เซินเจิ้น, จีน,7 มิถุนายน 2567 /พีอาร์นิวส์ไวร์/ — หัวเว่ย (Huawei) จับมือกับองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอด Tech4Nature ประจำปี 2567 เมื่อวานนี้ เพื่อเปิดตัวโครงการความร่วมมือระดับโลก Tech4Nature เฟสที่ 2 และส่งเสริมนวัตกรรมอนุรักษ์ธรรมชาติต่อไป
Tao Jingwen, Board Member and Chairman of the CSD Committee for Huawei, joined the Summit and delivered a keynote speech.
โครงการ Tech4Nature สอดคล้องกับโครงการริเริ่ม TECH4ALL ของหัวเว่ย และ Green List ของ IUCN ซึ่งนับเป็นตัวแทนของวิสัยทัศน์ร่วมกันของพันธมิตรทั้งสองในการพัฒนาโซลูชันทางเทคโนโลยีสำหรับพื้นที่คุ้มครองและอนุรักษ์ (Protected and Conserved Areas หรือ PCA) ทั่วโลก อีกทั้งยังเป็นครั้งแรกที่หัวเว่ยหรือ IUCN ได้ผนึกกำลังที่ครอบคลุมทั้งภาคส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology หรือ ICT) และการอนุรักษ์ธรรมชาติ
“โลกธรรมชาติกำลังเผชิญกับความท้าทายที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทว่าเทคโนโลยีและโซลูชันดิจิทัลก็สามารถเป็นพลังอันยิ่งใหญ่ในการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพของโลกใบนี้ นั่นคือเหตุผลที่ IUCN ร่วมมือกับหัวเว่ยจัดตั้งโครงการ Tech4Nature” ดร. Grethel Aguilar ผู้อำนวยการทั่วไปของ IUCN กล่าว “ฉันภูมิใจที่ได้เห็นความร่วมมือครั้งนี้ก้าวไปสู่เฟสต่อไป โดยช่วยให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายร่วมมือกันเพื่อธรรมชาติและสร้างอนาคตที่ดีกว่า”
โครงการ Tech4Nature เฟส 1
โครงการ Tech4Nature เฟส 1 ดำเนินการตั้งแต่ปี 2563 ถึง 2566 ในพื้นที่คุ้มครอง (Protected Conservation Areas หรือ PCA) 5 แห่งในประเทศจีน มอริเชียส เม็กซิโก สเปน และสวิตเซอร์แลนด์ ความสำเร็จที่สำคัญ ได้แก่
• การติดตามด้วยเสียงของชะนีไห่หนาน (Hainan gibbon) ซึ่งเป็นลิงที่หายากที่สุดในโลก เพื่อระบุลักษณะเฉพาะของแต่ละตัว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือในการฟื้นฟูประชากรของสัตว์ชนิดนี้ที่กำลังใกล้สูญพันธุ์ ซึ่งขณะนี้เหลือเพียง 37 ตัวเท่านั้น
• การจดจำรูปแบบด้วย AI เพื่อระบุและติดตามเสือจากัวร์ในเม็กซิโก ได้ประสบความสำเร็จในการยืนยันการมีอยู่ของเสือจากัวร์จำนวน 7 ตัวในเขตสงวนรัฐดซิลัม (Dzilam) เป็นครั้งแรกเมื่อปีที่แล้ว
• ระบบขั้นสูงสำหรับการดูและติดตามแบบเรียลไทม์ของโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูแนวปะการังที่ดำเนินการโดยชุมชนท้องถิ่นในสาธารณรัฐมอริเชียส ได้มีส่วนช่วยในการปลูกถ่ายชิ้นปะการังที่สมบูรณ์แล้วจำนวน 25,000 ชิ้น ไปยังบริเวณแนวปะการังที่เสื่อมโทรมในมหาสมุทรอินเดีย
“ในฐานะพันธมิตรทางเทคนิคของภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานคุ้มครองด้านสิ่งแวดล้อม หัวเว่ยพร้อมที่จะเดินหน้าสำรวจสถานการณ์การปกป้องสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง พัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลที่เหมาะสมเพื่อรับมือกับความท้าทายในการปกป้องสิ่งแวดล้อม และร่วมกันสร้างโลกดิจิทัลที่เท่าเทียมและยั่งยืนมากยิ่งขึ้น” Tao Jingwen สมาชิกคณะกรรมการและประธานคณะกรรมการ CSD ของบริษัทหัวเว่ย กล่าว “หัวเว่ยมุ่งมั่นต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยดำเนินตามกลยุทธ์การพัฒนาที่ยั่งยืน 4 ประการ ควบคู่ไปกับแนวคิด S.H.A.R.E. เพื่อสร้างอนาคตดิจิทัลที่ยั่งยืน (Sustainable) เราจะทำงานร่วมกับพันธมิตรในห่วงโซ่อุตสาหกรรมเพื่อสร้างระบบนิเวศทางธุรกิจที่กลมกลืนและแข็งแรง (Harmony) ยกระดับความเท่าเทียมและการเข้าถึงสูงสุดผ่านการรวมระบบดิจิทัล (TECH4ALL) และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบริการด้าน ICT ที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้ เพื่อปกป้องโลกดิจิทัล (Reliability) โดยอาศัยนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เราสามารถบรรลุการพัฒนาสังคมไปพร้อมกับการรักษาความสมดุลทางนิเวศวิทยาร่วมกัน (Environment)”
โครงการ Tech4Nature เฟส 2
โครงการ Tech4Nature เฟส 2 (ปี 2566 – 2569) จะสนับสนุนโครงการสำคัญ 6 โครงการในประเทศต่าง ๆ ได้แก่ จีน เม็กซิโก สเปน บราซิล เคนยา และตุรกี การประชุมสุดยอดครั้งนี้ถือเป็นการเปิดตัวโครงการสำคัญทั้งหกโครงการอย่างเป็นทางการ ต่อเนื่องจากข้อตกลงที่จะเปิดตัว Tech4Nature เฟส 2 ที่หัวเว่ยและ IUCN ได้ประกาศร่วมกันในเดือนตุลาคม 2566
เฟส 2 ยังแสดงถึงความมุ่งมั่นร่วมกันของ IUCN และหัวเว่ยในการสนับสนุนเป้าหมาย 30×30 และเป้าหมายที่ 4 ในการป้องกันการสูญพันธุ์ที่กำหนดไว้ในกรอบงานคุนหมิง-มอนทรีออลว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของโลก (Global Biodiversity Framework หรือ GBF) เฟสนี้มุ่งหวังที่จะขยายความร่วมมือระหว่างภาคส่วนเทคโนโลยีและการอนุรักษ์ธรรมชาติด้วยการดึงดูดบุคลากร พันธมิตร และประเทศต่าง ๆ ให้มาเข้าร่วมมากยิ่งขึ้น
การประชุมสุดยอดครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมหลากหลายกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น นักปฏิบัติการด้านการอนุรักษ์ นักวิชาการ ตัวแทนภาคเอกชน ตัวแทนภาครัฐ รวมถึงชุมชน Tech4Nature ในวงกว้าง
ในการประชุมสุดยอด มีการจัดเวิร์คช็อปเพื่อสร้างขีดความสามารถในหมู่พันธมิตร สำรวจแผนปฏิบัติการเพื่อให้บรรลุการอนุรักษ์ที่เป็นธรรมและมีประสิทธิภาพผ่านมาตรฐานบัญชีสีเขียวของ IUCN หารือเกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมและให้คำแนะนำในการดำเนินการ และส่งเสริมการเรียนรู้และการแลกเปลี่ยนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน
นอกจากนี้ พันธมิตรยังได้เปิดตัวสิ่งพิมพ์สำคัญของโครงการ Tech4Nature ที่มีชื่อว่า “Partnership for our Planet” โดยสามารถดาวน์โหลดได้แล้วบนเว็บไซต์ของโครงการ Tech4Nature เนื้อหาภายในสิ่งพิมพ์นี้เน้นย้ำถึงบทบาทสำคัญของโซลูชันทางเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยในการรับมือต่อความท้าทายด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติในยุคปัจจุบัน
View original content to download multimedia: Read More