9krapalm.com

ธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภคผนึกกำลังประกาศแนวปฏิบัติ เพื่อหาทางคืนเงินค่าธรรมเนียมการจัดหางานให้แรงงาน

-บริษัทสมาชิกแนวร่วมสิทธิมนุษยชนเพื่อยุติการบังคับใช้แรงงาน และเอม-โปรเกรส จับมือออกแนวปฏิบัติเพื่อหาทางคืนเงินค่าธรรมเนียมการจัดหางานให้แรงงาน
-แรงงานที่ถูกบังคับและเอาเปรียบในภาคเอกชนราวหนึ่งในห้าตกอยู่ในสภาวะแรงงานขัดหนี้ ซึ่งอาจมีสาเหตุจากการจ่ายค่าธรรมเนียมการจัดหางาน
-แนวปฏิบัติใหม่นี้ออกแบบเพื่อใช้กับนายจ้างทั่วทั้งห่วงโซ่มูลค่าสินค้าอุปโภคบริโภค

แนวร่วมสิทธิมนุษยชนเพื่อยุติการบังคับใช้แรงงาน (Human Rights Coalition – Working to End Forced Labour หรือ HRC) ของคอนซูเมอร์ กู๊ดส์ ฟอรัม (Consumer Goods Forum หรือ CGF) ผนึกกำลังเอม-โปรเกรส (AIM-Progress) เปิดตัว “แนวปฏิบัติว่าด้วยการคืนเงินค่าธรรมเนียมการจัดหางานและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องที่ลูกจ้างเคยจ่ายไว้” (Guidance on the Repayment of Worker-paid Recruitment Fees and Related Costs) เพื่อสนับสนุนความพยายามของภาคธุรกิจในการเยียวยาค่าธรรมเนียมการจัดหางานที่ลูกจ้างเคยจ่ายไว้ เนื่องจากแรงงานในห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานข้ามชาติ อาจถูกบีบให้จ่ายค่าธรรมเนียมให้ตัวแทนจัดหางานเพื่อให้ได้งาน ทำให้เสี่ยงตกอยู่ในสภาวะแรงงานขัดหนี้ (debt bondage) และอาจกลายเป็นการบังคับใช้แรงงานได้ ขณะที่องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) เปิดเผยว่า แรงงานที่ถูกบังคับและเอาเปรียบในภาคเอกชนราวหนึ่งในห้าตกอยู่ในสภาวะแรงงานขัดหนี้ที่ว่านี้

แนวปฏิบัติดังกล่าวมีจุดประสงค์เพื่อเป็นเครื่องมือให้ธุรกิจทั้งหมดได้ใช้ เพื่อช่วยให้การสรรหาและจ้างงานเป็นไปตามหลักการสำคัญของอุตสาหกรรม (Priority Industry Principle) ซึ่ง CGF ได้เปิดตัวเมื่อปี 2560 โดยระบุถึงแนวปฏิบัติด้านการจ้างงานที่พบได้ทั่วไปแต่เป็นปัญหา เพราะอาจทำให้เกิดการบังคับใช้แรงงานได้ หลักการสำคัญดังกล่าวระบุว่า

-ลูกจ้างทุกคนควรมีเสรีภาพในการเคลื่อนไหว
-ไม่มีลูกจ้างคนใดควรเสียเงินเพื่อให้ได้งาน
-ไม่มีลูกจ้างคนใดที่ควรตกเป็นหนี้หรือถูกบังคับให้ทำงาน

แนวปฏิบัติที่ประกาศครั้งนี้เป็นเครื่องมืออันทรงพลัง เพื่อสนับสนุนให้บริษัทต่าง ๆ ปฏิบัติตามหลักการดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อที่สอง ซึ่งก็คือไม่มีลูกจ้างคนใดควรเสียเงินเพื่อให้ได้งาน และปฏิบัติตามหลักการที่ว่านายจ้างเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการสรรหา (Employer Pays Principle) แนวปฏิบัติดังกล่าวออกแบบมาให้ปรับปรุงได้เมื่อภูมิทัศน์ความยั่งยืนในระดับโลกมีการเปลี่ยนแปลง หรือเมื่อภาคธุรกิจยกระดับระบบตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (HRDD) และมีผู้ร่วมแรงร่วมใจเยียวยามากขึ้น โดยให้คำแนะนำเป็นขั้นตอนเกี่ยวกับแนวทางคืนเงินค่าจัดหางานและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องให้ลูกจ้าง HRC และเอม-โปรเกรส ขอเชิญชวนผู้มีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนใช้แนวปฏิบัตินี้เป็นเครื่องมือเสริมแกร่งระบบ HRDD ของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคส่วนที่ค่าธรรมเนียมจัดหางานเป็นเรื่องที่พบเห็นได้ทั่วไป เพื่อให้สรรหาลูกจ้างอย่างมีความรับผิดชอบมากขึ้นทั่วโลก

แนวปฏิบัตินี้ได้รับการเปิดตัวในการประชุมประจำปีของ CGF อย่างการประชุมสุดยอดเพื่อส่งเสริมความยั่งยืนในภาคค้าปลีก (Sustainable Retail Summit) โดยเปิดตัวในเซสชันหัวข้อ “ความเคลื่อนไหวของภาคอุตสาหกรรมในการสรรหาอย่างมีความรับผิดชอบ เพื่อยุติการบังคับใช้แรงงาน” (Industry Action on Responsible Recruitment to Fight Forced Labour) ซึ่งมีคุณดิดิเยร์ เบอร์เกเร็ต (Didier Bergeret) จากคอนซูเมอร์ กู๊ดส์ ฟอรัม, คุณไฮดี โคสเตอร์ โอลิเวรา (Heidi Koester Oliveira) จากมาร์ส อิงค์ (Mars, Inc.), คุณอันบินห์ เอ็กซ์ ฟาน (Anbinh X. Phan) จากวอลมาร์ต (Walmart), คุณเบนจามิน กัตแลนด์ (Benjamin Gatland) จากเดอะ ไฮเนเก้น คอมปะนี (The Heineken Company) และคุณโรซีย์ เฮิร์สต์ (Rosey Hurst) จากอิมแพกต์ (Impactt) ร่วมด้วย โดยแนวปฏิบัติดังกล่าวมีต้นแบบจาก “หลักการและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการคืนค่าธรรมเนียมจัดหางานและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องให้แรงงานข้ามชาติ” (Principles and Guidelines for the Repayment of Migrant Worker Recruitment Fees and Related Costs) และสอดรับกับหลักการที่ว่านี้

HRC เป็นความคิดริเริ่มของผู้ผลิตและผู้ค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคที่ใหญ่ที่สุดในโลก 30 แห่ง โดยมุ่งมั่นที่จะช่วยสร้างสภาพการทำงานที่ยุติธรรมและเหมาะสมทั่วโลก ด้วยการกำจัดแรงงานบังคับออกจากห่วงโซ่อุปทาน การทำงานของ HRC เป็นการสานต่อประวัติศาสตร์อันยาวนานของ CGF ในการมีส่วนร่วมในประเด็นเรื่องการบังคับใช้แรงงานภายในห่วงโซ่อุปทานสินค้าอุปโภคบริโภค โดยนำมติทางสังคมของ CGF ว่าด้วยแรงงานบังคับ (Social Resolution on Forced Labour) มาต่อยอด ซึ่งมีขึ้นเป็นครั้งแรกในอุตสาหกรรม ตลอดจนหลักการสำคัญของอุตสาหกรรม และความสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญในอุตสาหกรรม

เอม-โปรเกรส เป็นความคิดริเริ่มระดับโลกของผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคและซัพพลายเออร์ โดยมีภารกิจเพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อชีวิตของผู้คนและเคารพสิทธิมนุษยชน พร้อมมอบคุณประโยชน์ให้กับสมาชิกและซัพพลายเชน ซึ่งดำเนินการใน 4 ด้าน ได้แก่ ลำดับความสำคัญด้านสิทธิมนุษยชนและคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง ศูนย์กลางระดับภูมิภาค กระแสงานการยอมรับร่วมกันเพื่อสร้างการทำงานร่วมกันในแนวทางต่าง ๆ และสายงานการสร้างความสามารถ เพื่อให้สมาชิกของเรามีความรู้และความสามารถในการดำเนินการจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบและยั่งยืน

คุณดิดิเยร์ เบอร์เกเร็ต ผู้อำนวยการฝ่ายความยั่งยืนของคอนซูเมอร์ กู๊ดส์ ฟอรัม กล่าวว่า “เมื่อ ILO ออกการคำนวณใหม่เกี่ยวกับแรงงานทาสสมัยใหม่ ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีการบังคับใช้แรงงานมากขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2559 แล้ว นายจ้างทุกคนมีหน้าที่รับผิดชอบในการยกระดับการดำเนินการ เพื่อให้มั่นใจว่าลูกจ้างของตนได้รับการสรรหาและจ้างงานอย่างเป็นธรรม แนวปฏิบัตินี้มีคำแนะนำทีละขั้นตอนให้ธุรกิจต่าง ๆ รับมือประเด็นสำคัญเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมการจัดหางานได้”

คุณหลุยส์ เฮอร์ริง ( Louise Herring) ผู้อำนวยการบริหารของเอม-โปรเกรส กล่าวว่า “การสรรหาอย่างมีความรับผิดชอบเป็นหัวใจสำคัญในงานด้านสิทธิมนุษยชนของเอม-โปรเกรส และสมาชิก เราตระหนักดีว่าการให้คำแนะนำในทางปฏิบัติควบคู่ไปกับการสนับสนุนภาคปฏิบัติแก่ซัพพลายเออร์และตัวกลางในการจัดหางาน เป็นสิ่งสำคัญในการปรับปรุงแนวทางปฏิบัติในห่วงโซ่อุปทาน เราหวังว่าคำแนะนำนี้จะเอื้อให้เกิดความร่วมมือเพิ่มเติมระหว่างพันธมิตรด้านซัพพลายเชน เพื่อเยียวยาและแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุของค่าธรรมเนียมการจัดหางาน”

คุณไฮดี โคสเตอร์ โอลิเวรา ผู้อำนวยการระดับโลกฝ่ายผลกระทบทางสังคมของมาร์ส กล่าวว่า “การสรรหาอย่างมีความรับผิดชอบไม่ใช่บรรทัดฐานในห่วงโซ่อุปทานระดับโลกบางแห่ง และนั่นเป็นสาเหตุที่มาร์สทำงานร่วมกับแบรนด์และผู้ค้าปลีกรายใหญ่ ๆ เพื่อเปลี่ยนระบบ สนับสนุนซัพพลายเออร์ และแสดงให้เห็นว่ามีความคืบหน้าได้ เราเชื่อว่าลูกจ้างที่ด้อยโอกาสได้รับการสรรหาอย่างมีความรับผิดชอบโดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายได้ เมื่อมีการแบ่งปันต้นทุนที่แท้จริงของการสรรหาบุคลากรทั่วทั้งห่วงโซ่คุณค่า คำแนะนำนี้สนับสนุนบริษัทต่าง ๆ ในการจัดการกับค่าธรรมเนียมการจัดหางานตามที่พบ เพื่อให้เรามุ่งไปข้างหน้าและมุ่งเน้นไปที่การสนับสนุนของรัฐบาลและระบบใหม่ ๆ การควบคุมในส่วนต่าง ๆ และกลไกทางการค้า เพื่อขจัดแนวปฏิบัตินี้”

คุณราเชล คาวเบิร์น-วอลเดน ( Rachel Cowburn-Walden) หัวหน้าฝ่ายความยั่งยืนและสิทธิมนุษยชนของยูนิลีเวอร์ (Unilever) กล่าวว่า “ยูนิลีเวอร์สนับสนุนการเปิดตัวแนวทางนี้ ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนการปฏิบัติที่เมื่อนำไปใช้จริงแล้ว จะช่วยพนักงาน ลดความเสี่ยงทางธุรกิจ และสร้างอุตสาหกรรมการจัดหางานที่มีความรับผิดชอบมากขึ้น”

คุณโรซีย์ เฮิร์สต์ ผู้ก่อตั้งอิมแพกต์ กล่าวว่า “เรายินดีกับการเปิดตัวแนวทางนี้ซึ่งมีศักยภาพในการขับเคลื่อนการเยียวยาในวงกว้างทั่วทั้งห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก และมีส่วนสำคัญในการลดปัญหาแรงงานขัดหนี้ และนำเงินหลายร้อยล้านดอลลาร์คืนให้ลูกจ้างที่จ่ายค่าธรรมเนียมไปแล้ว”

อ่านแนวปฏิบัติทั้งหมดได้ที่นี่ ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบทบาทการทำงานของ HRC ได้ที่ www.tcgfsocial.com

เกี่ยวกับแนวร่วมสิทธิมนุษยชนเพื่อยุติการบังคับใช้แรงงาน

แนวร่วมสิทธิมนุษยชนเพื่อยุติการบังคับใช้แรงงาน (HRC) ของคอนซูเมอร์ กู๊ดส์ ฟอรัม เป็นแนวร่วมซีอีโอจากคอนซูเมอร์ กู๊ดส์ ฟอรัม HRC เป็นความคิดริเริ่มของธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภคที่ใหญ่ที่สุดในโลก 30 แห่ง โดยมุ่งมั่นที่จะช่วยสร้างสภาพการทำงานที่ยุติธรรมและเหมาะสมทั่วโลก ด้วยการกำจัดแรงงานบังคับออกจากห่วงโซ่อุปทาน การทำงานของ HRC เป็นการสานต่อประวัติศาสตร์อันยาวนานของ CGF ในการมีส่วนร่วมในประเด็นเรื่องการบังคับใช้แรงงานภายในห่วงโซ่อุปทานสินค้าอุปโภคบริโภค โดยนำมติทางสังคมของ CGF ว่าด้วยแรงงานบังคับมาต่อยอด ซึ่งมีขึ้นเป็นครั้งแรกในอุตสาหกรรม ตลอดจนหลักการสำคัญของอุตสาหกรรม และความสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญในอุตสาหกรรม ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ HRC ได้ที่ www.tcgfsocial.com

ข้อมูลเกี่ยวกับประชาคมสินค้าอุปโภคบริโภค

ประชาคมสินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer Goods Forum หรือ CGF) คือเครือข่ายอุตสาหกรรมระดับโลกที่มีความเสมอภาค ซึ่งผลักดันโดยสมาชิก เพื่อส่งเสริมการนำหลักปฏิบัติและมาตรฐานระดับโลกมาใช้เพื่อให้บริการแก่อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วโลก ประชาคมนี้ประกอบด้วยประธานเจ้าหน้าที่บริหารและคณะผู้บริหารระดับอาวุโสของผู้ค้าปลีก ผู้ผลิต ผู้จัดหาบริการ และผู้มีส่วนได้เสียอื่น ๆ ราว 400 รายใน 70 ประเทศ และสะท้อนให้เห็นุถึงความหลากหลายของอุตสาหกรรม ทั้งในแง่ภูมิศาสตร์ ขนาด หมวดหมู่ และรูปแบบของผลิตภัณฑ์ บริษัทสมาชิกมียอดขายรวม 3.5 ล้านล้านยูโร และว่าจ้างพนักงานเกือบ 10 ล้านคนโดยตรง โดยคาดการณ์ว่ามีตำแหน่งงานเกี่ยวข้องภายในห่วงโซ่คุณค่าอีก 90 ล้านตำแหน่ง ประชาคมนี้กำกับดูแลโดยคณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วยประธานเจ้าหน้าที่บริหารของผู้ผลิตและผู้ค้าปลีก 55 คน หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาเยี่ยมชม www.theconsumergoodsforum.com

โลโก้ – https://mma.prnewswire.com/media/1279200/The_Consumer_Goods_Forum_Logo.jpg

Exit mobile version