หัวเว่ยเปิดตัวสมุดปกขาวฉบับใหม่ พาสำรวจความเคลื่อนไหวในอุตสาหกรรมระบบจัดเก็บข้อมูล

— เผยนิยามของระบบชี้วัดพลังแห่งการจัดเก็บข้อมูล

หัวเว่ย (Huawei) เปิดตัวสมุดปกขาวในหัวข้อ “Data Storage Power – The Digital Cornerstone of High-Quality Development” (พลังแห่งการจัดเก็บข้อมูล รากฐานดิจิทัลแห่งการพัฒนาคุณภาพสูง) อย่างเป็นทางการที่งานหัวเว่ย คอนเนกต์ ประจำปี 2565 หรือ Huawei Connect 2022 ในวันนี้ เพื่อพาสำรวจความเคลื่อนไหวของอุตสาหกรรมการจัดเก็บข้อมูล และกำหนดตัวบ่งชี้เชิงปริมาณเพื่อวัดความสามารถในการจัดเก็บข้อมูล พร้อมวิเคราะห์ภูมิทัศน์การจัดเก็บข้อมูลในปัจจุบันของภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยให้รัฐบาลและองค์กรต่าง ๆ ประเมิน ออกแบบ และสร้างความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลได้ดียิ่งขึ้น

คุณกู่ เสวียจวิน (Gu Xuejun) รองประธานกลุ่มผลิตภัณฑ์ไอทีของหัวเว่ย กล่าวว่า “ความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลในปัจจุบันวัดจากความจุ อย่างไรก็ตาม การพัฒนาอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมและการเกิดขึ้นใหม่ของบริการข้อมูลที่หลากหลาย เช่น ปัญญาประดิษฐ์และบิ๊กดาต้า ทำให้ความจุเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะวัดการพัฒนาและการสร้างระบบจัดเก็บข้อมูลในอนาคตได้ เราต้องการคำจำกัดความและระบบประเมินที่มีความเป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้น เพื่อให้วัดความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

โลกอัจฉริยะกำลังขับเคลื่อนการเติบโตของข้อมูลอย่างรวดเร็วทั่วทั้งอุตสาหกรรม และการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของอุตสาหกรรมเหล่านี้อาศัยความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลหรือพลังการจัดเก็บข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ สมุดปกขาวฉบับนี้จะอธิบายแนวคิดเกี่ยวกับพลังการจัดเก็บข้อมูล รวมถึง

1. แนวคิดและความหมายแฝงของพลังแห่งการจัดเก็บข้อมูล: พลังแห่งการจัดเก็บข้อมูลเป็นแนวคิดที่ครอบคลุม ซึ่งประกอบด้วยความจุในการจัดเก็บ (แกนหลัก) ประสิทธิภาพ ความน่าเชื่อถือ และความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

2. การศึกษาคุณค่าของการจัดเก็บข้อมูลในเชิงปริมาณ: การคำนวณของหัวเว่ยแสดงให้เห็นว่า การลงทุนด้านการจัดเก็บข้อมูลจำนวน 1 ดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เกิดมูลค่าโดยตรงที่ 5 ดอลลาร์สหรัฐ มูลค่าทางอ้อม 8 ดอลลาร์สหรัฐ และมูลค่ากระตุ้นที่ 30-40 ดอลลาร์สหรัฐ

3. ระบบตัวบ่งชี้ที่ประเมินพลังแห่งการจัดเก็บข้อมูลของพื้นที่หรือศูนย์ข้อมูล: ระบบนี้ประกอบด้วยตัวบ่งชี้สามระดับจำนวน 35 ตัวใน 4 มาตรวัด ได้แก่ ขนาด ประสิทธิภาพ รากฐาน และความก้าวหน้า ตามลักษณะของประเทศและองค์กร

4. การประเมินพลังการจัดเก็บข้อมูลใน 20 ประเทศและภูมิภาค: สมุดปกขาวฉบับนี้จะวิเคราะห์ว่าเหตุใดบางประเทศจึงเป็นผู้นำในการจัดอันดับพลังแห่งการจัดเก็บข้อมูล และวิธีที่ประเทศในอันดับที่ต่ำกว่านำไปปรับใช้เพื่อตามให้ทันได้ นอกจากนี้ยังให้คำแนะนำเชิงนโยบาย เพื่อเพิ่มพลังการจัดเก็บข้อมูล

“ผมคิดว่าเอกสารฉบับนี้เป็นการสำรวจที่มีความหมาย ซึ่งจะทำให้เกิดความสนใจมากขึ้นในการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมการจัดเก็บข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลอย่างดี การคำนวณข้อมูลอย่างรวดเร็ว และการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายอย่างเสถียรเท่านั้น จะทำให้โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลปลดล็อกคุณค่าของข้อมูล และส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมคุณภาพสูงให้ดียิ่งขึ้นได้” คุณกู่กล่าว

อ่านสมุดปกขาวได้ที่นี่