จังหวัดคย็องซังเหนือ (Gyeongsangbuk-do) ของเกาหลีใต้ ทำสถิติส่งออกอาหารเกษตรสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 640 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2564 และคาดว่าจะทุบสถิติใหม่อีกครั้งในปีนี้ เพราะแค่เพียงเดือนตุลาคม 2565 ยอดส่งออกดังกล่าวก็ได้แซงหน้าตัวเลขของปีก่อนไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ปริมาณการส่งออกอาหารเกษตรของจังหวัดคย็องซังเหนือในเดือนตุลาคม 2565 เพียงเดือนเดียวอยู่ที่ 679.64 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 40% เมื่อเทียบกับยอดส่งออก 485.45 ล้านดอลลาร์สหรัฐในเดือนตุลาคม 2564
เมื่อพิจารณาตามประเภทสินค้าสดพบว่า การส่งออกแอปเปิลเพิ่มขึ้น 81.3% พีชเพิ่มขึ้น 52.6% และสตรอว์เบอร์รีเพิ่มขึ้น 33.7% ขณะที่เมื่อแยกเป็นรายประเทศ การส่งออกไปยังประเทศไทยเพิ่มขึ้น 114.1% ไต้หวันเพิ่มขึ้น 60% เวียดนาม 53.5% และฮ่องกง 48.5%
ในบรรดาอาหารเกษตรของเกาหลีนั้น ผลไม้สดได้รับความนิยมมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้บริโภคซื้อผลไม้เกาหลีสำหรับใช้ในพิธีไหว้บรรพบุรุษและเพื่อมอบเป็นของขวัญ เนื่องจากผลไม้นำเข้าจากเกาหลีมีรสชาติหวาน มีกลิ่นหอม และมีคุณภาพสูง
จังหวัดคย็องซังเหนือล้อมรอบด้วยพื้นที่ภูเขาสูงซึ่งมีช่วงอุณหภูมิกว้างในแต่ละวัน รวมทั้งมีปริมาณน้ำฝนต่ำ จึงทำให้เป็นพื้นที่ที่เหมาะสำหรับการปลูกผลไม้ ผลไม้ที่ผลิตที่นี่คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 30% ของการผลิตผลไม้ทั้งหมด โดยผลไม้ที่ผลิตมากที่สุดในจังหวัดคย็องซังเหนือ ได้แก่ แอปเปิล 64% ลูกพีช 52% องุ่น 54% และพลัม 86%
‘daily’ เป็นแบรนด์ผลไม้ประจำจังหวัดคย็องซังเหนือ ซึ่งจำหน่ายผลไม้เกรดพรีเมียมที่คัดสรรและรับประกันโดยจังหวัด ทางแบรนด์จำกัดเฉพาะ ‘แอปเปิล พีช องุ่น และพลัม’ นอกจากนี้ ผลไม้ที่สามารถวางจำหน่ายพร้อมติดสติกเกอร์แบรนด์ ‘daily’ นั้น จะต้องเป็นผลไม้ที่ผ่านกระบวนการคัดสรรตามเกณฑ์ที่เข้มงวด ณ ศูนย์แปรรูปสินค้าเกษตร (Agricultural Products Processing Complex) ที่มีเทคโนโลยีล่าสุด เช่น ระบบอัตโนมัติ เครื่องวัดค่าความหวานแบบไม่ทำลายตัวอย่าง (non-destructive brix meter) และเครื่องล้างทำความสะอาด เป็นต้น ทั้งยังสอดคล้องกับเกณฑ์ด้านสุขอนามัยตามคู่มือการจัดการคุณภาพ
ดังเช่นที่กล่าวข้างต้นว่า ‘daily’ มีระบบการจัดการคุณภาพที่เข้มงวด ด้วยเหตุนี้แบรนด์จึงได้รับความนิยมจากผู้บริโภค
ในขณะเดียวกัน จังหวัดคย็องซังเหนือยังดำเนินโครงการต่าง ๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายการส่งออกอาหารเกษตรที่ 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2569 ทางจังหวัดได้วางแผนและส่งเสริมกลยุทธ์การส่งออกที่หลากหลายผ่านการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมการส่งออกอาหารเกษตร (Agrifood Export General Support Center) การสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางการตลาดที่ปรับให้สอดคล้องกับแต่ละประเทศเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดที่กำลังเติบโตในอาเซียนและภูมิภาคอื่น ๆ ตลอดจนการเพิ่มรายการสินค้าส่งออกสำหรับตลาดหลัก ๆ และการเปิดร้านค้าถาวรเพื่อจำหน่ายอาหารเกษตรในต่างประเทศ
รูปภาพ – https://mma.prnewswire.com/media/1977018/1.jpg