พอดีมีโอกาสและเวลาได้นั่งอ่านเรื่องแผนฟื้นฟูสายการบิน JAL (Japan Airline) ซึ่งการบินไทยอาจจะใช้ JAL Model ในการฟื้นฟูองค์กรพออ่านแล้วมีเรื่องราวน่าสนใจเยอะมาก อ่านแล้วรู้สึกได้ว่า สมกับที่เป็นประเทศญี่ปุ่น และคิดว่าจะทำเลียนแบบนั้นยากมาก
– เชิญ คาซุโอะ อินาโมริ ผู้ก่อตั้ง Kyocera และ KDDI ตอนที่เขามาทำ อายุราว ๆ 77-78 ปี
– 1 เดือนแรก ไม่แตะงานอะไรเลย ตลอดระยะเวลา 1 เดือน เขาใช้เวลาไปกับการคุยกับพนักงานทุกระดับชั้น และเขียนสรุปออกมาเป็นวิสัยทัศน์ 1 เล่ม แล้วเดินแจกพนักงานด้วยตัวเอง
– คาซุโอะ อินาโมริ ไม่รับเงินเดือน
– สร้างวัฒนธรรมในองค์กรใหม่ ให้ทุกคนมุ่งมั่นช่วยบริษัท เช่น ติดราคาในอุปกรณ์สำนักงาน เพื่อให้พนักงานรับรู้ว่า สิ่งที่คุณใช้เนี่ย มันมีต้นทุนนะ จนพนักงานหลายคนขนอุปกรณ์จากบ้านมาช่วยบริษัทเพื่อลดต้นทุน
ในแง่การฟื้นฟูงบการเงิน (Classic Case)
1. นำบริษัทออกจากตลาดหุ้น (ไม่ใช่ขึ้น SP) คือลบออกจากตลาดเลย
2. จากข้อ 1. ก็จะต้องลดทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว เป็นศูนย์ เพื่อล้างขาดทุนสะสม และเพื่อ ข้อ 3.
3. Hair cut หนี้ (ข้อนี้ ถ้าเจ้าของยังไม่ทำข้อ 2. ยากมากที่เจ้าหนี้จะยอมตัดหนี้สูญให้ อยู่ดี ๆ จะขอ Hair cut ครึ่งนึง โดยที่เจ้าของยังไม่ทำอะไร อยากมาก ใครจะไปยอม)
4. ปลดพนักงาน 16,000 คน (1 ใน 3 ของบริษัท) ลดหน่วยงานที่ขาดทุน เช่น Cargo (ข้อนี้เหมือนไม่มีอะไร แต่ถ้าไม่มีบารมีมากพอ พนักงานก็เสียกำลังใจพอสมควร)
5. ลดจำนวนเครื่องบินลำใหญ่
6. ลดเที่ยวบินที่ขาดทุน
7. เจาะตลาด premium
8. สร้างความภูมิใจให้คนในชาติใช้ JAL
ปล. ทุนจดทะเบียนชำระแล้ว ของการบินไทย 21,827 ล้านบาท ขาดทุนสะสม -19,383 ล้านบาท เกือบจะเท่า ทุนจดทะเบียนชำระแล้ว
ปล. 2: กรณีการบินไทย ที่คลังขายหุ้นให้กองทุนวายุภักษ์ ไป หากต้องลด ทุนจดทะเบียนชำระแล้ว จะทำยังไง ? ยังนึกภาพไม่ออก