อยู่ก่อนแต่ง หรือ แต่งก่อนอยู่? ชาวไทย ปี 2564 คิดอย่างไรกับการอยู่ก่อนแต่ง

เมื่อพูดถึงการอยู่ก่อนแต่ง หลายปีก่อนอาจเป็นเรื่องยากจะรับได้สำหรับหลายๆ ครอบครัวในสังคมไทย แต่ ณ ปัจจุบันต้องยอมรับว่าหลายคนไม่ได้มองการอยู่ก่อนแต่งเป็นเรื่องต้องห้ามอีกต่อไป กลับกันคู่รักบางคู่มองว่าการอยู่ก่อนแต่งเป็นเรื่องจำเป็น และยังมีคู่รักอีกหลายคู่ที่เลือกจะอยู่ด้วยกันไปเรื่อยๆ โดยไม่แต่งงานกันอีกด้วย ค่านิยมที่เปลี่ยนไปนี่เองทำให้ทีมงาน SweetRing ทำการศึกษาว่าสังคมไทยปัจจุบันรับได้หรือไม่กับการอยู่ก่อนแต่ง และมีความคิดเห็นอย่างไรกับการอยู่ก่อนแต่งกันแน่ จากการสำรวจกลุ่มผู้ใช้แอปพลิเคชันหาคู่ชาวไทยอายุระหว่าง 18-47 ปี จำนวน 600 คน และแบ่งกลุ่มผู้ใช้ออกเป็น 3 กลุ่มตามช่วงอายุ พบว่ากลุ่มช่วงอายุ 18-27 ปี รับได้กับการอยู่ก่อนแต่งสูงที่สุดร้อยละ 87 กลุ่มช่วงอายุ 28-37 ปี รับได้กับการอยู่ก่อนแต่งร้อยละ 62 และกลุ่มช่วงอายุ 38-47 ปี รับได้กับการอยู่ก่อนแต่งร้อยละ 53 เฉลี่ยกลุ่มตัวอย่างที่ทำการสำรวจร้อยละ 67 รับได้กับการอยู่ก่อนแต่ง เมื่อถามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามต่อว่าหากได้แฟนจากการใช้แอปพลิเคชัน SweetRing แล้วจะอยากอาศัยอยู่ร่วมกันกับแฟนก่อนแต่งงานหรือไม่ ร้อยละ 54 ตอบว่าสนใจอยากอยู่กับแฟนก่อนแต่งงาน ร้อยละ 23 ตอบว่าแล้วแต่สถานการณ์ ร้อยละ 15 ตอบว่าไม่สนใจ และร้อยละ 8 ตอบว่ายังไม่รู้ […]

โควิดทำชาวเน็ตเหงา แห่เล่นแอปหาเพื่อนคึกคัก BeeBar พบอัตราการทักทายสูงขึ้น ตอบกลับไวขึ้น

ไวรัสโควิด-19 ที่ยังไม่สงบดีทำให้การออกไปยังสถานที่ที่มีคนแออัดหรืออยู่ในสถานที่ปิดอาจเพิ่มความเสี่ยงได้ การนัดหมายเจอเพื่อนในช่วงนี้จึงอาจต้องพักเอาไว้ก่อน หลายบริษัทเองก็เลือกให้พนักงาน Work from home กัน ภายในหนึ่งปีมานี้ พวกเราต้องกักตัวอยู่กับบ้านกันบ่อยครั้ง หลายคนก็เริ่มรู้สึกทนไม่ไหวกับการไม่ได้เข้าสังคมเลย ทำให้แอปพลิเคชันหาเพื่อนอย่าง BeeBar คึกคักกว่าปกติ การนัดหมายออนไลน์ แน่นอนว่าการออกไปข้างนอกเจอผู้คนก็เสี่ยงกับไวรัส แต่การไม่สามารถออกไปไหนมาไหนได้นานๆ ก็ทำให้เกิดความเครียดสะสมได้ ผู้ใช้แอปพลิเคชัน BeeBar ชาวไทยเองก็เช่นกัน โดยปกติแล้วฟังก์ชันการนัดหมายบน BeeBar ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง เพราะผู้ใช้สามารถสร้างการนัดหมายหลากหลายรูปแบบได้อย่างรวดเร็วและรอให้ผู้ใช้คนอื่นมาลงชื่อแสดงความสนใจได้ ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 นี้หลายคนยังคงใช้ฟังก์ชันนัดหมายอยู่ แต่ความเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดคือการ “นัดแชต” ที่สูงขึ้นกว่า 2.4 เท่า ฟังก์ชันการนัดหมายของ BeeBar มีตัวเลือกกิจกรรมมากมายให้ผู้ใช้เลือก ซึ่งรวมไปถึงการนัดแชตที่ไม่จำเป็นต้องออกไปเจอหน้าก็สามารถทำความรู้จักกันได้ นอกจากนี้ระบบยังจะแสดงโปรไฟล์ของผู้ใช้ที่มีประกาศนัดหมายไว้อันดับต้นๆ ทำให้เพิ่มโอกาสได้คุยกับผู้ใช้คนอื่น ตรงตามความต้องการที่จะ “นัดแชต” คลายเครียดในช่วงเวลาแบบนี้ ทำให้การใช้ฟังก์ชันนัดหมายไม่ได้ลดลงไปในช่วงของการระบาดโควิด-19 เลย ส่งคำทักทายและตอบกลับมากขึ้น จากการสุ่มสำรวจความคิดเห็นจากผู้ใช้ชาวไทยจำนวน 600 คน กว่าร้อยละ 72 ยังบอกอีกด้วยว่าตนเองเลือกที่จะเป็นฝ่ายทักทายผู้ใช้คนอื่นก่อนมากกว่าปกติ ร้อยละ 66 บอกว่าได้รับการตอบกลับจากคนที่ทักทายไปมากกว่าเดิม และอีกร้อยละ 49 […]

แอปพลิเคชันหาเพื่อน BeeBar ศึกษาพบ ความสนใจส่วนตัวบนโปรไฟล์ส่งผลต่อโอกาสการแมตช์สำเร็จ

โดยทั่วไปคนเรามักคุยกับคนที่มีความสนใจตรงกันได้ถูกคอกว่าคนอื่น การเริ่มต้นบทสนทนาด้วยหัวข้อที่สนใจเหมือนกันสามารถนำไปสู่มิตรภาพดีๆ หรือแม้แต่การพัฒนาความสัมพันธ์ที่ไกลกว่านั้น เพราะเหตุผลนี้แอปพลิเคชัน BeeBar จึงมีระบบแนะนำผู้ใช้ที่มีความสนใจตรงกันเพื่อให้มั่นใจว่าผู้ใช้ทุกคนจะมีช่วงเวลาดีๆ กับเพื่อนใหม่บน BeeBar และยังได้ศึกษาสถิติการใช้งานจากฟังก์ชันความสนใจจนได้ผลลัพธ์ที่น่าสนใจต่อไปนี้ จากการศึกษาพบว่ายิ่งผู้ใช้แอปพลิเคชันมีความสนใจตรงกันมากเท่าไร ก็จะยิ่งพูดคุยกันบนแอปพลิเคชันนานขึ้น และผู้ใช้ที่สนใจเรื่องเกมร่วมกันยังพูดคุยกันนานกว่าความสนใจประเภทอื่นๆ อย่างเห็นได้ชัด ผู้ใช้เพศชายและหญิงที่มีความสนใจตรงกันอย่างน้อย 2 หัวข้อขึ้นไป ใช้เวลาคุยกันเฉลี่ย 5.09 ชั่วโมงต่อคู่ต่อวัน ขณะที่ผู้ใช้ที่มีความสนใจตรงกัน 1 หัวข้อใช้เวลาคุยกันเฉลี่ย 4.36 ชั่วโมงต่อคู่ต่อวัน และผู้ใช้ที่ไม่มีความสนใจร่วมกันเลยใช้เวลาคุยกันเฉลี่ย 3.02 ชั่วโมงต่อคู่ต่อวัน นอกจากนี้สถิติยังชี้ให้เห็นด้วยว่าผู้ใช้เพศชายและหญิงที่สนใจเรื่อง ‘เกม’ ร่วมกัน จะคุยกันโดยเฉลี่ยนานกว่าผู้ใช้คู่อื่นๆ ถึง 23 เปอร์เซ็นต์ การปรับแต่งข้อมูลส่วนตัวบนแอปพลิเคชันโดยการเพิ่มหัวข้อสิ่งที่สนใจเป็นอีกทางที่จะเพิ่มโอกาสการเจอเพื่อนใหม่ได้มากขึ้น และทำให้สามารถหาหัวข้อการสนทนาได้เป็นอย่างดี โดยนอกจากจะส่งผลต่อระยะเวลาการคุยกันต่อวันแล้ว สถิติยังแสดงให้เห็นด้วยว่าอัตราการจับคู่สำเร็จของผู้ใช้ที่เลือกแสดงความสนใจบนหน้าข้อมูลส่วนตัวมีสูงกว่าผู้ใช้ที่ไม่แสดงความสนใจส่วนตัวถึง 41 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้หัวข้อความสนใจที่ถูกเลือกจากผู้ใช้ชาวไทยมากที่สุด 5 อันดับคือ ท่องเที่ยว เกม อาหาร กีฬา และภาพยนตร์ เกี่ยวกับ BeeBar BeeBar เป็นแอปพลิเคชันแชท ศูนย์รวมคนที่มีความสนใจตรงกัน ด้วยอินเทอร์เฟซที่ใช้งานง่ายและออกแบบมาให้ผู้ใช้สามารถแชทและนัดเจอกันได้อย่างรวดเร็ว พร้อมกับตัวช่วยในการเริ่มต้นบทสนทนาที่หลากหลาย […]

ผลสำรวจจากแอปพลิเคชัน JD คนโสดชาวไทย ‘ไวไฟ’ แค่ไหนในเดทแรก?

ความรู้สึกเมื่อได้เดทกับคนใหม่ๆ เป็นครั้งแรกมีทั้งความตื่นเต้น ประหม่า เขินอาย ฯลฯ ปฏิเสธไม่ได้ว่าหลายคนก็ชอบเวลาได้มีความรู้สึกแบบนี้ที่สุด แอปพลิเคชัน JD ผู้เชี่ยวชาญการหาคู่เดทได้สำรวจความคิดเห็นของผู้ใช้งานเกี่ยวกับเดทแรก พบว่าผู้ใช้จากกรุงเทพมหานครและภาคอีสานใช้เวลาในการพูดคุยทำความรู้จักกันบนแอปพลิเคชันเฉลี่ยเพียง 2 วันก็เพียงพอสำหรับการตัดสินใจออกเดท ขณะที่ผู้ใช้จากภาคใต้ใช้เวลาทำความรู้จักกันเฉลี่ยนานที่สุดคือ 5 วันก่อนจะตัดสินใจนัดเดท จากการสำรวจของแอปพลิเคชัน JD กลุ่มผู้ใช้งานอายุระหว่าง 18-35 ปี จำนวน 700 คน 81 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามเคยนัดเจอเพื่อนทางอินเทอร์เน็ต เกินครึ่งตอบว่าใช้เวลาต่ำกว่า 7 วันก่อนตัดสินใจนัดเดทกับเพศตรงข้ามที่เพิ่งจะรู้จักกันผ่านทางแอปพลิเคชันเป็นครั้งแรก โดยภูมิภาคที่ใช้เวลาสั้นที่สุดก่อนตัดสินใจนัดเดทได้แก่ กรุงเทพมหานครและภาคอีสานที่ใช้เวลาเฉลี่ยเพียง 2 วัน ตามมาด้วยภาคเหนือใช้เวลาเฉลี่ย 3 วัน ภาคกลาง 4 วัน และภาคใต้ 5 วัน เมื่อได้ออกเดทกันแล้วคำถามถัดมาคือหากต้องการจะแสดงความรู้สึกสนใจต่อกันจะสามารถทำอย่างไรได้บ้างให้ฝ่ายตรงข้ามรับรู้โดยไม่ต้องใช้คำพูด คู่เดทชาวไทย 57 เปอร์เซ็นต์รับได้กับการจับมือ 45 เปอร์เซ็นต์รับได้กับการโอบไหล่ 42 เปอร์เซ็นต์รับได้กับแตะแก้ม และ 28 เปอร์เซ็นต์รับได้กับการโอบเอว ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ยังให้ความสำคัญกับความยินยอมและสบายใจของอีกฝ่ายด้วยเช่นกัน โดยบอกว่าต้องคอยสอบถามหรือสังเกตปฏิกิริยาของฝ่ายตรงข้ามด้วยว่าจะสามารถแสดงออกถึงความสนใจได้มากน้อยเพียงไร การเดทเป็นเรื่องของคนสองคน […]

แอปพลิเคชัน BeeBar เผยผลสำรวจ ชาวเน็ตไทยปี 2020 ได้เพื่อนจากอินเทอร์เน็ตเยอะสุด และพัฒนาเป็นคนรักสูงสุด

แอปพลิเคชัน BeeBar ทำการสำรวจพฤติกรรมการของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตชาวไทย พบว่าในปี 2020 ชาวเน็ตได้เพื่อนใหม่จากระบบอินเทอร์เน็ตเป็นอันดับหนึ่ง โดยผู้ตอบแบบสอบถาม 37 เปอร์เซ็นต์บอกว่าตนเองได้เพื่อนใหม่จากการใช้แอปพลิเคชันหาเพื่อนและโซเชียลมีเดียต่างๆ อีกทั้งกลุ่มเพื่อนจากอินเทอร์เน็ตนี้ยังมีสัดส่วนการพัฒนาความสัมพันธ์ไปเป็นคนรักมากที่สุดอีกด้วย สมัยนี้การมีเพื่อนจากอินเทอร์เน็ตไม่ใช่เรื่องแปลกอีกต่อไป เพราะไม่ว่าจะเป็นใคร อยู่ที่ไหน อายุเท่าไหร่ ขอแค่มีอุปกรณ์สำหรับออนไลน์ เช่น โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์ ทุกคนก็สามารถเจอเพื่อนใหม่จากโลกออนไลน์ได้ไม่ยาก สมัยก่อนพวกเราอาจต้องหาเพื่อนจากโรงเรียน มหาวิทยาลัย ที่ทำงาน เพื่อนบ้าน หรือเพื่อนของเพื่อนที่ถูกแนะนำมาให้ บางครั้งก็ต้องใช้เวลานานกว่าจะเจอเพื่อนที่คุยกันได้ถูกคอและสนใจอะไรเหมือนๆ กัน แต่เมื่อโลกเข้าสู่ยุคดิจิทัล การหาเพื่อนก็แทบไร้ข้อจำกัดอีกต่อไป แอปพลิเคชัน BeeBar ทำการสำรวจกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตชาวไทยอายุ 18-40 ปี จำนวน 500 คน ว่าในปี 2020 พวกเขาพบเพื่อนใหม่ด้วยวิธีใดบ้าง พบว่าในปีที่ผ่านมา คนไทยได้เพื่อนใหม่จากช่องทางบนอินเทอร์เน็ต เช่น แอปพลิเคชันหาเพื่อนหรือโซเชียลมีเดียเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุด คือ 37 เปอร์เซ็นต์ ตามมาด้วยการได้เพื่อนใหม่จากสถาบันการศึกษา เช่น โรงเรียน มหาวิทยาลัย ที่ 31 เปอร์เซ็นต์ ได้เพื่อนใหม่จากที่ทำงาน […]