า แต่สาวๆ ก็ไม่ควรไปสกินชิพสุ่มสี่สุ่มห้าเช่นกันถ้าอีกฝ่ายยังไม่ได้แสดงความสนิทใจ สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับใครที่ไฟแรงตั้งแต่นัดแรกคือการถามความยินยอมหรือ consent ของอีกฝ่ายก่อนเสมอ หากทำให้คู่เดทเรารู้สึกสบายใจที่จะสกินชิพได้แล้ว ทุกอย่างก็จะเกิดขึ้นต่อไปได้เองอย่างเป็นธรรมชาติ และขึ้นอยู่กับการตกลงกันของทั้งสองฝ่ายแล้วว่าจะยอมให้มี ‘สกินชิพ’ ในเดทแรกได้ถึงขั้นไหน รู้อย่างนี้ใครที่พร้อมนัดคู่เดทแล้วก็จัดไป หรือถ้ายังไม่มีใครให้ชวนไปเดทก็ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน JD […]

ผลสำรวจจากแอปพลิเคชัน JD คนโสดชาวไทย ‘ไวไฟ’ แค่ไหนในเดทแรก?

ความรู้สึกเมื่อได้เดทกับคนใหม่ๆ เป็นครั้งแรกมีทั้งความตื่นเต้น ประหม่า เขินอาย ฯลฯ ปฏิเสธไม่ได้ว่าหลายคนก็ชอบเวลาได้มีความรู้สึกแบบนี้ที่สุด แอปพลิเคชัน JD ผู้เชี่ยวชาญการหาคู่เดทได้สำรวจความคิดเห็นของผู้ใช้งานเกี่ยวกับเดทแรก พบว่าผู้ใช้จากกรุงเทพมหานครและภาคอีสานใช้เวลาในการพูดคุยทำความรู้จักกันบนแอปพลิเคชันเฉลี่ยเพียง 2 วันก็เพียงพอสำหรับการตัดสินใจออกเดท ขณะที่ผู้ใช้จากภาคใต้ใช้เวลาทำความรู้จักกันเฉลี่ยนานที่สุดคือ 5 วันก่อนจะตัดสินใจนัดเดท จากการสำรวจของแอปพลิเคชัน JD กลุ่มผู้ใช้งานอายุระหว่าง 18-35 ปี จำนวน 700 คน 81 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามเคยนัดเจอเพื่อนทางอินเทอร์เน็ต เกินครึ่งตอบว่าใช้เวลาต่ำกว่า 7 วันก่อนตัดสินใจนัดเดทกับเพศตรงข้ามที่เพิ่งจะรู้จักกันผ่านทางแอปพลิเคชันเป็นครั้งแรก โดยภูมิภาคที่ใช้เวลาสั้นที่สุดก่อนตัดสินใจนัดเดทได้แก่ กรุงเทพมหานครและภาคอีสานที่ใช้เวลาเฉลี่ยเพียง 2 วัน ตามมาด้วยภาคเหนือใช้เวลาเฉลี่ย 3 วัน ภาคกลาง 4 วัน และภาคใต้ 5 วัน เมื่อได้ออกเดทกันแล้วคำถามถัดมาคือหากต้องการจะแสดงความรู้สึกสนใจต่อกันจะสามารถทำอย่างไรได้บ้างให้ฝ่ายตรงข้ามรับรู้โดยไม่ต้องใช้คำพูด คู่เดทชาวไทย 57 เปอร์เซ็นต์รับได้กับการจับมือ 45 เปอร์เซ็นต์รับได้กับการโอบไหล่ 42 เปอร์เซ็นต์รับได้กับแตะแก้ม และ 28 เปอร์เซ็นต์รับได้กับการโอบเอว ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ยังให้ความสำคัญกับความยินยอมและสบายใจของอีกฝ่ายด้วยเช่นกัน โดยบอกว่าต้องคอยสอบถามหรือสังเกตปฏิกิริยาของฝ่ายตรงข้ามด้วยว่าจะสามารถแสดงออกถึงความสนใจได้มากน้อยเพียงไร การเดทเป็นเรื่องของคนสองคน […]

แอปพลิเคชัน BeeBar เผยผลสำรวจ ชาวเน็ตไทยปี 2020 ได้เพื่อนจากอินเทอร์เน็ตเยอะสุด และพัฒนาเป็นคนรักสูงสุด

แอปพลิเคชัน BeeBar ทำการสำรวจพฤติกรรมการของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตชาวไทย พบว่าในปี 2020 ชาวเน็ตได้เพื่อนใหม่จากระบบอินเทอร์เน็ตเป็นอันดับหนึ่ง โดยผู้ตอบแบบสอบถาม 37 เปอร์เซ็นต์บอกว่าตนเองได้เพื่อนใหม่จากการใช้แอปพลิเคชันหาเพื่อนและโซเชียลมีเดียต่างๆ อีกทั้งกลุ่มเพื่อนจากอินเทอร์เน็ตนี้ยังมีสัดส่วนการพัฒนาความสัมพันธ์ไปเป็นคนรักมากที่สุดอีกด้วย สมัยนี้การมีเพื่อนจากอินเทอร์เน็ตไม่ใช่เรื่องแปลกอีกต่อไป เพราะไม่ว่าจะเป็นใคร อยู่ที่ไหน อายุเท่าไหร่ ขอแค่มีอุปกรณ์สำหรับออนไลน์ เช่น โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์ ทุกคนก็สามารถเจอเพื่อนใหม่จากโลกออนไลน์ได้ไม่ยาก สมัยก่อนพวกเราอาจต้องหาเพื่อนจากโรงเรียน มหาวิทยาลัย ที่ทำงาน เพื่อนบ้าน หรือเพื่อนของเพื่อนที่ถูกแนะนำมาให้ บางครั้งก็ต้องใช้เวลานานกว่าจะเจอเพื่อนที่คุยกันได้ถูกคอและสนใจอะไรเหมือนๆ กัน แต่เมื่อโลกเข้าสู่ยุคดิจิทัล การหาเพื่อนก็แทบไร้ข้อจำกัดอีกต่อไป แอปพลิเคชัน BeeBar ทำการสำรวจกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตชาวไทยอายุ 18-40 ปี จำนวน 500 คน ว่าในปี 2020 พวกเขาพบเพื่อนใหม่ด้วยวิธีใดบ้าง พบว่าในปีที่ผ่านมา คนไทยได้เพื่อนใหม่จากช่องทางบนอินเทอร์เน็ต เช่น แอปพลิเคชันหาเพื่อนหรือโซเชียลมีเดียเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุด คือ 37 เปอร์เซ็นต์ ตามมาด้วยการได้เพื่อนใหม่จากสถาบันการศึกษา เช่น โรงเรียน มหาวิทยาลัย ที่ 31 เปอร์เซ็นต์ ได้เพื่อนใหม่จากที่ทำงาน […]