9krapalm.com

อินโดนีเซียกับบทบาทประธานอาเซียน หนุนประเทศสมาชิกร่วมมือแก้ไขประเด็นปัญหาสำคัญระดับภูมิภาค

อินโดนีเซียสนับสนุนประเทศสมาชิกอาเซียนในการแก้ไขประเด็นปัญหาสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ภายในกลุ่ม ซึ่งภารกิจสำคัญลำดับแรก ๆ ได้แก่ การส่งเสริมความร่วมมือทางการเงิน การจัดการด้านการเงิน การเสริมสร้างการคุ้มครองทางสังคม และการยกระดับการจัดหาเงินทุนเพื่อการประกันภัยพิบัติ

คณะผู้แทนระดับรัฐมนตรีช่วยและรองผู้ว่าการธนาคารกลางจากกระทรวงการคลังและธนาคารกลางของประเทศสมาชิกอาเซียนได้มาพบปะหารือกันในการประชุมระดับคณะทำงานภายใต้กรอบการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน (AFCDM-WG) ในระหว่างวันที่ 10-14 กรกฎาคม 2566 ที่เมืองยอกยาการ์ตา โดยเป็นส่วนหนึ่งของการเตรียมความพร้อมสำหรับการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน (AFMGM) ครั้งที่ 2 ซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นในเดือนสิงหาคม

อินโดนีเซีย ในฐานะประธานอาเซียนประจำปี 2566 รับหน้าที่เป็นเจ้าภาพต้อนรับประเทศสมาชิกอีก 9 ประเทศ ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม กัมพูชา ลาว มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนามเข้าร่วมการประชุม นอกจากนี้ ติมอร์-เลสเต ยังได้เข้าร่วมในฐานะผู้สังเกตการณ์เป็นครั้งแรกด้วย

ความคิดริเริ่มในการสนับสนุนความร่วมมือของอาเซียนได้รับการตอบรับเชิงบวกจากทุกประเทศสมาชิก ด้วยเป้าหมายที่จะผลักดันอาเซียนขึ้นเป็น “ศูนย์กลางการเจริญเติบโต” (Epicentrum of Growth) ของโลก

กระทรวงการคลังอินโดนีเซียและธนาคารกลางอินโดนีเซียตระหนักดีถึงความจำเป็นที่อาเซียนจะต้องเสริมสร้างความร่วมมือให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านเศรษฐกิจและการเงิน เพื่อรักษาความเกี่ยวเนื่องขององค์กร ด้วยเหตุนี้ วาระการประชุม AFCDM-WG บางวาระจึงเป็นการอภิปรายเกี่ยวกับความคืบหน้าของความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ภารกิจสำคัญของประธานอาเซียนประจำปี 2566 (ASEAN Chair Priorities 2023), แผนงานการจัดตั้งประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community Blueprint), แผนการรวมกลุ่มด้านการเงินและการคลังอาเซียน (Roadmap for Monetary and Financial Integration of ASEAN) และความร่วมมือทางการเงินของอาเซียน

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การจัดหาเงินทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงจากภัยพิบัติ (Disaster Risk Financing: DRFI) และการคุ้มครองทางสังคมเชิงปรับตัว (Adaptive Social Protection: ASP) กลายเป็นสองหัวข้อสำคัญที่ต้องให้ความสนใจ เพื่อปกป้องประเทศชาติ ทรัพย์สินของอินโดนีเซีย และที่สำคัญที่สุดคือ ชุมชนรายได้น้อยที่เปราะบางต่อภัยธรรมชาติ ปาร์จิโอโน เจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจมหภาคและการเงินระหว่างประเทศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เน้นย้ำว่า การที่อินโดนีเซียเผชิญกับภัยพิบัติทางธรรมชาติหลายต่อหลายครั้ง ประกอบกับความสูญเสียทางเศรษฐกิจมหาศาล ทำให้เมื่อปี 2561 ประเทศต้องพัฒนายุทธศาสตร์การบริหารการเงินและการประกันภัยเพื่อรองรับความเสี่ยงจากภัยพิบัติ (Disaster Risk Financing and Insurance (DRFI) Strategy) ที่มีความครอบคลุม

“DRFI ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของเราในการจัดหาเงินทุนเพื่อบรรเทาภัยพิบัติรวมทั้งเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันและการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเมื่อเผชิญกับภัยพิบัติต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่ออินโดนีเซีย” เขาเน้นย้ำ

ยุทธศาสตร์ดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายเงินทุนในการรับมือกับภัยพิบัติโดยการสำรวจแหล่งเงินทุนทางเลือกนอกเหนือจากงบประมาณของรัฐ ซึ่งรวมถึงการประกันภัยรูปแบบใหม่ ๆ นอกจากนี้ รัฐบาลอินโดนีเซียกำลังร่วมมือในเชิงรุกกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายรายเพื่อเปิดตัวกลยุทธ์การลงทุนที่เรียกว่า กองทุนร่วมเพื่อการรับมือกับภัยพิบัติ (Disaster Pooling Fund) โดยเป็นองค์ประกอบสำคัญของยุทธศาสตร์

นอกจากนี้ในอินโดนีเซีย การพัฒนาการคุ้มครองทางสังคมเชิงปรับตัว (Adaptive Social Protection : ASP) ได้รับการบรรจุเป็นญัตติ เพื่อตอบสนองโดยตรงต่อข้อเรียกร้องของประธานาธิบดี โจโค วิโดโด ที่ต้องการให้มีการปฏิรูปการคุ้มครองทางสังคม

แนวคิดเชิงวิพากษ์เหล่านี้ยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่องและได้รับแรงสนับสนุน โดยประเทศสมาชิกอาเซียนแลกเปลี่ยนความรู้และแนวทางปฏิบัติซึ่งกันและกัน เพื่อเสริมการเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติและสร้างเครือข่ายความปลอดภัยทางสังคมร่วมกัน ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก

Exit mobile version