CGTN: ศักราชใหม่แห่งความร่วมมือสู่ความล้ำสมัย: จีนจับมือแอฟริกาเดินหน้ารังสรรค์ชุมชนเปี่ยมอนาคต

ปักกิ่ง, 6 ก.ย. 2567 /PRNewswire/ — ทางรถไฟยาว 1,860 กม. จากเมือง Dar es Salaam ของแทนซาเนียไปยังเมือง New Kapiri Mposhi ในแซมเบีย ของการรถไฟแห่งประเทศแทนซาเนีย-แซมเบีย (TAZARA) นับเป็นเครื่องตอกย้ำถึงความสัมพันธ์อันยาวนานระหว่างจีนและแทนซาเนีย

ตลอด 48 ปีที่ดำเนินการ ทางรถไฟสายดังกล่าวขนส่งสินค้าไปแล้วกว่า 30 ล้านตัน อีกทั้งผู้โดยสารมากกว่า 40 ล้านคน กลายเป็นเส้นเลือดใหญ่ที่สำคัญซึ่งช่วยให้การดำเนินงานทางเศรษฐกิจและการพัฒนาของแทนซาเนีย แซมเบีย รวมถึงพื้นที่โดยรอบดำเนินไปได้

เมื่อวันพุธที่ผ่านมา ผู้นำของทั้งสามประเทศร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการฟื้นฟูทางรถไฟสาย TAZARA ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อยกระดับเครือข่ายการขนส่งแบบผสมผสานระหว่างรางและทางทะเลในแอฟริกาตะวันออก

ปัจจุบัน จีนยังคงนำเสนอโอกาสใหม่ ๆ ให้กับประเทศต่าง ๆ ในแอฟริกา และยังคงมุ่งมั่นในแนวทางแห่งความไว้วางใจ ผลประโยชน์ต่อกัน การเรียนรู้ร่วมกัน และความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อปลูกฝังความสัมพันธ์ให้เติบใหญ่

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงของจีนกล่าวสุนทรพจน์ในพิธีเปิดการประชุมสุดยอดความร่วมมือจีน-แอฟริกา (FOCAC) ประจำปี 2567 โดยยกย่องว่าจีนและแอฟริกากำลังร่วมมือกันอย่างแข็งแกร่งและยืดหยุ่นมากขึ้น ก่อให้เกิดผลประโยชน์ที่จับต้องได้ต่อทั้งสองฝ่าย อีกทั้งยังเป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศรูปแบบใหม่

สี จิ้นผิงประกาศว่าความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างจีนและประเทศต่าง ๆ ในแอฟริกาซึ่งมีความสัมพันธ์ทางการทูตต่อกันได้รับการยกระดับขึ้นเป็นความสัมพันธ์เชิงยุทธศาสตร์ และลักษณะโดยรวมของความสัมพันธ์ระหว่างจีนและแอฟริกาได้รับการยกระดับขึ้นเป็นชุมชนจีน-แอฟริกาที่พร้อมสำหรับทุกสถานการณ์และมีอนาคตร่วมกัน

จีน-แอฟริกา ความร่วมมืออันเฟื่องฟู

FOCAC ส่งเสริมการพัฒนาความสัมพันธ์จีน-แอฟริกาแบบก้าวกระโดดอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ก่อตั้งเมื่อปี 2543 โดยเป็นตัวอย่างด้านความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนาและความร่วมมือระหว่างประเทศกับแอฟริกาอันดีเยี่ยม

ในช่วง 24 ปีที่ผ่านมา ความร่วมมือเชิงปฏิบัติระหว่างจีน-แอฟริกาให้ดอกออกผลอย่างเป็นรูปธรรม อีกทั้งการแลกเปลี่ยนในหลากหลายสาขาก็คึกคักอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

ปริมาณการค้าระหว่างจีน-แอฟริกาไต่ระดับขึ้นจาก 1.05 หมื่นล้านดอลลาร์ในปี 2543 เป็น 2.821 แสนล้านดอลลาร์ในปี 2566 ซึ่งเพิ่มขึ้นเกือบ 26 เท่า ทั้งนี้ มูลค่าการลงทุนโดยตรงของจีนในแอฟริกาเกิน 40,000 ล้านดอลลาร์ ณ สิ้นปี 2566

พร้อมกันนี้ ทั้งสองฝ่ายยังได้ร่วมมือกันสร้างและซ่อมบำรุงถนนเกือบ 100,000 กิโลเมตร ทางรถไฟมากกว่า 10,000 กิโลเมตร สะพานเกือบหนึ่งพันแห่ง และท่าเรือนับร้อยแห่ง ยิ่งไปกว่านั้น ประเทศต่าง ๆ ในแอฟริกา 52 ประเทศและคณะกรรมาธิการสหภาพแอฟริกายังได้ลงนามในเอกสารเกี่ยวกับความร่วมมือในโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานข้ามทวีปของจีนอีกด้วย

การสร้างถนน สะพาน และท่าเรือหลายแห่งโดยความช่วยเหลือของจีน ช่วยส่งเสริมการเชื่อมต่อในทวีปแอฟริกา อาทิ ทางรถไฟมาตรฐาน Mombasa-Nairobi ช่วยลดต้นทุนการขนส่งและเวลาเดินทางไปได้มาก อีกทั้งยังส่งเสริมการค้าและการพาณิชย์ ส่วนทางรถไฟสาย Addis AbabaDjibouti ช่วยเชื่อมเอธิโอเปียที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลกับท่าเรือ Djibouti ทำให้เข้าถึงตลาดต่างประเทศได้มากขึ้น

เพื่อกระชับความร่วมมือระหว่างจีนและแอฟริกา รวมถึงเป็นแกนนำในการสร้างความทันสมัยให้กับกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา สี จิ้นผิง เปิดเผยว่า จีนพร้อมที่จะทำงานร่วมกับแอฟริกาเพื่อดำเนินการตามแผนปฏิบัติการความร่วมมือ 10 ประการในอีกสามปีข้างหน้า ซึ่งครอบคลุมด้านการเรียนรู้ระหว่างอารยธรรมร่วมกัน ความเจริญรุ่งเรืองทางการค้า ความร่วมมือในห่วงโซ่อุตสาหกรรม การเชื่อมต่อ ความร่วมมือเพื่อการพัฒนา สุขภาพ การเกษตรและการดำรงชีพ การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและระหว่างประชาชนกับประชาชน การพัฒนาสีเขียว และความมั่นคงร่วมกัน

สี จิ้นผิง เพิ่มเติมว่า จีนจะขยายการเข้าถึงตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของแอฟริกา ผลักดันเขตนำร่องสำหรับความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างจีนและแอฟริกาในเชิงลึก รวมถึงดำเนินโครงการเชื่อมต่อโครงสร้างพื้นฐาน 30 แห่งในแอฟริกาด้วย

นอกจากนี้ จีนจะส่งบุคลากรทางการแพทย์ 2,000 รายไปยังแอฟริกา เปิดตัวโครงการเกี่ยวกับสถานพยาบาลและการรักษามาเลเรีย 20 แห่ง รวมถึงส่งผู้เชี่ยวชาญด้านเกษตรกรรม 500 รายเพื่อเสริมสร้างศักยภาพด้านสุขภาพและเกษตรกรรมในประเทศแอฟริกาด้วยเช่นกัน

ร่วมเคียงเส้นทางสู่ความล้ำสมัย

ในอนาคต จีนและแอฟริกามุ่งมั่นรังสรรค์ชุมชนอันใกล้ชิดยิ่งขึ้นพร้อมอนาคตที่มีร่วมกัน อีกทั้งเป็นเพื่อนร่วมทางสู่การสำรวจเส้นทางแห่งความล้ำสมัย

จีนช่วยเหลือแอฟริกาในการแก้ปัญหาด้านการพัฒนาต่าง ๆ  อาทิ โครงสร้างพื้นฐานที่ล่าช้า การขาดแคลนอาหาร และการขาดแคลนบุคลากร ในขณะที่การเข้าสู่แอฟริกายังนำมาซึ่งโอกาสในการขยายตลาดต่างประเทศให้กับบริษัทจีนอีกด้วย

ตัวอย่างเช่น ในภูมิภาคชายฝั่งของแทนซาเนีย โรงงานกระจกโฟลตแซฟไฟร์ที่จีนลงทุนนั้นให้บริการทั้งตลาดในท้องถิ่นและส่งออกไปยังประเทศในแอฟริกาอีก 6 แห่ง คาดการณ์ว่าโครงการซึ่งเปิดตัวเมื่อเดือนกันยายน 2566 นี้จะสร้างงานโดยตรงได้มากถึง 1,650 ตำแหน่งและโดยอ้อม 6,000 ตำแหน่งเมื่อผลิตได้เต็มกำลัง อนึ่ง โรงงานดังกล่าวสร้างงานโดยตรงให้กับคนในพื้นที่ 1,012 ตำแหน่งและโดยอ้อม 3,857 ตำแหน่ง

ในทางเกษตรกรรม จีนจัดตั้งศูนย์สาธิตเทคโนโลยีการเกษตร 24 แห่งในแอฟริกาตลอดช่วงทศวรรษที่ผ่านมา และนำเทคโนโลยีการเกษตรขั้นสูงมาใช้มากกว่า 300 รายการ ทำให้ผลผลิตในท้องถิ่นเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 30 ถึง 60 เปอร์เซ็นต์ และเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรมากกว่าหนึ่งล้านคนทั่วทั้งทวีป

ปัจจุบัน บริษัทจีนกว่า 200 แห่งยังคงลงทุนในภาคเกษตรกรรมของแอฟริกา โดยมีเงินลงทุนสะสมเกิน 1 พันล้านดอลลาร์ การลงทุนเหล่านี้ครอบคลุมหลายด้าน อาทิ อุปกรณ์และเครื่องจักรทางการเกษตร การทำฟาร์ม การแปรรูป และการจัดจำหน่าย

“บนเส้นทางสู่ความทันสมัย ไม่มีใครหรือประเทศใดควรถูกทิ้งไว้ข้างหลัง” สี จิ้นผิง กล่าวในพิธีเปิดการประชุมสุดยอด FOCAC ประจำปี 2567 พร้อมเรียกร้องให้ร่วมกันผลักดันการพัฒนาที่ยุติธรรมและเท่าเทียม เปิดกว้างและเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย ให้ความสำคัญกับประชาชนเป็นอันดับแรก มีความหลากหลายและครอบคลุม เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยอยู่บนพื้นฐานของสันติภาพและความมั่นคง

ความร่วมมือสู่ความล้ำสมัยของจีนและแอฟริกาจะจุดชนวนความก้าวหน้าในประเทศกำลังพัฒนาทั่วโลก รวมถึงเปิดศักราชใหม่แห่งการขับเคลื่อนชุมชนที่มีอนาคตร่วมกันของมนุษยชาติ สี จิ้นผิง ทิ้งท้าย

https://news.cgtn.com/news/2024-09-05/China-Africa-eye-new-chapter-in-building-community-with-shared-future-1wDYAx3CGLm/p.html 

 

View original content to download multimedia: Read More