แนวทางการร่วมบูรณาการเพื่อพัฒนา “อีอีซี” สู่เมืองน่าอยู่อัจฉริยะ ความท้าทายของทุกภาคส่วน ในการเป็น สมาร์ทซิตี้

แนวทางการร่วมบูรณาการเพื่อพัฒนา “อีอีซี” สู่เมืองน่าอยู่อัจฉริยะ ความท้าทายของทุกภาคส่วน ในการเป็น สมาร์ทซิตี้ “เมืองน่าอยู่ สู่เมืองอัจฉริย” ในพื้นที่ศักยภาพของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี จะเกิดขึ้นได้ต้อง ร่วมกันของทุกภาคส่วน และผลประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจากนโยบายเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ ส่วนหนึ่งในการสัมมนาวิชาการออนไลน์ “แนวทางการร่วมบูรณาการเพื่อพัฒนา EEC สู่เมืองน่าอยู่อัจฉริยะ” EEC towards smart livable city จัดโดย นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต X-DBA รุ่นที่ 7 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา กล่าวปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ ความสำคัญของเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ แนวทางการบูรณาการ ร่วมกันของทุกภาคส่วนและผลประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจากนโยบายเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ ว่า การที่จะเป็นเมืองน่าอยู่แล้ว อัจฉริยะ ต้องพึ่งพาความมีวินัย และสุจริต ต้องไม่มีการคดโกง บริหารบนหลักธรรมาภิบาล ความอัจฉริยะของเมืองต้องขึ้นอยู่กับคน ไม่ใช่เพียงแค่พึ่งเครื่องไม้เครื่องมืออย่างเดียวในการเป็นอัจฉริยะ แต่มันต้องน่าอยู่ด้วย ให้ดูตัวอย่างพัฒนาการศึกษาอย่างโครงการอีสเทิร์นซีบอร์ด ที่มีการพัฒนามาเป็นอย่างดี มีทั้งข้อดี และจุดอ่อน เพราะฉะนั้นเอาสิ่งดีๆ มาพัฒนาก็จะทำให้ อีอีซี […]

กองกลาง มจพ. จัดโครงการโลว์คาร์บอน (Low Carbon) ด้วย “ต้นไม้ฟอกอากาศ” รูปแบบออนไลน์

อาจารย์ ดร.สราวุฒิ สืบแย้ม ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายการคลังและกิจการทั่วไป มจพ. กล่าวเปิดงาน โครงการโลว์คาร์บอน (Low Carbon) ด้วย “ต้นไม้ฟอกอากาศ” และการมอบนโยบายการพัฒนาสำนักงานสีเขียวตามประกาศกองกลาง เรื่อง การส่งเสริมการจัดการด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2564 โดยนางจารุวรรณ ศรีพงษ์พันธุ์กุล ผู้อำนวยการกองกลาง จากนั้นเป็นการบรรยายพิเศษ เรื่อง โลว์คาร์บอน (LOW CARBON) โดยผศ.ดร. ณัฐพงศ์ มกระธัช ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนาสิ่งแวดล้อมและกายภาพ ปิดท้ายด้วยพิธีมอบ “ต้นไม้ฟอกอากาศ” อาทิ ต้นรวย ไม่เลิก เศรษฐีพันล้าน ช้อนเงิน ช้อนทอง หัวใจทศกัณฑ์ เป็นต้น โครงการโลว์คาร์บอน (Low Carbon) เป็นบูรณาการเข้ากับโครงการของมหาวิทยาลัยตามคำรับรองการปฏิบัติงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และโครงการของสำนักงานอธิการบดี ดำเนินการโดยคณะกรรมการพัฒนาสำนักงานอธิการบดีสู่มหาวิทยาลัยสีเขียวซึ่งคณะอนุกรรมการส่งเสริมการจัดการด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อม กองกลาง เข้ามาทำหน้าที่และเป็นตัวแทนของกองกลางในการส่งเสริมให้กองกลางมีการบริหารจัดการที่ดี มีประสิทธิภาพภายใต้กรอบนโยบาย และแนวคิดการมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และการประหยัดพลังงาน ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า มีการบูรณาการด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมเข้าไปในกระบวนการทำงาน รวมไปถึงแลกเปลี่ยนความรู้ […]