ปักกิ่ง, 29 กันยายน 2567 /PRNewswire/ — ฤดูร้อนถือเป็นช่วงที่คึกคักที่สุดในทะเลสาบชิงไห่ ซึ่งเป็นทะเลสาบน้ำเค็มที่ใหญ่ที่สุดในจีน
ระหว่างที่เหล่าฝูงนกบินออกหาอาหารเพื่อเลี้ยงดูลูกของมัน และขณะที่คนเลี้ยงสัตว์ต้อนจามรีไปยังทุ่งหญ้าบนภูเขาอยู่นั้น เหล่าฝูงปลาคาร์ปเปลือยซึ่งเป็นสายพันธุ์เฉพาะของทะเลสาบแห่งนี้ได้มารวมตัวกันเพื่อเริ่มการอพยพประจำปี
ปลาเหล่านี้อาศัยอยู่ในทะเลสาบซึ่งตั้งอยู่ในมณฑลชิงไห่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีนที่ความลึกเฉลี่ย 18 เมตร แต่ปริมาณเกลือและด่างที่สูงในทะเลสาบนั้นกลับยับยั้งการพัฒนาของต่อมเพศ ดังนั้นทุกปีตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม ปลาคาร์ปเปลือยที่โตเต็มวัยจะมุ่งหน้าไปยังแหล่งน้ำจืดของแม่น้ำปูฮาและแม่น้ำซาหลิวที่ไหลลงสู่ทะเลสาบเพื่อวางไข่ ทำให้การอพยพของปลาคาร์ปเปลือยถือเป็นหนึ่งในสิ่งมหัศจรรย์ของทะเลสาบชิงไห่
ปลาคาร์ปเปลือยที่ ‘เคยหายไปและหวนกลับคืนมา’
ปลาคาร์ปเปลือยมีสถานพิเศษในใจของผู้คนในชิงไห่ เนื่องจากเคยช่วยชีวิตผู้คนนับไม่ถ้วนไว้ในช่วงทศวรรษที่ 50 และ 60 ที่ซึ่งวิกฤตการณ์ขาดแคลนอาหารทำให้คนในท้องถิ่นต้องพึ่งพาปลาชนิดนี้เพื่อความอยู่รอด การเพิ่มประชากรปลาคาร์ปเปลือยในทะเลสาบชิงไห่ในสเกลใหญ่จึงได้เริ่มต้นขึ้น
ในเวลาเพียงไม่กี่ทศวรรษ “ของขวัญจากทะเลสาบศักดิ์สิทธิ์” เหล่านี้กลับตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์เนื่องจากการทำประมงที่มากเกินไปและการสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัย ในช่วงต้นศตวรรษที่ 21 จำนวนปลาคาร์ปเปลือยในทะเลสาบชิงไห่ลดลงเหลือไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนสูงสุดในประวัติศาสตร์
ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลท้องถิ่นจึงได้ออกกฎห้ามจับปลาและปราบปรามการทำประมงและการค้าที่ผิดกฎหมายอย่างหนัก ควบคู่กับการเพาะพันธุ์เทียมและการปรับปรุงระบบนิเวศของทะเลสาบ ส่งผลให้ประชากรปลาคาร์ปเริ่มฟื้นตัวแม้ว่าอัตราการเจริญพันธุ์จะต่ำก็ตาม
เมื่อเวลาผ่านไป ความพยายามดังกล่าวจึงประสบความสำเร็จในที่สุด โดยในปี 2566 จำนวนปลาคาร์ปเปลือยในทะเลสาบมีมากถึง 120,300 ตัว ซึ่งมากกว่าปี 2545 ถึง 44 เท่า ทำให้สถานะการคุ้มครองของปลาชนิดนี้ถูกปรับลดจาก “ใกล้สูญพันธุ์” เป็น “เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์”
การคุ้มครองปลาคาร์ปเปลือยเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของความสำเร็จในการอนุรักษ์ของจีน ตั้งแต่แพนด้ายักษ์และนกช้อนหอยหงอนไปจนถึงลิงจมูกเชิดสีทอง ประชากรของสายพันธุ์หายากค่อย ๆ กลับมาเพิ่มขึ้นตามการพัฒนาระบบเขตอนุรักษ์ธรรมชาติของประเทศ
จีนเป็นแหล่งรวมความหลากหลายทางชีวภาพที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และเป็นประเทศเดียวที่มีระบบนิเวศเกือบทุกประเภท พื้นที่คุ้มครองตามธรรมชาติได้ช่วยส่งเสริมการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและมีบทบาทสำคัญในการปกป้องความมั่นคงทางนิเวศวิทยาของประเทศ
จีนได้จัดตั้งเขตอนุรักษ์ธรรมชาติประเภทต่าง ๆ ขึ้นตั้งแต่การสถาปนาเป็นสาธารณรัฐประชาชนในปี 2492 ส่งผลให้การคุ้มครองสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ความร่วมมือระหว่างประเทศมีจำนวนเพิ่มขึ้น และเครือข่ายพื้นที่คุ้มครองธรรมชาติต่างแสดงผลลัพธ์ที่น่าพอใจ
อารยธรรมเชิงนิเวศน์ยังถูกผนวกเข้าในแผนพัฒนาแบบบูรณาการของจีนในปี 2555 เมื่อประธานาธิบดีสีจิ้นผิงขึ้นดำรงตำแหน่งผู้นำสูงสุดของจีน นับจากนั้นเป็นต้นมา การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ได้เกิดขึ้นทั่วประเทศ อันเป็นผลมาจากการที่ประธานาธิบดีสีจิ้นผิงได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการแสวงหาการอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืนระหว่างมนุษยชาติและธรรมชาติ
“คัมภีร์แห่งการเปลี่ยนแปลง (l Ching) กล่าวไว้ว่า ‘เราควรเรียนรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลโดยการศึกษาปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ และส่งเสริมการพัฒนาทางสังคมโดยการศึกษาปรากฏการณ์ของมนุษย์ ความมั่งคั่งจะเกิดขึ้นได้จากการเดินตามวิถีแห่งสวรรค์และโลก และการสนับสนุนระเบียบแห่งธรรมชาติ'” ประธานาธิบดีสีจิ้นผิงกล่าวในการประชุมระดับชาติว่าด้วยการปกป้องนิเวศน์และสิ่งแวดล้อมเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2561
ตามข้อมูลของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติของจีนพบว่า ณ เดือนมิถุนายน 2567 ประเทศได้ฟื้นฟูระบบนิเวศแล้วมากกว่า 100 ล้านหมู่ (ราว 6.7 ล้านเฮกตาร์) ครอบคลุมภูเขา แม่น้ำ ป่าไม้ พื้นที่เกษตรกรรม ทะเลสาบ ทุ่งหญ้า และทะเลทราย
พื้นที่คุ้มครองของจีนครอบคลุมพื้นที่บนบก 18 เปอร์เซ็นต์ และพื้นที่ทางทะเล 4.1 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสอดคล้องกับระบบนิเวศบนบก 90 เปอร์เซ็นต์ ประชากรสัตว์ป่ามากกว่า 85 เปอร์เซ็นต์ ชุมชนพืชระดับสูง 65 เปอร์เซ็นต์ และเกือบ 30 เปอร์เซ็นต์ของแหล่งธรณีวิทยาที่สำคัญ
เขตอนุรักษ์ธรรมชาติของจีนยังเป็นรากฐานที่มั่นคงสำหรับการปกป้องสิ่งแวดล้อมเชิงนิเวศ ขณะที่ “กลยุทธ์และแผนปฏิบัติการการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของจีน (2566-2573)” ได้ระบุถึงพื้นที่เร่งด่วนและการดำเนินการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
จีนยังแบกรับความรับผิดชอบระหว่างประเทศผ่านการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมระดับโลก และความร่วมมือในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงเป็นแรงผลักดันแนวคิดของชุมชนที่มีอนาคตร่วมกันสำหรับมนุษยชาติ โดยเน้นย้ำถึงการพึ่งพากันและความท้าทายร่วมกันที่ประเทศต่าง ๆ ต้องเผชิญ
View original content to download multimedia: Read More