ผลการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ไม่พบพีฟาสถูกชะในบรรจุภัณฑ์ฟลูออริเนตในแม่พิมพ์ที่มีความล้ำหน้าของไอแพคเคม

ผลการศึกษาอิสระที่ออกแบบและดูแลโดยบริษัทเอ็นไวรอนเมนทัล สแตนดาร์ด (Environmental Standards, Inc.) และดำเนินการโดยเพซ อนาไลติคอล เซอร์วิสเซส (Pace Analytical Services LLC) ไม่พบว่ามีสารเคมีกลุ่มพีฟาส (PFAS) ถูกชะลงในเนื้อของบรรจุภัณฑ์ฟลูออริเนตในแม่พิมพ์ (In-Mold Fluorinated หรือ IMF) ที่มีความล้ำหน้าอันเป็นกรรมสิทธิ์ของไอแพคเคม (IPACKCHEM) แต่อย่างใด

เจพี มอร์แวน (JP Morvan) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของไอแพคเคม กล่าวว่า “ผลการศึกษานี้ยืนยันว่า กรรมวิธีป้องกันการซึมผ่าน IMF ขั้นสูงของไอแพคเคม ช่วยสร้างบรรจุภัณฑ์ที่ปลอดภัย แน่นหนา และยั่งยืน โดยเป็นโซลูชันป้องกันไม่ให้พีฟาสถูกชะจากบรรจุภัณฑ์ฟลูออริเนต เราเชื่อว่าเทคโนโลยีและกรรมวิธีของเราจะช่วยมอบคุณประโยชน์ของบรรจุภัณฑ์ HDPE แบบฟลูออริเนต พร้อมปกป้องสุขภาพของสาธารณชนและคุ้มครองสิ่งแวดล้อม”

เมื่อเดือนมีนาคม 2564 องค์กรพิทักษ์สิ่งแวดล้อม (EPA) พบว่า บรรจุภัณฑ์ HDPE บางประเภทมีความเสี่ยงที่จะชะสารเคมีกลุ่มพีฟาสลงในเนื้อบรรจุภัณฑ์ ผลการศึกษาของ EPA ยืนยันว่า ทางหน่วยงานพบสารพีฟาสรวมกัน 8 ชนิดจากบรรจุภัณฑ์ HDPE แบบฟลูออริเนต โดยมีระดับตั้งแต่ 20-50 ส่วนในพันล้านส่วน

นับตั้งแต่นั้น EPA พบว่า กระบวนการฟลูออริเนชันที่ใช้ก๊าซฟลูออรีนโดยไม่มีออกซิเจนนั้น ช่วยลดความเสี่ยงในการก่อตัวของสารเคมีกลุ่มพีฟาสได้ นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (FDA) ยังได้อนุมัติการใช้บรรจุภัณฑ์จากเทคโนโลยีป้องกันการซึมผ่านกับอาหาร ในกรณีฟลูออริเนตบรรจุภัณฑ์ด้วยกรรมวิธีผลิตที่ใช้ไนโตรเจนเท่านั้น

กรรมวิธี IMF ขั้นสูงอันเป็นกรรมสิทธิ์ของไอแพคเคม ใช้สารฟลูออรีนละลายในไนโตรเจน ซึ่งจะทำปฏิกิริยากับพื้นผิวด้านในบรรจุภัณฑ์เท่านั้น เพื่อสร้างจุดขวางกั้นไม่ให้สารเคมีแพร่กระจาย ทำให้ผลิตภัณฑ์มีความสมบูรณ์และไม่มีสิ่งเจือปน

ผลการค้นพบจากการศึกษาบรรจุภัณฑ์ IMF ขั้นสูงโดยเพซ

โครงการศึกษาอิสระนี้ได้เผยแพร่บทสรุปแล้ววันนี้ ดำเนินการโดยทีมนักวิทยาศาสตร์ของเพซ อนาไลติคอล เซอร์วิสเซส ขณะที่บริษัทผู้ให้คำปรึกษาด้านเคมีเฉพาะทางที่มีประสบการณ์ในการทดสอบลักษณะนี้อย่างเอ็นไวรอนเมนทัล สแตนดาร์ด รับหน้าที่ออกแบบและดูแลการทดสอบ

ดำเนินการศึกษาโดยใช้กระบวนการที่มีความเข้มงวด และใช้ตัวอย่างหลายรายการ ใช้ตัวทำละลายที่ออกฤทธิ์แรง และทดสอบตามยาวในกรอบเวลาต่างกัน
ศึกษาเพื่อประเมินว่า พบสารกลุ่มพีฟาสชนิดใดชนิดหนึ่งจากที่กำหนดไว้ 19 รายการ[1] ในตัวทำละลายเมทานอลหลังปล่อยไป 1-3 เดือนหรือไม่ โดยทดลองกับบรรจุภัณฑ์ประเภทต่าง ๆ ที่มีวางจำหน่ายในทางการค้านอกสหรัฐ
ไม่พบสารพีฟาสเป้าหมายในตัวอย่างบรรจุภัณฑ์ IMF ขั้นสูงของไอแพคเคม ไม่ว่าจะอยู่ที่ระดับปริมาณต่ำสุดของสารทดสอบที่ยอมรับได้ (LOQ) หรือเหนือกว่า
การศึกษาดังกล่าวดำเนินการโดยทำสัญญากับบริษัทสเต็ปโท แอนด์ จอห์นสัน (Steptoe & Johnson) และได้รับทุนสนับสนุนจากไอแพคเคม

คุณมอร์แวน กล่าวว่า “เราเชื่อว่า การนำบรรจุภัณฑ์เกรดอุตสาหกรรม IMF ขั้นสูงของเราไปทดสอบทางวิทยาศาสตร์นั้นเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อประเมินความปลอดภัยและเป็นไปตามมาตรฐานสูงสุดของเรา เรามีความยินดีกับผลลัพธ์ที่ได้ ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานมั่นใจได้ว่าพวกเขาใช้บรรจุภัณฑ์ของเราได้อย่างปลอดภัย”

ไอแพคเคม

ไอแพคเคม (IPACKCHEM) ก่อตั้งขึ้นเมื่อสามทศวรรษที่ผ่านมา ด้วยพันธกิจในการยกระดับการควบคุมดูแลสารเคมีชนิดพิเศษทั้งในแง่ของสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย บริษัทได้เติบโตจนก้าวขึ้นเป็นผู้นำระดับโลกด้านบรรจุภัณฑ์พลาสติกสมรรถนะสูง ปัจจุบันให้บริการลูกค้าจากแหล่งการผลิตต่าง ๆ ใน 4 ทวีป

นับตั้งแต่ก่อตั้ง ไอแพคเคมได้นำเสนอบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่มีความแข็งแกร่งและล้ำหน้า พร้อมคุณสมบัติป้องกันการซึมผ่านเพื่อทำให้ขนส่ง จัดเก็บ และดูแลสารเคมีได้อย่างปลอดภัย ทั้งที่ใช้ในการอารักขาพืช สุขภาพสัตว์ รสและกลิ่น เภสัชภัณฑ์ และใช้งานในห้องปฏิบัติการ

บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ป้องกันการซึมผ่านได้อย่างแข็งแกร่งของไอแพคเคม สอดรับกับมาตรฐานควบคุมคุณภาพตามกระบวนการที่มีความเข้มงวด และได้รับการรับรองการขนส่งสินค้าอันตรายจากสหประชาชาติ

โซลูชันบรรจุภัณฑ์อันเป็นกรรมสิทธิ์ของไอแพคเคมพร้อมเทคโนโลยีป้องกันการซึมผ่าน IMF ขั้นสูงนั้นรีไซเคิลได้ 100% และนำวัสดุที่ผ่านการใช้งานแล้วมาผลิตได้มากถึง 50%

[1] การศึกษาดังกล่าวออกแบบมาเพื่อทดสอบสารประกอบพีฟาส 19 ชนิด ซึ่งประกอบด้วยสารพีฟาส 8 ชนิดที่เคยพบในการศึกษาขององค์กรพิทักษ์สิ่งแวดล้อมสหรัฐ

ติดต่อ : แคลร์ ปาร์คเกอร์ ( Claire Parker)
อีเมล : claire@cbcommunicationsllc.com
วิคเตอร์ ลุสวาร์ดี ( Victor Lusvardi)
อีเมล : victor.lusvardi@ipackchem.com
โลโก้ – https://mma.prnewswire.com/media/1896914/IPACKCHEM_Logo.jpg