เมื่อแบรนด์ปรับแนวคิดเพื่อเข้าให้ถึงลูกค้า จึงมาเป็นกลยุทธ์พุ่งไปที่ความต้องการของผู้บริโภคของแอดไวซ์

เรามักจะเห็นหรือได้ยินการอธิบายว่าธุรกิจของแต่ละองค์กรเป็นแบบไหน กลุ่มเป้าหมายเป็นใคร ทั้งที่เป็นรูปแบบ B2B หรือ B2C รวมถึงการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดว่า B2B หรือ B2C ต้องใช้กลยุทธ์การตลาดอย่างไร แต่ถ้าวิเคราะห์อย่างลึกซึ้งแล้วการสร้างแบรนด์ที่มีประสิทธิภาพนั้นผู้คนเป็นศูนย์กลางของการขับเคลื่อน ด้วยการศึกษาผ่านข้อมูลเชิงลึกและการเอาใจใส่ของมนุษย์ เราขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจด้วยนวัตกรรม สินค้าหรือบริการที่มีความหมายและสร้างประสบการณ์ร่วมกับผู้บริโภค ไม่ว่าพวกเขาจะเป็น B หรือ C เพราะพวกเขาเป็นมนุษย์ เป็นบุคคล

ในธุรกิจค้าปลีกที่มีผู้บริโภครายย่อยเป็นเป้าหมายหลัก นักการตลาดทั้งหลายรู้ดีว่าหลัก 4P ที่ผู้บริโภคใช้ในการตัดสินใจ ซึ่งผู้บริโภคต่างกรรม ต่างวาระใช้ปัจจัยที่แตกต่างกันเมื่อต้องตัดสินใจซื้อหรือใช้บริการใด ๆ เช่น ซื้อเพราะโปรโมชั่นโดนใจ หรือซื้อสินค้าที่ตรงกับความต้องการโดยที่ราคาไม่มีผลกับการตัดสินใจ ประเด็นที่สำคัญมากในเวลานี้คือช่องทางในการซื้อที่สินค้าหลายประเภทซื้อออนไลน์ได้แต่ก็มีผู้ซื้อที่ต้องการประสบการณ์ก่อนการตัดสินใจ ไม่ว่าจะเป็นการเห็นหรือได้สัมผัส ทดสอบสินค้าจริง เพื่อให้มั่นใจ งานสำรวจจาก ETDA เผยว่า ความต้องการในการซื้อสินค้าและบริการผ่านทางออนไลน์จะกลายเป็นช่องทางการซื้อของผู้บริโภคที่มีความสำคัญมากขึ้น โดยในประเทศไทยพบว่ามีผู้บริโภคถึงร้อยละ 43 วางแผนที่ใช้จ่ายออนไลน์แทนการใช้ช่องทางการค้าปลีกแบบเดิมเพิ่มขึ้นในช่วง 12 เดือนข้างหน้า เพื่อหลีกเลี่ยงข้อจำกัดหรือปัจจัยต่าง ๆ ในระหว่างการซื้อสินค้า เช่น การจราจรที่ติดขัด สภาพอากาศที่ไม่เอื้อกับการจับจ่าย และการบริการหน้าร้านค้าที่แออัด ซึ่งแอดไวซ์ให้ความสำคัญและพัฒนากลยุทธ์เพื่อตอบความท้าทายนี้มาโดยตลอด

ปัจจุบันเทคโนโลยีดิจิทัลสร้างความท้าทายให้กับแบรนด์ในการสร้างความพึงพอใจหรือการยอมรับและซื่อสัตย์กับแบรนด์อย่างมาก เพราะผู้คนได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างรวดเร็ว และได้กลายเป็นการสื่อสารอีกรูปแบบหนึ่งของแบรนด์ต่อกลุ่มเป้าหมายคือการรีวิวสินค้าหรือบริการโดย Influencer

รายงาน State of Influence in Asia 22/23 เผยว่า Facebook ยังคงเป็นเจ้าตลาดในการทำการตลาดแบบ Influencer Marketing มากที่สุด แต่ผู้ชมมีส่วนร่วมในเนื้อหาต่ำเมื่อเทียบกับแพลตฟอร์มอื่น ๆ ขณะที่ TikTok กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งด้านการใช้งานและการมีส่วนร่วมในเนื้อหาของผู้ชม ซึ่งทำให้วันนี้เกิดเทรนด์ใหม่ที่น่าสนใจคือ de-influencing ที่อินฟลูเอนเซอร์นำเสนอข้อมูลเพื่อการตัดสินใจซื้อโดยเน้นสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้ติดตามอย่างจริงใจ

สอดคล้องกับผลสำรวจของ Find Your Influence ที่พบว่า 70% ของผู้บริโภคกลุ่มวัยรุ่นให้ความเชื่อถืออินฟลูเอนเซอร์มากกว่าศิลปินที่มีชื่อเสียง เพราะรู้สึกไว้วางใจอินฟลูเอนเซอร์ที่พวกเขาชื่นชอบและติดตาม ทำให้ธุรกิจต่าง ๆ ได้รับผลประโยชน์มากที่สุดจากการใช้เสียงของพวกเขาเพื่อส่งสารระหว่างธุรกิจสู่กลุ่มเป้าหมาย สอดคล้องกับการสื่อสารของแอดไวซ์ที่ต้องการให้เห็นถึงตัวตนของแอดไวซ์ที่มีความใส่ใจ รับฟังปัญหาและข้อสงสัยของลูกค้าเพื่อปรับปรุงพัฒนาการบริการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมไปถึงให้คำแนะนำที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้า จะเห็นได้จากวิดีโอโฆษณา เราได้อะไรจากการฟัง / เงินก็ซื้อแท็บเล็ตร้านนี้ไม่ได้ หรือ ขอแนะนำกล้องวงจรปิดครบชุดเพียง 60 บาท ที่แสดงให้เห็นว่านอกจากจะพูดถึงแบรนด์ของตัวเองแล้วยังให้ความสำคัญกับความเข้าใจและความต้องการของผู้บริโภคอีกด้วย

ในด้านของการค้าปลีกสมัยใหม่ที่ผู้ประกอบการร้านค้าปลีกปรับตัวตามภาวะเศรษฐกิจ ซึ่ง หน่วยงานวิจัยธนาคารกรุงศรี พบว่าทิศทางธุรกิจร้านค้าปลีกมีแนวโน้มขยายสาขาหน้าร้านควบคู่ไปกับการพัฒนาช่องทางการตลาดออนไลน์ รวมถึงการพัฒนาโมเดลธุรกิจใหม่ ๆ และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้น เพื่อสร้างแตกต่างและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันธุรกิจ ซึ่งในปีนี้แอดไวซ์ตั้งเป้าขยายสาขาให้ครอบคลุมความต้องการของผู้บริโภคทั่วประเทศด้วยการขยายสาขาหน้าร้าน พร้อมรองรับในด้านบริการที่ครบวงจรตั้งแต่ให้คำแนะนำการใช้งานหรือเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภคไปจนถึงบริการหลังการขายต่าง ๆ

จากความเปลี่ยนแปลงทั้งในมิติเทคโนโลยี มิติของพฤติกรรมผู้บริโภคและพลวัตน์ของสังคม ทำให้แอดไวซ์เร่งพัฒนาและปรับกลยุทธ์เพื่อให้รู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลง ซึ่งทำให้เป็นโอกาสของแอดไวซ์ที่ต้องพยายามอย่างเต็มที่เพื่อให้ผู้คนในสังคมไทยได้รับโอกาสในการเลือกสินค้า ได้รับประสบการณ์ทางเทคโนโลยีอย่างที่ต้องการ ไปจนถึงการเป็นส่วนหนึ่งของคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น