คาดการณ์ 3 อันดับระบบซัพพลายเชนที่จะเกิดในปี 2565

บทความโดย นายฟาบิโอ ทิวิติ รองประธานและผู้จัดการทั่วไป บริษัท อินฟอร์ อาเชียน-อินเดีย ปี 2565 นับเป็นปีที่สามในการเผชิญกับภัยพิบัติด้านสุขภาพทั่วโลก ซึ่งส่งผลกระทบต่อซัพพลายเชนอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน  ผลกระทบรุนแรงจากความไม่สมดุลระหว่างอุปทานและอุปสงค์กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก  ประเด็นของความไม่แน่นอนและความกังวลที่เกิดขึ้นในปีนี้ จะยังคงเกี่ยวกับปัญหาด้านความพร้อมของแรงงานและต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น พื้นที่สำหรับโหลดสินค้า เซมิคอนดักเตอร์ ความพร้อมใช้งานของรถพ่วงสำหรับลากตู้คอนเทนเนอร์ ตลอดจนพื้นที่จัดเก็บของคลังสินค้า ดังนั้น อนาคตทางสังคมและเศรษฐกิจของเราทุกคนอาจจะยังรางเลือนไม่แน่นอน อันเนื่องมาจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาระลอกใหม่ที่เกิดขึ้นทั่วโลกในช่วงเทศกาลวันหยุด  อย่างไรก็ตาม เราได้เห็นรูปแบบของซัพพลายเชนแบบใหม่ที่กำลังเกิดขึ้น อันเป็นผลมาจากความสับสนวุ่นวายทางการค้า และการขนส่งสินค้าทั่วโลกในปัจจุบัน ซึ่งแนวโน้ม 3 ประการที่เราจะต้องเผชิญในปีนี้ ได้แก่ 1) ปัญหาเรือบรรทุกคอนเทนเนอร์ตามท่าเรือสำคัญในอเมริกาเหนือและยุโรปเหนือ จะยังคงดำเนินต่อไปจนถึงปี 2566 เนื่องจากความแออัดและความล่าช้าในปัจจุบันไม่ได้เป็นเพียงปัญหาการขนส่งที่เกิดขึ้นแต่ใน “มหาสมุทร” เท่านั้น แต่ได้กลายเป็นปัญหาของเครือข่ายซัพพลายเชนทั่วโลกไปแล้ว ปริมาณการขนส่งสินค้าขาเข้าที่เพิ่มขึ้นจากเอเชีย (จากความต้องการของผู้บริโภคที่สูงเป็นประวัติการณ์) กอปรกับปัญหาเกี่ยวกับแรงงานที่ท่าเรือ คนขับรถบรรทุก พนักงานขนถ่ายคลังสินค้า ตลอดจนปัญหาตู้คอนเทนเนอร์และรถพ่วงที่ว่างพร้อมใช้งาน ทำให้เกิดความล่าช้าในการขนถ่ายของเรือเดินทะเล และส่งผลกระทบถึงการเคลื่อนย้ายสินค้าออกจากท่าเรือไปยังคลังสินค้า หรือสถานที่แยกสินค้าที่อยู่ภายในประเทศอีกด้วย 2) บริษัทต้องจัดลำดับความสำคัญของการลงทุนด้านเทคโนโลยีที่ใช้ตั้งแต่ต้นทาง รวมทั้งความสัมพันธ์กับผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ที่ร่วมมือกัน เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นของซัพพลายเชน เพราะการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจจะยังคงเพิ่มขึ้นและส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง  นอกเหนือจากการมองเห็นสินค้าคงคลังในระหว่างการขนส่งแบบเรียลไทม์แล้ว บริษัทจะต้องมีการตั้งเป้าในการดำเนินงานใหม่ เน้นให้มองเห็นการขนส่งแบบองค์รวมในหลากหลายมิติ แทนการมุ่งแสวงหาต้นทุนที่ต่ำลงเพียงอย่างเดียว เช่น […]

ระบบเครือข่ายซัพพลายเชนด้านการเงินช่วยซัพพลายเออร์ บรรเทาภาระ และรับมือกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นได้อย่างดี

บทความโดย นายแคส เบรนท์เจนส์ รองประธานฝ่ายขายผลิตภัณฑ์อินฟอร์ เน็กซ์ซัส ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น สภาวะความผันผวนที่ยังคงสั่นคลอนระบบซัพพลายเชนทั่วโลก กดดันให้ผู้นำธุรกิจต้องคิดถึงแนวทางในการจัดการเอกสาร ข้อมูล และเงินทุนที่ขับเคลื่อนการค้าทั่วโลกใหม่อีกครั้ง บรรดาผู้ค้าปลีกและบริษัทสินค้าอุปโภคบริโภคต้องเผชิญกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นในหลาย ๆ ด้าน ตั้งแต่วัตถุดิบไปจนถึงสารเคมีเฉพาะ แรงงาน และการขนส่งผ่านตู้คอนเทนเนอร์ ตลอดจนถึงความกังวลที่เพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ ที่ผู้บริหารด้านการเงินต่างก็รับรู้ได้ถึงผลกระทบต่อกำไรเบื้องต้นของบริษัท หลายบริษัทกำลังพิจารณาปรับขึ้นราคาสินค้า และอีกหลายบริษัทก็กำลังพยายามต่อรองกับซัพพลายเออร์ของตน  ดังนั้นการปรับการดำเนินธุรกิจนำระบบดิจิทัลมาใช้ให้มากขึ้น ทำให้เกิดโอกาสมากมายชดเชยกับต้นทุนและความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นเหล่านี้ได้ และในบางกรณียังช่วยกระตุ้นการเติบโตของธุรกิจได้อีกด้วย ผลกระทบต่อเนื่องต่อผู้ขนส่ง ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาเกิดอุปสรรคมากมายในการขนส่งสินค้า ซึ่งส่งผลกระทบต่อกำไรและความน่าเชื่อถือเป็นอย่างมาก ค่าใช้จ่ายของบริษัทขนส่งที่พุ่งทะยานโดยมีความหวังเพียงน้อยนิดว่าจะดีขึ้น  กอปรกับความต้องการตู้  คอนเทนเนอร์ที่ยังอยู่ในระดับสูง ความแออัดของท่าเรือขนส่ง ตลอดจนความล่าช้าและการหยุดชะงักต่าง ๆ ที่ได้รับรายงานยาวเหยียด ล้วนแล้วแต่เพิ่มแรงกดดันต่อต้นทุนในการขนส่งด้วยตู้คอนเทนเนอร์ทั้งสิ้น หลักฐานที่ชัดเจนของเรื่องนี้คือการที่เรือเอเวอร์กิฟเว่น (Ever Given) ซึ่งบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์จำนวน 20,000 ตู้ เกยตื้นในคลองสุเอซเมื่อวันที่ 23 มีนาคม กีดขวางการจราจรในคลอง และทำให้การขนส่งสินค้าทางทะเลต้องหยุดชะงักในจุดที่มีการสัญจรทางน้ำที่พลุกพล่านที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากเบี้ยประกันในการโหลดสินค้าขึ้นเรือก่อน ได้ซ้ำเติมให้ปัญหานี้รุนแรงยิ่งขึ้น จากข้อมูลของ S&P Platts ผู้ให้บริการข้อมูลด้านพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ และแหล่งที่มาของราคาอ้างอิง ระบุว่าเบี้ยประกันเหล่านี้ทำให้ค่าใช้จ่ายสำหรับคอนเทนเนอร์ขนาด 40 ฟุต […]

ซัพพลายเชนที่ทันสมัยต้องอยู่บนคลาวด์

บทความโดย นายฟาบิโอ ทิวิติ รองประธาน บริษัท อินฟอร์ อาเชียน องค์กรด้านซัพพลายเชนจะต้องมั่นใจว่าขั้นตอนการทำงานต่าง ๆ กำลังดำเนินไปอย่างเหมาะสม และมีการใช้เครื่องมือดีที่สุดในทุกขั้นตอนการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการคาดการณ์ความต้องการ, การจัดซื้อ, การผลิต, การจัดการสินค้าคลัง และโลจิสติกส์ รวมถึงงานทุกอย่างที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการเหล่านี้ อย่างไรก็ตามไม่ว่าความกดดันจะเกิดจากระบบซัพพลายเชนของโลกมีความซับซ้อนมากขึ้น หรือต้องการสร้างความแตกต่างในตลาดด้วยอัตรากำไรที่ลดลงก็ตาม เครื่องมือในการบริหารจัดการซัพพลายเชนรุ่นเก่าก็ไม่สามารถสนองตอบต่อเป้าหมายขององค์กรด้านซัพพลายเชนในปัจจุบันได้ ซึ่งเป้าหมายดังกล่าวนี้การ์ทเนอร์ได้ระบุไว้ว่าคือ “ต้องมั่นใจได้ว่าซัพพลายเชนจะมีประสิทธิผลที่ดี คล่องตัว และตอบสนองความคาดหวังของลูกค้า ถึงแม้จะมีความท้าทายจากความผันผวน ความไม่แน่นอน ความซับซ้อน และความคลุมเครือก็ตาม” เทคโนโลยีได้พัฒนาไปถึงจุดที่สามารถสนับสนุนให้เกิดการแบ่งปันข้อมูลอย่างกว้างขวางระหว่างสมาชิกที่อยู่ในระบบนิเวศซัพพลายเชนด้วยกัน รวมถึงช่วยให้องค์กรสามารถรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกัน และตีความข้อมูลนั้นเพื่อนำไปใช้ในการตัดสินใจได้ดีขึ้น แพลตฟอร์มที่ทันสมัยต่าง ๆ เช่น คลาวด์ และเครื่องมือที่ทันสมัย เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และอินเทอร์เน็ตออฟธิงค์ (IoT) ช่วยเสริมศักยภาพให้องค์กรด้านซัพพลายเชนสามารถประเมินและตัดสินใจดำเนินงานด้านต่าง ๆ ที่จะขับเคลื่อนให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุดได้ พัฒนาจากการตั้งรับเป็นซัพพลายเชนเชิงรุก ถึงแม้ว่าระบบนิเวศซัพพลายเชนจะประกอบไปด้วยเครือข่ายของซัพพลายเออร์, พันธมิตรทางการค้า, ผู้ให้บริการด้านการเงิน และลูกค้าทั่วโลก แต่ซัพพลายเชนจำนวนมากก็ยังคงดำเนินงานไปทีละขั้นตอนงานใครงานมันตามแนวทางที่เคยทำกันมา โดยต่างก็ให้ความสำคัญเป็นพิเศษต่อกฎข้อบังคับขององค์กรตน แต่เนื่องด้วยกระบวนการและข้อมูลต่าง ๆ ของซัพพลายเชนมากกว่า 80% […]

การรักษาสมดุลเพื่อประสิทธิภาพในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม

บทความโดย นายฟาบิโอ ทิวิติ รองประธาน บริษัท อินฟอร์ อาเชียน ทั้งการแพร่ระบาดของโรคและการถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร (เบร็กซิต – Brexit) ล้วนแต่ซ้ำเติมความท้าทายต่าง ๆ ที่ผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มต้องเผชิญอยู่ให้รุนแรงมากยิ่งขึ้น อีกทั้งความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ปัญหาติดขัด ณ จุดใดจุดหนึ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ และต้นทุนที่เพิ่่มสูงขึ้น ทั้งหมดล้วนเป็นมรสุมธุรกิจลูกใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียกคืนสินค้าเพื่อความปลอดภัยยังคงเป็นหนึ่งในความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่บรรดาผู้ผลิตต้องเผชิญ ส่งผลทำให้ค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงเพิ่มสูงขึ้น จากข้อกำหนดของ GFSI (The Global Food Safety Initiative) ซึ่งเป็นองค์กรอิสระด้านความปลอดภัยอาหารที่ได้รับการยอมรับทั่วโลกระบุว่า ผู้ผลิตต้องมั่นใจว่ามีการดำเนินมาตรการควบคุมที่เพียงพอที่จะป้องกันการปนเปื้อนของสารก่อภูมิแพ้ ส่วนผสมทุกชนิดที่เป็นสาเหตุของการแพ้อาหารในผลิตภัณฑ์จะต้องมีการระบุและสื่อสารอย่างชัดเจนต่อผู้บริโภค เพราะในบางกรณีสารก่อภูมิแพ้แม้เพียง 1 มิลลิกรัม ก็สามารถกระตุ้นให้เกิดการตอบสนองและอาจถึงแก่ชีวิตได้ FARE (Food Allergy Research & Education) เผยว่าในแต่ละปีชาวอเมริกันจำนวนสูงถึง 200,000 คน ต้องเข้ารับการรักษาตัวจากอาการแพ้อาหาร และจำนวนเด็กแพ้อาหารระหว่างปี 2540-2542 และปี 2552-2554 มีจำนวนสูงขึ้นถึง 50% และแน่นอนว่าโควิดได้ทำให้เรากลับมาให้ความสำคัญกับเรื่องความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนจากมนุษย์ และเชื้อโรคภายในโรงงานผลิตอีกครั้งหนึ่ง ในโลกที่ความปลอดภัยของอาหารถือเป็นสิ่งสำคัญสูงสุด […]

การบริหารจัดการซัพพลายเชน: ก้าวต่อไปของธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม

บทความโดย นายฟาบิโอ ทิวิติ รองประธาน บริษัท อินฟอร์ อาเชียน บริษัทผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มต่อสู้มาอย่างยาวนานเกี่ยวกับข้อบังคับเฉพาะเรื่องการจัดการอายุของผลิตภัณฑ์, ความซับซ้อนของการจัดตารางการผลิต, การตรวจสอบย้อนกลับและปัจจัยอื่น ๆ อีกมากมาย ยิ่งไปกว่านั้นความไม่แน่นอนเกี่ยวกับภาษีศุลกากร, แนวคิดด้านความยั่งยืน และกฎระเบียบที่เพิ่มมากขึ้นก็เป็นแรงส่งมหาศาลที่เพิ่มความซับซ้อนให้กับเรื่องเหล่านี้มากขึ้น ปัญหาและแนวโน้มเหล่านี้สามารถส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบซัพพลายเชนทั้งหมดของคุณ – ตั้งแต่การจัดซื้อ กระบวนการผลิต ไปจนถึงการจัดส่งสินค้า อินฟอร์จำแนกความท้าทายที่เกี่ยวข้องกับความซับซ้อนของระบบซัพพลายเชนในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มออกเป็นสามเรื่อง ดังนี้ 1. ต้อ¬งมีความสามารถในการรับรู้และมองเห็นความเป็นไปของทั่วทั้งโลก 2. ต้องรู้จักคาดการณ์และรับมือกับความผันผวน และ 3. ต้องใช้เทคโนโลยีที่ดีที่สุด ต้องมีความสามารถในการมองเห็นและรับรู้สถานการณ์ของทั่วทั้งโลก เรามักจะสนใจเฉพาะตัวแปรต่าง ๆ ที่เราควบคุมได้ แต่ถึงเวลาแล้วที่จะต้องทบทวนระบบซัพพลายเชนทั้งหมดใหม่อีกครั้ง เนื่องจากกระบวนการเหล่านี้ไม่ได้มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรจะเป็น เมื่อประมาณสองปีที่แล้วอินฟอร์ได้ทำการสำรวจบริษัทต่าง ๆ ที่อยู่บนเครือข่าย Infor Nexus และพบว่า 46% ของบริษัทเหล่านั้นกล่าวว่า ก่อนที่จะใช้งาน Infor Nexus พวกเขาต้องใช้เวลานานถึงสามวันกว่าจะระบุได้ว่าผลิตภัณฑ์ชิ้นนั้นอยู่ที่ไหน และจะได้รับของเมื่อไหร่ เห็นได้ชัดเจนว่าข้อมูลที่มีไม่ได้ช่วยให้เขาตัดสินใจได้ดีเพียงพอ ยิ่งไปกว่านั้นยังมีช่องว่างระหว่างการที่ผู้ผลิตจะติดต่อกับลูกค้า ซัพพลายเออร์ และบริษัทขนส่งภายนอกองค์กร ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อ EDI (Electronic […]