โอกาสเติบโตของเมืองรองแบบก้าวกระโดด

ความจำเป็นต่อการบูรณาการเครือข่ายเพื่อสู้กับความท้าทาย

กรุงเทพ, 14 พ.ค. 2567/พีอาร์นิวส์ไวร์/ — Singapore Management University (SMU) ร่วมกับ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดงานเสวนาทางวิชาการ SMU City Dialogues ในหัวข้อ “Growing Asia’s Secondary Cities – Challenges and Opportunities” เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 9 พฤษภาคม 2567 ณ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์

From left to right- Dr Adrian Lo, Dr Adiwan F. Aritenang, Associate Professor Orlando Woods, Dr Tu Anh Trinh, Dr Rattikarn Khambud, and Mr Clinton Moore
From left to right- Dr Adrian Lo, Dr Adiwan F. Aritenang, Associate Professor Orlando Woods, Dr Tu Anh Trinh, Dr Rattikarn Khambud, and Mr Clinton Moore

SMU City Dialogues Series เป็นการประชุมความร่วมมือที่รวบรวมนักวิชาการ และผู้นำจากทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาครัฐบาลมาร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองและความคิดเห็นต่อแนวทางและโอกาสในการเติบโตของเมืองรองในภูมิภาคเอเชีย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาแนวทางในการแก้ปัญหา อย่างสร้างสรรค์และด้วยนวัตกรรม เพื่อรับมือกับความท้าทายที่โลกกำลังเผชิญในปัจจุบันโดยมุ่งเน้นไปที่นโยบายและภาคอุตสาหกรรม

ในการประชุมที่จัดขึ้น ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เสวนาได้ร่วมกันอภิปรายแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และประสบการณ์ เพื่อค้นหาความท้าทายและโอกาสในการพัฒนาเมืองรองหรือเมืองระดับกลางในเอเชียตะวันออก    เฉียงใต้ นำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนของเมืองในอนาคต

Mr. Riccardo Maroso ผู้จัดการโครงการ United Nations Human Settlement Program (UN-Habitat) ประจำสำนักงานกรุงเทพฯ และสำนักงานภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (ROAP) หนึ่งในวิทยากรและผู้ร่วมอภิปรายได้นำเสนอข้อมูลสำคัญซึ่งเป็นข้อมูลเชิงลึกจากยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนของอาเซียน (ASUS) โดยเน้นย้ำว่า ภายในปี 2573 จะมีประชากรเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 70 ล้านคนในแต่ละเมืองต่างๆ รอบอาเซียน โดย 56% ของประชากรทั้งหมดจะอาศัยในบริเวณเขตเมืองการเติบโตและการขยายตัวของประชากรและเศรษฐกิจหลักที่ทั้งภูมิภาคอาเซียนกำลังเผชิญในพื้นที่เมืองที่มีขนาดเล็กกว่าระดับกลางนั้นเป็นโอกาสอันดีต่อการพัฒนาเมืองและสร้างสมดุลต่อการกระจายตัวของประชากรระดับภูมิภาค

อย่างไรก็ตามเมืองรองต้องเผชิญกับความท้าทายหลายประการ และควรที่จะได้รับการสนับสนุนเชิงกลยุทธ์ในด้านการลงทุนเพื่อวางแผนการจัดการและการพัฒนาที่ยั่งยืนรวมถึงการสาธารณประโยชน์ที่มีคุณภาพซึ่งนำไปสู่โอกาสในการดำรงชีวิตที่มีคุณภาพสำหรับผู้อยู่อาศัย Mr. Maroso กล่าวสรุปว่าความสนใจขององค์กรระหว่างประเทศที่สำคัญ เช่น อาเซียนและสหประชาชาติ การวิจัยและการหารือที่เพิ่มขึ้นภายในแวดวงวิชาการ รวมทั้งความพยายามที่เพิ่มขึ้นจากประเทศต่างๆ ทั่วอาเซียน ถือเป็นก้าวสำคัญสู่แนวทางบูรณาการในการพัฒนานโยบายและการดำเนินการเพื่อการพัฒนาเมืองที่ยั่งยืน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

การเสวนาดำเนินโดย Dr. Adrian Lo ผู้อำนวยการโครงการการออกแบบพัฒนาชุมชนเมือง (หลักสูตรนานาชาติ) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้แก่

  • Dr. Adiwan F. Aritenang ผู้อำนวยการหลักสูตรบัณฑิตศึกษา Urban & Regional Planning Programme, Bandung Institute of Technology สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
  • Mr. Clinton Moore, United Nations Economic and Social Commission for Asia and the Pacific (UNESCAP) ประเทศไทย
  • Associate Professor Orlando Woods ผู้อำนวยการ SMU Urban Institute, Singapore Management University สาธารณรัฐสิงคโปร์
  • ดร. รัฐติการ คำบุศย์ หัวหน้าฝ่ายติดต่อและประสานงานระหว่างประเทศสำนักงานวิเทศสัมพันธ์ กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย
  • Dr. Tu Anh Trinh ผู้อำนวยการ Institute of Smart City & Management, University of Economics Ho Chi Minh City สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

จากข้อสรุปของผู้ร่วมเสวนาคือในปัจจุบันยังขาดนิยามที่ชัดเจนและเป็นสากลในการแบ่งเมืองออกเป็นเมืองหลักหรือเมืองรอง เนื่องจากเมืองในแต่ละประเทศมีปัจจัยที่แตกต่างกัน ทั้งในเรื่องของขนาดและอาณาเขตจึงมีความเห็นตรงกันว่า การศึกษาและพัฒนาของเมืองรองมีแนวโน้มที่จะได้รับการสนับสนุนน้อย ทำให้มีโอกาสขาดความสามารถและองค์ความรู้ในการส่งเสริมศักยภาพของตนอย่างเต็มที่เพื่อความเจริญเติบโตของเมือง

Mr. Moore กล่าวว่า “ทรัพยากรที่แตกต่างกันระหว่างเมืองหลวงและเมืองเล็กๆ นั้น ทั้งในระดับความคิดการส่งเสริมความน่าสนใจและความดึงดูดของแต่ละเมือง ล้วนเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกันที่นำไปสู่ตัวชี้วัดของการจัดการเมือง จากมุมมองของสหประชาชาตินั้น เรามุ่งมั่นเป็นอย่างยิ่งที่จะนำกรอบการทำงานระดับชาติไปสู่การพัฒนาทั่วทั้งภูมิภาค ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญงานที่อาเซียนกำลังทำอยู่มีความสำคัญมากในการขับเคลื่อนและส่งเสริมการขยายตัวของเมืองที่ยั่งยืนในเมืองรองอนาคตของเมืองและประเทศต่างๆ ขึ้นอยู่กับแผนงานในปัจจุบันนับเป็นจุดเริ่มต้นอันดี ที่การวิจัยเกี่ยวกับเมืองรองกำลังได้รับความสนใจมากขึ้นมีทั้งงบประมาณสนับสนุนและเอกสารที่เกี่ยวข้อง โดยเราควรส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในเรื่องนี้ด้วย

อีกทั้ง Dr. Aritenang ยังกล่าวเสริมว่า ผู้นำจากทุกภาคส่วน เช่น มหาวิทยาลัยและสถาบันต่างๆ จำเป็นต้องริเริ่มการปรับเปลี่ยนกรอบความคิดของพลเมืองเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อไป

นอกจากนี้ Assoc. Prof. Woods กล่าวว่าจากสถิติที่ผ่านมา ทุกเมืองมีการเติบโตและสร้างรายได้มากขึ้นเรื่อยๆ จากการขับเคลื่อนโดยภาคเอกชน และเมืองรองเองก็สามารถสร้างมูลค่าต่อนักลงทุนได้เช่นกัน หากมีการลงทุนที่เหมาะสมต่อพื้นที่

และในช่วงท้ายของการเสวนา ผศ. อาสาฬห์ สุวรรณฤทธิ์ คณบดี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวปิดท้ายว่า “เราไม่สามารถมองเมืองรองเหล่านี้แบบแยกส่วนได้เราต้องมองเมืองเหล่านี้ในบทบาทที่เป็นเครือข่ายของเมืองต่างๆ และความสัมพันธ์ที่ไม่ใช่มิติทางกายภาพเพียงอย่างเดียวด้วย เช่น มิติของทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อเนื่องต่อประเด็นทางด้านสิ่งแวดล้อม อีกทั้งช่วยให้เรามีความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างเมืองเหล่านี้แบบองค์รวม การส่งเสริมและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากความสัมพันธ์เหล่านั้นได้อย่างไร”

 

View original content to download multimedia: Read More