พิธีรับมอบโล่และเงินรางวัล โครงการ FAIPA HACKATHON

เช้าวันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 ณ ห้องประชุม Visionization สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ สำนักงานใหญ่ (ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550) ทางสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA ได้จัดพิธีมอบโล่และเงินรางวัลแก่ผู้ชนะการประกวดโครงการ FAIPA HACKATHON (ไฟป่า แฮกกาธอน)

ในนี้งาน ดร.ณัฐวัฒน์ หงส์กาญจนกุล ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาเทคโนโลยีกิจการอวกาศ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA ได้เป็นประธานกล่าวปิดโครงการ FAIPA HACKATHON พร้อมมอบโล่และเงินรางวัลแก่ผู้ชนะการประกวดโครงการ FAIPA HACKATHON รวมทั้งสิ้น 3 ทีม ได้แก่
ผู้ชนะการประกวด รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ DEFIRE (ได้รับเงินรางวัล 30,000 บาท พร้อมโล่รางวัลและประกาศนียบัตร)
ผู้ชนะการประกวด รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ ทีม ไฟปาป่าป้าป๊าป๋า (ได้รับเงินรางวัล 20,000 บาท พร้อมโล่รางวัลและประกาศนียบัตร)
ผู้ชนะการประกวด รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ ทีม CERBERUS (ได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมโล่รางวัลและประกาศนียบัตร)

ทั้งนี้ การประกวดโครงการ FAIPA HACKATHON ได้จัดการประกวดผลงานการแข่งขันในรูปแบบ Pitching เสร็จสิ้นแล้วในวันที่่ 16 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา โดยการประกวดไอเดียในการวิเคราะห์ และบริหารวิกฤตการณ์เพื่อแก้ปัญหาไฟป่า ด้วยเทคโนโลยีดาวเทียมและ Big Data โดยใช้นวัตกรรมครั้งนี้ นับเป็นการเปิดเวทีให้นิสิตนักศึกษาและบุคคลทั่วไป ได้ร่วมออกแบบไอเดียในการการวิเคราะห์และบริหารวิกฤตการเพื่อแก้ไขปัญหาไฟป่าด้วยเทคโนโลยีดาวเทียมและ Big Data

ในการประกวดไอเดียในการการวิเคราะห์และบริหารวิกฤตการเพื่อแก้ไขปัญหาไฟป่าด้วยเทคโนโลยีดาวเทียมและ Big Data ผ่านโครงการ FAIPA HACKATHON ทีม DEFIRE ได้นำเสนอแนวคิดในการใช้ Carbon Credit มาแก้ปัญหาปากท้องที่เป็นต้นเหตุในการเผาป่าของชาวบ้าน

ทีม ไฟปาป่าป้าป๊าป๋า ได้นำเสนอการนำเอาโมเดล Convolutional Neural Network (CNN) มาเทรนด์ Dataset ทั้งหมด 13 ข้อมูล มาทำโมเดลทำนายความน่าจะเป็นในการเกิดไฟป่า เพื่อให้เจ้าหน้าที่ส่วนควบคุมไฟป่าใช้ประกอบการวางแผนการจัดการเชื้อเพลิง เพื่อลดอัตราการเกิดไฟป่าและความรุนเเรงของไฟป่าที่จะเกิดขึ้น

ทีม CERBERUS ได้ชี้ถึงปัญหาหมอกควันในภาคเหนือตอนบนเกิดจากสาเหตุหลักคือการเผาชีวมวลในพื้นที่ป่าหรือไฟป่า ซึ่งป่าในภาคเหนือมีพื้นที่เป็นภูเขาที่ซับซ้อนและยากต่อการเข้าถึง อีกทั้งยังมีพื้นที่ในการรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ป่าไม้มากเกินกำลัง เมื่อเกิดไฟป่าในพื้นที่ที่เข้าถึงยาก จึงทำให้ไฟป่าลุกลามเป็นวงกว้าง ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้มีความยากต่อการดับไฟ จึงคิดพัฒนา Platform ที่มีกระบวนการสร้างจาก A2M (Assessment + Monitoring + Management ) ระบบปฏิบัติการในการนำข้อมูลจาก GISTDA มาวิเคราะห์เพื่อประเมินพื้นที่เสี่ยงในการเกิดไฟป่าและเส้นทางในการเข้าถึงพื้นที่ เพื่อวางแนวทางการรับมือกับไฟป่าอย่างมีประสิทธิภาพเป็นอันดับต่อไป