เตรียมพร้อม ป้องกัน อาการหลงลืม ในภาวะโรคสมองเสื่อม หรืออัลไซเมอร์

ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และมีอัตราการเกิดโรคสมองเสื่อมที่พบได้ในผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป ปัญหาการหลงลืม ในโรคความจำเสื่อม หรือโรคอัลไซเมอร์ นั้นสามารถป้องกันได้ตั้งแต่ยังเด็ก โดยทางชัวร์สเตปส์ ได้มีการจัดงานให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของผู้สูงวัย ภายในงานมีการไลฟ์สดให้ความรู้ผ่านช่องทาง FACEBOOK LIVE : Sure Steps Goat Milk
โดย นพ. อุดม เพชรสังหาร แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาศักยภาพสมอง กล่าวว่า ปัญหาการหลงลืม ในโรคความจำเสื่อม หรือโรคอัลไซเมอร์ ปัจจัยสำคัญก็คือ อายุ โดยมักเกิดกับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป แต่ไม่ได้หมายความว่าอายุน้อยกว่าแล้วจะไม่เป็น โดยโรคนี้สามารถเริ่มเป็นได้ตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้นไปหรือในวัยกลางคนโดยจะค่อยๆ เริ่มมีอาการบางอย่างที่ส่งส่งสัญญาณว่าในอนาคตคุณมีโอกาสที่จะป่วยด้วยโรคสมองเสื่อมได้ เพราะว่าการเกิดโรคสมองเสื่อมมันจะเกิดจากกกระบวนการบางอย่างในการใช้ชีวิตของคนเรา หรือที่เรียกว่าไลฟ์สไตล์ โดยจะทำงานควบคู่ไปกับยีนส์ของคนเรา ก่อให้เกิดกระบวนการการทำงานของยีนส์ และไปมีผลทำให้เซลล์สมองของเราเกิดความผิดปกติ ดังเช่น การสูบบุหรี่ในชีวิตประจำวันซึ่งก่อให้เกิดโรคเส้นเลือดตีบ เส้นเลือดแข็ง เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอเป็นสาเหตุทำให้เซลล์สมองนั้นเสียไป หรือแม้แต่โรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง การดื่มสุราเป็นประจำ หรือในคนที่ไม่ใช้สมองเลยนั่งอยู่เฉย ๆ ไม่คิด กินนอนอย่างเดียว เพราะโดยปกติแล้วสมองของคนเรามีธรรมชาติอย่างหนึ่งว่า “ถ้าเมื่อไหร่คุณใช้ฉัน ฉันก็จะแข็งแรง” หรือ “ถ้าเมื่อไหร่คุณใช้สมอง สมองก็จะแข็งแรง” นั่นเอง ที่นี้พอสมองของคนเราแข็งแรงจึงเรียกว่ามีพลังสำรองเยอะ พลังสำรองนั้นจะทำให้เราสามารถคิดแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ สมองจะมีการปรับตัวได้เร็วขึ้น ซึ่งตรงนี้เป็นการค้นพบใหม่ว่าคนที่มีพลังการทำงานของสมองที่สูงโอกาสที่จะเสี่ยงกับโรคพวกนี้ก็จะลดลง เพราะฉะนั้นแล้วคนที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไปคุณต้องทำให้สมองแข็งแรง ทำให้ร่างกายแข็งแรง การใช้ชีวิตอย่างกระฉับกระเฉงทั้งด้านจิตใจ ร่างกาย และความคิด ถ้าทำแบบนี้จะทำให้สิ่งที่เรียกว่า พลังสำรองทางด้านความคิดความเข้าใจเรื่องต่าง ๆ สูงขึ้น เพราะถึงแม้ว่าเราจะไปตรวจเจอปัจจัยบางอย่างที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ หรือโรคสมองเสื่อมก็ตามอาการก็จะไม่รุนแรง
โดยในตอนนี้ทางการแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุของโรคสมองเสื่อมนั้นที่แน่ชัดว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร รู้แต่เพียงว่าอายุ 65 ปีขึ้นไปเท่านั้น แต่นอกเหนือจากนั้นยังไม่เป็นที่ชัดเจนเท่าที่ควรปัจจุบันยังมีคงมีการศึกษาต่อไปว่าปัจจัยเสี่ยงอะไรบ้างที่ทำให้เกิดสิ่งนี้ขึ้นมา และจากข้อมูลการศึกษาวิเคราะห์พบว่ามีอยู่ 12 ปัจจัย โดยใน 12 ปัจจัยนี้เราทุกคนควรต้องปฎิบัติโดยเริ่มจากตัวเราเองโดยไม่จำเป็นต้องรอให้ถึง 60 ปีก่อนค่อยทำ ปัจจัยที่1 การศึกษา เพราะคนที่มีการศึกษาน้อยหรือว่าใช้เวลาในการศึกษาหาความรู้ต่าง ๆ น้อยความเสี่ยงจากโรคนี้จะสูง โดยมีการศึกษาจากคนจีนมีการพบว่าคนจีนที่ชอบอ่านหนังสือ เล่นเกม พบว่าคนที่ใช้ชีวิตแบบนี้สมองจะทำงานได้ดี ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอัลไซเมอร์ หรือโรคสมองเสื่อมจะลดลงเพราะทำให้พลังงานสำรองสมองเพิ่มขึ้นเกิดจากการที่เราใช้สมองอยู่ตลอดเวลา และการศึกษายังพบว่าในประเทศที่เศรษฐกิจไม่ดี เด็กไม่ได้เรียนหนังสือมักจะมีปัญหาพวกนี้ตามมา เพราฉะนั้นสิ่งสำคัญควรเรียนรู้อยู่ตลอดเวลาไม่จำเป็นต้องเข้าโรงเรียนเพียงแค่อ่านหนังสือศึกษาหาความรู้ฝึกสมองจะทำให้สมองทำงานได้ดี ปัจจัยที่2 การสูญเสียการได้ยิน หรือหูตึง เป็นปัจจัยของการเกิดโรคได้เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่ความสามารถในการได้ยินต่ำกว่า 25 เดซิเบล มักจะทำให้การรับรู้เรื่องราวของคน ๆ นั้นเสียหายไปแล้วจะทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมได้ เพราะฉะนั้นวิธีแก้ไขคือควรจะใช้เครื่องช่วยฟังเป็นสิ่งที่สำคัญในการที่จะป้องกันตนเอง หรือป้องกันผู้สูงอายุได้ ปัจจัยที่3 สมองได้รับความกระทบกระเทือน ปัจจัยที่4 ความดันโลหิตสูง ปัจจัยที่5 การดื่มสุรามากกว่า 21 ยูนิต/สัปดาห์ ปัจจัยที่6 โรคอ้วน โดยในช่วงวัยกลางคนเมื่อพบปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้โอกาสที่จะเกิดโรคสมองเสื่อมในอนาคตนั้นสูงขึ้น ปัจจัยที่7 สูบบุหรี่ ปัจจัยที่8 อาการซึมเศร้า ปัจจัยที่9 การแยกตัวออกจากสังคม ปัจจัยที่10 ไม่ออกกำลังกาย ปัจจัยที่11 มลภาวะทางอากาศ และปัจจัยสุดท้าย โรคเบาหวาน แต่ปัจจัยความเสี่ยงทั้งหมดนี้สามารถลดความเสี่ยงได้เพียงแค่ 40% อีก 60% ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของโรคนี้ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร
การดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคสมองเสื่อม หรือโรคอัลไซเมอร์ สิ่งแรกที่ต้องทำคือ เตรียมตัว เตรียมใจ เตรียมความรู้
เตรียมตัว การเตรียมร่างกายให้แข็งแรง เพราะการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่ต้องใช้ระยะเวลานานอาจทำให้ผู้ดูแลมีอาการเหนื่อยล้า ถ้าร่างกายไม่แข็งแรงไม่มีคนช่วยที่ดีพอผู้ดูแลก็อาจจะเจ็บป่วยไปด้วยได้
เตรียมใจ การเตรียมกำลังใจ กำลังกายให้พร้อม
เตรียมความรู้ การศึกษาหาความรู้ว่าอาการของผู้ป่วยเกิดจากอะไร และมีอาการแบบไหนบ้าง
เมื่อเตรียมความพร้อมเหล่านี้แล้วอาหารการกินก็สำคัญควรเป็นอาหารที่ย่อยง่าย การทานอาหารให้ครบถ้วน สุขอนามัยที่ดี
อาการที่พบเห็นและพบได้บ่อยที่สุดเมื่อเริ่มเมื่อเป็นโรคสมองเสื่อม หรือโรคอัลไซเมอร์ คือ อาการหลงลืม และเมื่อเริ่มมีอาการรุนแรงจะเริ่มมีอาการเรื่องการดูแลสุขอนามัยของตนเอง การมีพฤติกรรมแปลก ๆ เพราะความสามารถในการควบคุมจัดการตนเองของคนไข้จะเสียไป และที่เราพบเจอได้บ่อยคือการที่คนไข้ออกจากบ้านแล้วกลับบ้านไม่ถูก หรือเรียกว่าการรับรู้เรื่องสิ่งรอบข้างซึ่งคนไข้จะสูญเสียการรับรู้ตรงนี้ไป
โรคสมองเสื่อม หรือโรคอัลไซเมอร์นั้น เป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน เราสามารถที่จะป้องกันตนเองได้ตั้งแต่ยังเด็กสิ่งหนึ่งที่นักวิชาการที่ศึกษาเรื่องนี้บอกว่า “ไม่มีอะไรที่เร็วเกินไป ไม่มีอะไรที่ช้าเกินไป ในการป้องกันตนเองจากโรคสมองเสื่อม” เมื่อเราพร้อมตอนไหนเราทำตอนนั้นจะยิ่งเป็นการเพิ่มพลังสำรองสมองของเราให้มากพอ ถึงแม้ว่าท้ายที่สุดแล้วเราจะเป็นโรคนี้แต่อย่างน้อยการที่เราได้เริ่มต้นทำสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ก็จะช่วยบรรเทาอาการของโรคให้ไม่รุนแรงอย่างที่ควรจะเป็น โรคสมองเสื่อมทุกคนมีโอกาสเป็นได้ถ้าเราเข้าใจและไม่กลัวรู้วิธีที่จะป้องกันตนเองสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตนเองมันก็จะสมารถคลี่คลายไปได้
กิจกรรมในครั้งนี้ Sure Steps อยากให้คนไทยเข้าใจถึงปัญหาของโรคความจำเสื่อม หรือโรคอัลไซเมอร์ ทุกคนสามารถเป็นโรคนี้ได้ และทุกคน ทุกวัยก็สามารถป้องกันได้เพียงแค่เราเข้าใจโรค และหันกลับมาดูแลตัวเองและคนรอบข้าง การป้องกันโรคอัลไซเมอร์ หรือโรคสมองเสื่อม คือการสร้างพลังสำรองของสมอง การทำให้ร่างกายกระฉับกระเฉง การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย การติดต่อสื่อสาร การเข้าสังคม เพราะเมื่อไหร่ที่เรามีการใช้สมองอยู่เป็นประจำจะช่วยทำให้พลังสำรองสมองของเราแข็งแรงขึ้น และเมื่อเป็นโรคนี้อาการก็จะไม่รุนแรง อย่างที่ควรจะเป็น
พลังสำรองสมองเราสามารถเริ่มทำได้ตั้งแต่เด็กไม่ว่าจะเป็นการเรียนหนังสือ การฝึกใช้ความคิด ฝึกใช้สมอง การออกกำลังกาย การทำสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันได้เป็นอย่างดี และสุดท้ายการเลือกทานอาหาร การเลือกทานอาหารนั้นสำคัญอย่างไรจะเห็นได้ว่าการเกิดโรคความจำเสื่อม หรืออัลไซเมอร์ ต่างก็มีปัจจัยมาจากการเกิดโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งสาเหตุก็อาจมาจากการรับประทานอาหารของเรานั้นเอง การทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หรือการทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายจึงเป็นสิ่งสำคัญ และจากการศึกษาวิจัยเมื่อเร็ว ๆ นี้พบว่า การรับประทานอาหารที่มีกรดไขมัน โอเมก้า 3 ,6 , 9 ในปริมาณสูงจะช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคสมองเสื่อม ดีเอชเอ (DHA) ซึ่งเป็นกรดไขมันโอเมก้า 3 พบมากในเซลล์สมอง ดังนั้นการรับประทานอาหารที่มีดีเอชเอ (DHA) สูงจึงช่วยบำรุงสมองเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคสมองเสื่อม ความจำเสื่อม นอกจากนี้ โอเมก้า 9 ยังมีความสำคัญช่วยชะลอวัย และบำรุงสมองส่วนความคิดด้วย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์แล้ว ควรหมั่นออกกำลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอเพื่อให้ทั้งร่างกาย จิตใจ และสมองที่แข็งแรง