มูลนิธิคุณแม่ลี้กิมเกียว ตั้งคารวคุณ สะพานบุญ มอบทุนน.ศ.แพทย์

กว่า 8 ปีที่มูลนิธิคุณแม่ลี้กิมเกียว ตั้งคารวคุณ องค์กรสาธารณกุศล ได้เป็นสะพานบุญ ส่งเสริมการศึกษาแก่นักศึกษาแพทย์ทั่วประเทศ ด้วยการมอบทุนการศึกษาต่อเนื่องแก่นักศึกษาแพทย์ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ให้ได้รับโอกาสในการเรียนต่อจนจบหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ซึ่งเป็นทุนแบบให้เปล่า ผู้รับทุนไม่ต้องชดใช้ทุนคืนแต่อย่างใด รวมกว่า 40 ทุน เพื่อผลิตแพทย์คุณภาพ ยกระดับงานสาธารณสุขไทย โดยมุ่งหวังให้นักศึกษาแพทย์ที่สำเร็จการศึกษา ได้คืนสู่ถิ่นฐาน กลับไปพัฒนาท้องถิ่น ช่วยเหลือประชาชน คุณประจักษ์ ตั้งคารวคุณ ประธานมูลนิธิคุณแม่ลี้กิมเกียว ตั้งคารวคุณ ผู้ให้ความสำคัญต่อการศึกษาของนักศึกษาแพทย์ กล่าวว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา มูลนิธิคุณแม่ลี้กิมเกียว ตั้งคารวคุณ ได้ให้การสนับสนุนทุนการศึกษามาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักสูตรแพทย์ และในช่วงวิกฤตโควิด-19 ที่ผ่านมา ก็ยิ่งชี้ชัดว่า อาชีพแพทย์สำคัญมาก ซึ่งแพทย์เป็นผู้เสียสละ และเป็นเรี่ยวแรงสำคัญที่คอยดูแลรักษาผู้ป่วยให้หายจากโรคภัยไข้เจ็บ แต่ปัจจุบันจำนวนแพทย์จบใหม่แต่ละปีไม่สอดคล้องกับจำนวนประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะในถิ่นทุรกันดาร ปัจจัยที่สำคัญคือ ความยากของวิชาแพทย์ที่ต้องใช้ระยะเวลาเรียนยาวนานถึง 6 ปี บวกกับค่าเล่าเรียน และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตลอดหลักสูตรที่ค่อนข้างสูง ทำให้หลายคนต้องทิ้งโอกาสการเป็นหมอ อีกทั้งในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และเหตุอุทกภัยหนักในหลายพื้นที่ ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของครอบครัวนักศึกษาแพทย์หลายคน บริษัทปิดกิจการ […]

มูลนิธิคุณแม่ลี้กิมเกียว ตั้งคารวคุณ มอบทุนการศึกษาแก่นศ.แพทย์สตรี ประจำปี 2564

มูลนิธิคุณแม่ลี้กิมเกียว ตั้งคารวคุณ ร่วมกับ บมจ. ทีโอเอ เพ้นท์ (ประเทศไทย) โดยคุณประจักษ์ – คุณละออ ตั้งคารวคุณ ประธาน – รองประธานมูลนิธิฯ มอบทุนการศึกษาต่อเนื่อง 6 ปี แก่นักศึกษาแพทย์สตรี รุ่นที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2564 จำนวน 10 ทุน เป็นจำนวนเงินปีการศึกษาละ 783,334 บาท โดยมี พญ.มยุรา กุสุมภ์ นายกสมาคมแพทย์สตรีแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ และศ.คลินิก พญ.ศิราภรณ์ สวัสดิวร ที่ปรึกษาสมาคมฯ เป็นผู้แทนรับมอบ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา มูลนิธิคุณแม่ลี้กิมเกียว ตั้งคารวคุณ ได้ให้การสนับสนุนทุนการศึกษาแก่นักศึกษาแพทย์มาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหาขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะพื้นที่ในถิ่นทุรกันดาร ที่มีจำนวนแพทย์จบใหม่แต่ละปีไม่สอดคล้องกับจำนวนประชาชนในพื้นที่ โดยมีสัดส่วนเฉลี่ย แพทย์ 1 คนต่อจำนวนผู้ป่วยกว่า 2,000 คน และอีกปัจจัยที่สำคัญคือ ความยากของวิชาแพทย์ที่ต้องใช้ระยะเวลาเรียนยาวนานถึง 6 ปี […]