การถ่ายทอดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกผ่านระบบคลาวด์ นำนวัตกรรม และประสิทธิภาพ พร้อมส่งเสริมให้ทุกคนมีส่วนร่วม

• ใช้สัญญาณการถ่ายทอดสดแบบ Live Cloud ครั้งแรกในกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวปีนี้ • ใช้เทคโนโลยีเอดจ์คลาวด์ในการถ่ายวิดีโอที่สมจริงเป็นครั้งแรก • ลดการใช้บุคลากร ณ หน้างาน ด้วยระบบการทำงานจากระยะไกลผ่านคลาวด์ที่ยืดหยุ่นกว่า อาลีบาบา คลาวด์ ร่วมมือกับหน่วยบริการกระจายเสียงแพร่ภาพโอลิมปิก (Olympic Broadcasting Services: OBS) นำเทคโนโลยีคลาวด์ของอาลีบาบามาใช้ระหว่างการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว ปักกิ่งเกมส์ 2022 เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้การแพร่ภาพกระจายเสียงมีประสิทธิภาพมากขึ้น สนับสนุนให้สามารถรายงานข่าวการแข่งขันต่าง ๆ ไปยังแฟนกีฬาทั่วโลกได้อย่างครอบคลุมในวงกว้าง การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวปีนี้ เป็นครั้งแรกที่องค์กรที่ออกอากาศทั้งหมดที่ซื้อสิทธิ์ทางโทรทัศน์และวิทยุในการแข่งขัน (Rights-Holding Broadcasters: RHBs) สามารถรับภาพและเสียงจากการถ่ายทอดสดผ่านโครงสร้างพื้นฐานพับลิคคลาวด์ที่เป็นทางเลือกที่มีความคล่องตัวมากกว่า ด้วยค่าใช้จ่ายเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับวิธีการส่งสัญญาณแบบอื่น นอกจากนี้ โซลูชันเอดจ์คลาวด์ที่มีประสิทธิภาพระดับแนวหน้าของอาลีบาบา ยังช่วยให้แฟนกีฬาทั่วโลกได้รับประสบการณ์การรับชมจังหวะการแข่งขันที่น่าตื่นเต้นอย่างสมจริงจากมุมที่ดีที่สุดหลากหลายมุมมอง Yiannis Exarchos ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ OBS ให้ความเห็นว่า “แม้จะอยู่ท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 แต่ความร่วมมือของเรากับอาลีบาบา คลาวด์ ก็ได้เปลี่ยนวิธีการถ่ายทอดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกของเราอย่างต่อเนื่อง OBS Cloud คือหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่ลุ่มลึกที่สุด ซึ่งนอกจาก OBS Cloud จะมอบประสิทธิภาพที่ไม่เคยมีมาก่อนให้แก่องค์กรแพร่ภาพกระจายเสียงแล้ว ยังเปิดโอกาสด้านนวัตกรรมอย่างไร้ขอบเขต และถ่ายทอดความตื่นเต้นของกีฬาโอลิมปิกสู่ผู้ชมในวงกว้างให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้” […]

เทรนด์ยอดนิยมที่ขับเคลื่อนการใช้คลาวด์ในปัจจุบัน

บทความโดย นายฟาบิโอ ทิวิติ รองประธานและผู้จัดการทั่วไป บริษัท อินฟอร์ อาเชียน-อินเดีย ทุกองค์กรไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ต่างตระหนักดีถึงความสำคัญของการใช้คลาวด์ และยอมรับว่าการย้ายโซลูชันภายในองค์กรไปยังคลาวด์จะก่อให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินงานต่าง ๆ มากมาย ต่างไปจากยุคแรก ๆ ของการใช้คลาวด์คอมพิวติ้งมาก ช่วงนั้นอาจเป็นเพราะธุรกิจยังไม่คุ้นเคยกับคลาวด์ ทั้งยังกังวลเรื่องความปลอดภัย การปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา รวมถึงการสูญเสียโซลูชันในองค์กรที่ปรับแต่งไว้มากมาย  ปัจจุบันบริษัทให้บริการเทคโนโลยีคลาวด์ได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความน่าเชื่อถือของแพลตฟอร์มคลาวด์ และแสดงให้เห็นถึงการรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวด ความสามารถที่แข็งแกร่ง และความสะดวกในการใช้งาน ซึ่งล้วนช่วยขับเคลื่อนให้องค์กรธุรกิจต่าง ๆ เปลี่ยนมาใช้งานคลาวด์มากกว่าที่เคยเป็นมา เปลี่ยนวิธีการดำเนินธุรกิจ ในโลกดิจิทัลปัจจุบัน การดำเนินธุรกิจโดยใช้ระบบคลาวด์เป็นรากฐานที่สำคัญของการปรับปรุงธุรกิจให้ทันสมัย  สำหรับองค์กรธุรกิจที่ยังตัดสินใจไม่ได้ ลองมาพิจารณาเทรนด์สำคัญบางประการที่จะแสดงให้เห็นว่า การย้ายไปยังระบบคลาวด์ไม่ได้เป็นเพียงปัจจัยสำคัญสำหรับการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการดำเนินธุรกิจในอนาคตอีกด้วย  1. ความจำเป็นในการขจัดข้อมูลแยกส่วน และให้ทุกฝ่ายตัดสินใจโดยใช้มาตรฐานเดียวกัน ข้อมูลของโซลูชันภายในองค์กรมักถูกจัดเก็บเป็นแบบแยกส่วน และให้ข้อมูลเชิงลึกเพียงเล็กน้อยแก่ผู้มีอำนาจตัดสินใจที่สำคัญ ทำให้ผู้บริหาร พนักงาน และคู่ค้าไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลสำคัญได้โดยตรง  ในทางกลับกัน โซลูชันคลาวด์จะจัดเก็บข้อมูลรวมศูนย์ไว้ในคลาวด์ สร้างระบบบันทึกหนึ่งเดียวสำหรับการใช้งานขององค์กร โดยมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์และเข้าถึงได้จากทุกที่ทั่วโลก ระบบคลาวด์ช่วยให้มีการนำข้อมูลที่ถูกต้องไปใช้เป็นข้อมูลเชิงลึกที่แม่นยำในเวลาและบริบทที่เหมาะสม  ส่งผลให้องค์กรตัดสินใจได้รวดเร็วยิ่งขึ้น อีกทั้งช่วยปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้า และลดความเสี่ยงในการดำเนินงานอีกด้วย 2. ความสามารถที่ออกแบบมาเฉพาะให้กับแต่ละอุตสาหกรรมเป็นสิ่งที่ต้องมี ไม่ใช่ “มีก็ดี” อีกต่อไป ธุรกิจต้องการให้โซลูชันทางธุรกิจของตนมีความสามารถที่ออกแบบมาเฉพาะเหมาะกับประเภทของอุตสาหกรรมนั้นๆ เพื่อให้สามารถส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการที่ดีที่สุดแก่ลูกค้า  […]

อาลีบาบาเปิดตัว ตง ตง ‘เวอร์ชวล อินฟลูเอนเซอร์’ ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว ปักกิ่งเกมส์ 2022

ตง ตง ขับเคลื่อนด้วยพลัง AI เปิดตัวครั้งแรก ณ โอลิมปิกฤดูหนาว ด้วยการเข้าร่วมการสตรีมสดกับแฟน ๆ โอลิมปิก อาลีบาบา กรุ๊ป พันธมิตรระดับโลกของคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) เปิดตัว ตง ตง (Dong Dong) เวอร์ชวล อินฟลูเอนเซอร์ใหม่ล่าสุด ณ การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวปี 2565 ที่กรุงปักกิ่ง อาลีบาบาใช้เทคโนโลยีคลาวด์สร้าง Dong Dong ให้เป็นแบบจำลองบุคคลแบบดิจิทัลที่ล้ำหน้า เพื่อให้เข้าไปมีส่วนร่วมกับแฟน ๆ กีฬาทั้งหลาย นับว่าเป็นการนำศักยภาพของนวัตกรรมที่ทำงานบนคลาวด์มาให้ผู้บริโภคได้สัมผัสอย่างใกล้ชิดมากขึ้น Dong Dong พัฒนาโดย Alibaba DAMO Academy ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านการวิจัยระดับโลกของอาลีบาบา กรุ๊ป Dong Dong เป็นแบบจำลองของหญิงสาววัย 22 ปีที่เกิดในกรุงปักกิ่ง มีความกระตือรือร้น กล้าพูด และชื่นชอบกีฬาฤดูหนาว Dong Dong เป็นที่รู้จักจากรูปพรรณสัณฐานที่เสมือนมนุษย์จริงอย่างมาก มีบุคลิกที่มีเสน่ห์ และมีความพิเศษในการโต้ตอบและเข้าไปมีส่วนร่วมกับผู้ชม ซึ่งทำให้สามารถเชื่อมต่อและมีปฏิสัมพันธ์กับแฟน […]

อาลีบาบาคาดการณ์ 10 อันดับเทรนด์เทคโนโลยีพุ่งแรง

Alibaba DAMO Academy (DAMO) สถาบันเพื่อการวิจัยด้านเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ระดับโลกของอาลีบาบา กรุ๊ป นำเสนอการคาดการณ์แนวโน้มสำคัญที่จะกำหนดทิศทางของอุตสาหกรรมเทคโนโลยี DAMO นำเสนอแนวโน้ม 10 อันดับเทคโนโลยีสำคัญที่จะเกิดขึ้นในช่วงสองถึงห้าปีข้างหน้า ซึ่งได้จากการวิเคราะห์เอกสารที่ตีพิมพ์เผยแพร่สู่สาธารณะ การยื่นจดทะเบียนสิทธิบัตรในช่วงสามปีที่ผ่านมา และการสัมภาษณ์นักวิทยาศาสตร์เกือบ 100 คน ทำให้สามารถคาดการณ์ได้ว่าเราจะได้เห็นการพัฒนาที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมทุกภาคส่วนในวงกว้าง นายเจฟฟ์ จาง Head of Alibaba DAMO Academy กล่าวว่า “ตลอดศตวรรษที่ผ่านมา วิวัฒนาการทางเทคโนโลยีดิจิทัลต่าง ๆ เป็นปัจจัยเร่งให้เกิดความก้าวหน้าทางดิจิทัลและการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว  การนำเทคโนโลยีไปใช้ได้ขยายขอบเขตจากโลกทางกายภาพไปสู่โลกที่ผสมผสานระหว่างโลกจริงกับโลกเสมือนเข้าด้วยกัน (mixed reality: MR) ในขณะเดียวกันก็มีการนำเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยไปใช้ประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรมมากขึ้นเรื่อย ๆ “เทคโนโลยีดิจิทัลมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนอนาคตที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมใด เช่น ดาต้าเซ็นเตอร์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการผลิตที่ประหยัดพลังงาน หรือในกิจกรรมประจำวัน เช่น สำนักงานไร้กระดาษ เป็นต้น อาจกล่าวได้ว่าเราจะสร้างอนาคตที่ดีขึ้นได้ด้วยเทคโนโลยี” คาดการณ์แนวโน้มสำคัญ: ในอีกสองปีถึงห้าปีข้างหน้าจะมีแอปพลิเคชันที่ทำงานอยู่บนระบบการประมวลผลแบบใหม่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนี้ #1 Cloud-Network-Device Convergence  การพัฒนาอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีด้านเครือข่ายใหม่ ๆ จะขับเคลื่อนวิวัฒนาการของคลาวด์คอมพิวติ้ง ไปสู่ระบบการประมวลผลแบบใหม่ […]

ศึกษาและเรียนรู้วิธีการที่ธุรกิจใช้ประโยชน์จากคลาวด์

วิธีการที่ช่วยให้แม้แต่องค์กรแบบดั้งเดิม ก็สามารถเก็บเกี่ยวผลตอบแทนจากการวางกลยุทธ์ระยะยาวของการใช้ไฮบริด มัลติคลาวด์ บทความโดย ทวิพงศ์ อโนทัยสินทวี ผู้จัดการประจำประเทศไทย นูทานิคซ์ ในแวดวงเทคโนโลยี เรามักจะได้ยินอยู่เสมอว่าต้องขยับปรับให้เร็ว ไม่เช่นนั้นจะถูกทิ้งไว้ข้างหลังแบบไม่เห็นฝุ่น ซึ่งก็เป็นคำแนะนำที่ดีและสมเหตุสมผล แต่บางครั้งการถอยออกมา หยุดคิดสักนิด และเรียนรู้จากความผิดพลาดของคนอื่นก็ส่งผลดีเช่นกัน ท่ามกลางการแข่งขันกันนำคลาวด์มาใช้ทั่วโลก องค์กรต่าง ๆ ในเอเชียแปซิฟิกก็เพิ่งทำเช่นเดียวกันและทำให้องค์กรเหล่านี้มีสถานะแข็งแกร่งขึ้น ซึ่งอาจเป็นไปในทำนอง “ทำทีหลังดีกว่า” เทคโนโลยีคลาวด์เป็นองค์ประกอบหลักของการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน แต่มีความเข้าใจผิดที่พบบ่อยทั่วโลกคือ “คลาวด์” เท่ากับ พับลิคคลาวด์ การที่ผู้นำจำนวนมากในสหรัฐอเมริกาและยุโรปเลิกใช้ดาต้าเซ็นเตอร์ และรีบเร่งตัดสินใจด้วยความคิดที่มีเพียงสองทางเลือกคือ “จะยังใช้อยู่ทั้งหมดหรือไม่ใช้เลย” ได้เกิดขึ้นตั้งแต่นั้นมา แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายขนาดนั้น และต้องแลกกับค่าใช้จ่ายเพื่อหลีกเลี่ยงที่จะถูกล็อคอยู่กับโซลูชันเดียว  ปัจจุบันความกังวลเรื่องการปฏิบัติตามกฎระเบียบ กระบวนการทำงาน และค่าใช้จ่ายเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดการพิจารณาเรื่องการใช้เทคโนโลยีใหม่อีกครั้ง ธุรกิจในเอเชียแปซิฟิกกลับมีความระมัดระวังในการนำคลาวด์ไปใช้งานมากกว่าในสหรัฐอเมริกาและยุโรป โดยไม่ต้องรับภาระจากการลงทุนกับพับลิคคลาวด์ขนาดใหญ่เป็นหลัก และกำลังหาวิธีที่เหมาะสมเพื่อเดินหน้าต่อไป ธุรกิจเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะได้ประโยชน์จากตัวเลือกที่เพิ่มขึ้นจากผู้ใช้คลาวด์จำนวนมากที่เข้าสู่ตลาดก่อนหน้า รวมถึงมีความได้เปรียบในการเจรจาที่ดีกว่าในแง่ของราคา ธุรกิจเหล่านี้ให้ความสำคัญกับความสำเร็จในการบรรลุความสมดุลทั้งเชิงกลยุทธ์และการดำเนินงาน กลยุทธ์ไฮบริดมัลติคลาวด์ที่สมดุลเริ่มด้วยการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจให้ชัดเจน ซึ่งคือการกำหนดว่างานส่วนใดของธุรกิจจะให้บริการได้ดีที่สุดบนคลาวด์ประเภทใด พับลิค หรือไพรเวทคลาวด์ และนี่คือการสร้างสภาพแวดล้อมไฮบริดมัลติคลาวด์ที่ชาญฉลาดและปลอดภัย ทั้งนี้ IDC ได้อธิบายว่าไฮบริดมัลติคลาวด์คือ “กลยุทธ์การใช้โซลูชันที่ ‘ดีที่สุดของคลาวด์ทั้งสองประเภท’”และเราได้เห็นแล้วว่ากลยุทธ์มัลติคลาวด์กลายเป็น “บรรทัดฐานขององค์กร” ไปแล้ว การใช้ไฮบริดมัลติคลาวด์เป็นเรื่องไม่ยุ่งยากเลยสำหรับสตาร์ทอัพที่ไม่ได้ใช้ระบบไอทีแบบดั้งเดิม บริษัทให้คำปรึกษาเอคเซนเชอร์ […]

การปรับปรุงประสิทธิภาพคลังสินค้าให้เหมาะสมในช่วงการแพร่ระบาด

บทความโดย นายฟาบิโอ ทิวิติ รองประธาน ประจำภูมิภาคอาเชียน บริษัท อินฟอร์ การแพร่ระบาดในขณะนี้ได้ผลักดันให้มีการเร่งนำเทคโนโลยีไปใช้งานในภาคอุตสาหกรรมจำนวนมาก  จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าบางธุรกิจอาจไม่ทันได้เตรียมพร้อมรับมือเมื่อเกิดโควิด-19 ที่นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ดูได้จากปริมาณอีคอมเมิร์ซที่เพิ่มสูงขึ้น การลดจำนวนพนักงานให้เหลือน้อยที่สุดสำหรับการทำงานในบางพื้นที่ และการปิดธุรกิจเป็นระยะ ๆ  ไม่ว่าจะเป็นผู้จัดจำหน่ายมืออาชีพผลิตภัณฑ์เพื่อการค้าและการอุตสาหกรรม หรืออุปกรณ์ความปลอดภัยและการแพทย์  ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้หมายความว่าจะต้องมีการปรับปรุงการดำเนินงานคลังสินค้าให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด  แต่การปรับปรุงนี้แท้จริงแล้วหมายถึงอะไร ปัจจัยสำคัญที่ต้องพิจารณา สิ่งสำคัญที่สุดประการหนึ่งที่ผู้จัดจำหน่ายต้องคำนึงถึง คือ กิจกรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้นภายในคลังสินค้าส่งผลกระทบโดยตรงต่อความสัมพันธ์กับลูกค้า ซึ่งความท้าทายในที่นี้ คือ เป้าหมายและเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ดูเหมือนจะเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การแพร่ระบาดครั้งใหญ่ได้ทำให้การดำเนินงานคลังสินค้าเกิดความท้าทายหลายอย่างขึ้นพร้อม ๆ กัน  ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด คือ การแพร่ระบาดทำให้เกิดความไม่แน่นอนด้านกำลังคน เนื่องจากสมาชิกในทีมต้องรับมือกับความเจ็บป่วย ต้องถูกกักตัว หรือต้องดูแลบุตรหลาน ส่งผลให้เกิดแรงกดดันต่อทีมและทำให้เกิดความล่าช้าในการผลิต อีกปัจจัยหนึ่ง คือ การเติบโตของอีคอมเมิร์ซที่เพิ่มขึ้นมาก จนแซงหน้ายอดประมาณการสูงสุดที่ตั้งไว้ก่อนหน้านี้ จากการที่ลูกค้าได้สร้างมาตรฐานประสบการณ์ด้าน omni-channel ไว้ค่อนข้างสูง  ในปี 2564 นี้ หากคุณไม่มีกลยุทธ์การตลาดแบบ omni-channel ที่ได้ผล คุณก็เสี่ยงต่อการสูญเสียธุรกิจจำนวนมาก ดังนั้นกุญแจสำคัญ คือ คุณจะต้องมีคลังสินค้าที่สามารถรองรับการขายแบบหลายช่องทางได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งความท้าทายนี้นับว่าตรงกับปัญหาที่เกิดขึ้น เนื่องจากระบบจัดการคลังสินค้า […]

เหตุผลที่ผู้ผลิตอาหารในเอเชียหันมาใช้ระบบคลาวด์

บทความโดย นายฟาบิโอ ทิวิติ รองประธาน บริษัท อินฟอร์ อาเชียน ความต้องการของผู้บริโภคปัจจุบันเพิ่มขึ้นมากกว่าในอดีต ผลพวงมาจากความคุ้นเคยที่ได้รับจากความสะดวกสบายแบบเฉพาะเจาะจงส่วนบุคคลผ่านสมาร์ทโฟนที่ทันสมัยที่มีการเชื่อมต่อตลอดเวลา รวมถึงการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของมาตรฐานการปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านอาหารทั่วโลก การรับรู้เกี่ยวกับความสำคัญด้านความปลอดภัยอาหารและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ความคาดหวังที่เพิ่มขึ้น แม้ว่าความกังวลด้านความยั่งยืน และความปลอดภัยของอาหารเป็นเรื่องที่อาจทำความเข้าใจได้ง่าย แต่ความคาดหวังต่าง ๆ ของลูกค้าที่เพิ่มขึั้น เป็นตัวบ่งชี้ให้เราทราบถึงที่มาของรูปแบบธุรกิจที่เกิดใหม่ เช่น การจัดส่งอาหารถึงผู้บริโภคโดยตรง และ “คลาวด์” คิทเช่น (Cloud Kitchen) พื้นที่ครัวกลางสำหรับให้ร้านค้าหลายแห่งเข้ามาใช้งานร่วมกัน ซึ่งบริการเหล่านี้จะช่วยให้อาหารจานโปรดไปถึงที่พักของคุณได้ในเวลาพอๆ กันกับการที่คุณต้องขับรถไปร้านอาหารด้วยตัวเอง จึงเป็นเรื่องง่ายที่จะพบว่าความนิยมของลูกค้าในทวีปเอเชียเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก และการปร้บเปลี่ยนความคาดหวังของลูกค้านั้นเป็นไปได้อย่างไร ข้อมูลของศูนย์วิจัยกสิกรไทยเปิดเผยว่า แม้ว่าโควิด-19 จะทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง แต่ก็ทำให้สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ และวิธีการดำเนินธุรกิจเปลี่ยนไปเช่นกัน โดยบริษัทอาหารหลายแห่งได้พบกับไลฟ์สไตล์ และความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปจากเดิม และได้มีการปรับตัวเปิดรับโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ โดยอาศัยโมเดลธุรกิจคลาวด์คิทเช่น ซึ่งได้กระตุ้นให้ปริมาณการจัดส่งอาหารเพิ่มขึ้นถึง 1.5 เท่าในช่วงครึ่งแรกของปี 2563 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว จึงเกิดการคาดการณ์ว่าคลาวด์คิทเช่นจะเพิ่มขึ้นในกรุงเทพฯและปริมณฑลอย่างน้อย 50 แห่งภายในสิ้นปี 2565 ไม่ว่าจะเป็นอาหารที่ปรุงสุกแล้ว หรืออาหารพร้อมปรุงตามการเลือกสรรของแต่ละบุคคล นวัตกรรมต่าง ๆ เช่น การจัดส่งอาหารตรงถึงผู้บริโภค […]

เหตุผลที่ผู้ผลิตอาหารในเอเชียหันมาใช้ระบบคลาวด์

บทความโดย นายฟาบิโอ ทิวิติ รองประธาน บริษัท อินฟอร์ อาเชียน ความต้องการของผู้บริโภคปัจจุบันเพิ่มขึ้นมากกว่าในอดีต ผลพวงมาจากความคุ้นเคยที่ได้รับจากความสะดวกสบายแบบเฉพาะเจาะจงส่วนบุคคลผ่านสมาร์ทโฟนที่ทันสมัยที่มีการเชื่อมต่อตลอดเวลา รวมถึงการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของมาตรฐานการปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านอาหารทั่วโลก การรับรู้เกี่ยวกับความสำคัญด้านความปลอดภัยอาหารและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ความคาดหวังที่เพิ่มขึ้น แม้ว่าความกังวลด้านความยั่งยืน และความปลอดภัยของอาหารเป็นเรื่องที่อาจทำความเข้าใจได้ง่าย แต่ความคาดหวังต่าง ๆ ของลูกค้าที่เพิ่มขึั้น เป็นตัวบ่งชี้ให้เราทราบถึงที่มาของรูปแบบธุรกิจที่เกิดใหม่ เช่น การจัดส่งอาหารถึงผู้บริโภคโดยตรง และ “คลาวด์” คิทเช่น (Cloud Kitchen) พื้นที่ครัวกลางสำหรับให้ร้านค้าหลายแห่งเข้ามาใช้งานร่วมกัน ซึ่งบริการเหล่านี้จะช่วยให้อาหารจานโปรดไปถึงที่พักของคุณได้ในเวลาพอๆ กันกับการที่คุณต้องขับรถไปร้านอาหารด้วยตัวเอง จึงเป็นเรื่องง่ายที่จะพบว่าความนิยมของลูกค้าในทวีปเอเชียเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก และการปร้บเปลี่ยนความคาดหวังของลูกค้านั้นเป็นไปได้อย่างไร ข้อมูลของศูนย์วิจัยกสิกรไทยเปิดเผยว่า แม้ว่าโควิด-19 จะทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง แต่ก็ทำให้สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ และวิธีการดำเนินธุรกิจเปลี่ยนไปเช่นกัน โดยบริษัทอาหารหลายแห่งได้พบกับไลฟ์สไตล์ และความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปจากเดิม และได้มีการปรับตัวเปิดรับโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ โดยอาศัยโมเดลธุรกิจคลาวด์คิทเช่น ซึ่งได้กระตุ้นให้ปริมาณการจัดส่งอาหารเพิ่มขึ้นถึง 1.5 เท่าในช่วงครึ่งแรกของปี 2563 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว จึงเกิดการคาดการณ์ว่าคลาวด์คิทเช่นจะเพิ่มขึ้นในกรุงเทพฯและปริมณฑลอย่างน้อย 50 แห่งภายในสิ้นปี 2565 ไม่ว่าจะเป็นอาหารที่ปรุงสุกแล้ว หรืออาหารพร้อมปรุงตามการเลือกสรรของแต่ละบุคคล นวัตกรรมต่าง ๆ เช่น การจัดส่งอาหารตรงถึงผู้บริโภค […]

ซัพพลายเชนที่ทันสมัยต้องอยู่บนคลาวด์

บทความโดย นายฟาบิโอ ทิวิติ รองประธาน บริษัท อินฟอร์ อาเชียน องค์กรด้านซัพพลายเชนจะต้องมั่นใจว่าขั้นตอนการทำงานต่าง ๆ กำลังดำเนินไปอย่างเหมาะสม และมีการใช้เครื่องมือดีที่สุดในทุกขั้นตอนการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการคาดการณ์ความต้องการ, การจัดซื้อ, การผลิต, การจัดการสินค้าคลัง และโลจิสติกส์ รวมถึงงานทุกอย่างที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการเหล่านี้ อย่างไรก็ตามไม่ว่าความกดดันจะเกิดจากระบบซัพพลายเชนของโลกมีความซับซ้อนมากขึ้น หรือต้องการสร้างความแตกต่างในตลาดด้วยอัตรากำไรที่ลดลงก็ตาม เครื่องมือในการบริหารจัดการซัพพลายเชนรุ่นเก่าก็ไม่สามารถสนองตอบต่อเป้าหมายขององค์กรด้านซัพพลายเชนในปัจจุบันได้ ซึ่งเป้าหมายดังกล่าวนี้การ์ทเนอร์ได้ระบุไว้ว่าคือ “ต้องมั่นใจได้ว่าซัพพลายเชนจะมีประสิทธิผลที่ดี คล่องตัว และตอบสนองความคาดหวังของลูกค้า ถึงแม้จะมีความท้าทายจากความผันผวน ความไม่แน่นอน ความซับซ้อน และความคลุมเครือก็ตาม” เทคโนโลยีได้พัฒนาไปถึงจุดที่สามารถสนับสนุนให้เกิดการแบ่งปันข้อมูลอย่างกว้างขวางระหว่างสมาชิกที่อยู่ในระบบนิเวศซัพพลายเชนด้วยกัน รวมถึงช่วยให้องค์กรสามารถรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกัน และตีความข้อมูลนั้นเพื่อนำไปใช้ในการตัดสินใจได้ดีขึ้น แพลตฟอร์มที่ทันสมัยต่าง ๆ เช่น คลาวด์ และเครื่องมือที่ทันสมัย เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และอินเทอร์เน็ตออฟธิงค์ (IoT) ช่วยเสริมศักยภาพให้องค์กรด้านซัพพลายเชนสามารถประเมินและตัดสินใจดำเนินงานด้านต่าง ๆ ที่จะขับเคลื่อนให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุดได้ พัฒนาจากการตั้งรับเป็นซัพพลายเชนเชิงรุก ถึงแม้ว่าระบบนิเวศซัพพลายเชนจะประกอบไปด้วยเครือข่ายของซัพพลายเออร์, พันธมิตรทางการค้า, ผู้ให้บริการด้านการเงิน และลูกค้าทั่วโลก แต่ซัพพลายเชนจำนวนมากก็ยังคงดำเนินงานไปทีละขั้นตอนงานใครงานมันตามแนวทางที่เคยทำกันมา โดยต่างก็ให้ความสำคัญเป็นพิเศษต่อกฎข้อบังคับขององค์กรตน แต่เนื่องด้วยกระบวนการและข้อมูลต่าง ๆ ของซัพพลายเชนมากกว่า 80% […]