9krapalm.com

อาร์ตไพรซ์ จ่อเปิดตัว AI สำหรับสืบค้นข้อมูลตลาดงานศิลปะ “อินทูอิทีฟ อาร์ตมาร์เก็ต”

อาร์ตไพรซ์ บาย อาร์ตมาร์เก็ต (Artprice by Artmarket) เตรียมเปิดตัวอัลกอริทึมปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในชื่อ อินทูอิทีฟ อาร์ตมาร์เก็ต(R) (Intuitive Artmarket(R)) อันเป็นเอกสิทธิ์เฉพาะของบริษัท โดยเป็นเครื่องมือสร้างคำแนะนำที่มีความเกี่ยวข้องสูงและเหมาะสมกับแต่ละบุคคล ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเปิดโลกของงานศิลปะและตลาดงานศิลปะได้อย่างไร้ขีดจำกัด

ปัจจุบัน เซอร์เวอร์ กรุ๊ป (Serveur Group) ผู้ถือหุ้นที่มีส่วนร่วมในการก่อตั้งอาร์ตไพรซ์ บาย อาร์ตมาร์เก็ต ยังคงเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ที่สุดโดยมีสิทธิ์ในการลงคะแนนเสียง 45.78% (ไม่รวมตระกูลเออร์มันน์) นอกจากนี้ เซอร์เวอร์ กรุ๊ป ยังเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกอินเทอร์เน็ต กราฟิกคอมพิวเตอร์ การรู้จำแบบ และฐานข้อมูลระดับมืออาชีพในยุโรปมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 (ข้อมูลจากนิตยสารไทม์ ปี 2544) ดังนั้น บริษัทจึงมีวัฒนธรรมทางดิจิทัลและวิทยาศาสตร์ที่หยั่งรากลึกและก้าวหน้าอย่างมาก

รูปภาพ – https://mma.prnewswire.com/media/2072231/Abodeofchaos.jpg

สงวนลิขสิทธิ์ เธียร์รี เออร์มันน์ โดยได้รับความอนุเคราะห์จากพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัย La Demeure du Chaos / Abodeofchaos – Organ Museum of Contemporary Art

ตลอดระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา อาร์ตไพรซ์ บาย อาร์ตมาร์เก็ตดอตคอม (Artprice by Artmarket.com) และเซอร์เวอร์ กรุ๊ป ได้ร่วมกันพัฒนาอัลกอริทึมที่เป็นกรรมสิทธิ์หลายพันรายการที่ทั้งทรงพลังและมีความเกี่ยวข้องกันมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งช่วยให้การประยุกต์ใช้ AI ของตัวเองเป็นไปอย่างเคร่งครัดตามกฎระเบียบที่มีอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลและทรัพย์สินทางปัญญา

วิวัฒนาการนี้เกิดขึ้นได้ด้วยการสนับสนุนของเซอร์เวอร์ กรุ๊ป รวมถึงการที่อาร์ตไพรซ์เข้าซื้อกิจการบริษัทนวัตกรรมต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2542 เช่น ไซโลจิก (Xylogic) บริษัทสัญชาติสวิสที่เกิดจากการรวมตัวของเหล่านักวิทยาศาสตร์ผู้ทรงเกียรติมากมาย (จากองค์การวิจัยนิวเคลียร์ยุโรป หรือ เซิร์น, องค์การอนามัยโลก และอื่น ๆ) เมื่อมองย้อนกลับไปในอดีต ความเคลื่อนไหวนี้ (และอื่น ๆ) เรียกได้ว่ามาก่อนกาลอย่างแท้จริง และได้กลายเป็นรากฐานของเราในการก้าวไปสู่การใช้งาน AI เพื่อส่งเสริมความโปร่งใสและพลวัตของตลาดงานศิลปะ

อีกเรื่องสำคัญที่พึงระลึกไว้ก็คือ อาร์ตไพรซ์ บาย อาร์ตมาร์เก็ต ได้รับรางวัล “บริษัทแห่งนวัตกรรม” (Innovative Company) ที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลฝรั่งเศสสองครั้งติดต่อกัน (ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนักสำหรับบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดที่มีการกำกับดูแล) โดยรางวัลนี้มีการกำหนดคุณสมบัติอย่างเข้มงวด และมอบโดยธนาคารเพื่อการลงทุนภาครัฐของฝรั่งเศส (Banque Publique d’Investissement หรือ bpifrance)

ในส่วนของบริบททางกฎหมายในปัจจุบันนั้น เราตระหนักดีว่านอกเหนือจากกฎหมายเกี่ยวกับระเบียบการคุ้มครองข้อมูลทั่วไป (GDPR) แล้ว กฎหมายปัญญาประดิษฐ์แห่งสหภาพยุโรป (EU AI Act) ที่มีการยื่นเสนอไปแล้ว รวมถึงกฎหมายคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่มีอยู่ทั้งหมด ได้ทำให้การใช้งาน AI ในยุโรป (และอาจจะทั่วโลกไม่นานหลังจากนี้) ต้องเผชิญกับข้อจำกัดมากมาย

ปัญหาใหญ่ที่ต้องเผชิญคือ ทำอย่างไรจึงจะสามารถนำเสนอผลลัพธ์จากการค้นหาด้วย AI โดยไม่ละเมิดสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญา โดยต้องพึงระลึกไว้เสมอว่า ผลลัพธ์จากการค้นหาด้วย AI เป็นผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลอัลกอริทึมของข้อมูลหลายพันล้านรายการที่มีอยู่แล้ว

ปัญหาต่อมาคือการสืบค้นให้แน่ใจว่าใครเป็นเจ้าของข้อมูลเหล่านั้น เพื่อจ่ายค่าสิขสิทธิ์ที่เกี่ยวข้องและนำผลงานไปใช้ในเชิงพาณิชย์อย่างถูกกฎหมาย นอกจากนี้ การกำหนดวิธีการชำระเงินให้สอดคล้องกับกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศนั้น ๆ ก็เป็นอุปสรรค (ไม่น้อย) เช่นเดียวกัน

คุณเธียร์รี เออร์มันน์ (thierry Ehrmann) ผู้ก่อตั้งอาร์ตไพรซ์และซีอีโอของอาร์ตมาร์เก็ตดอตคอม ระบุว่า ความสามารถของอินทูอิทีฟ อาร์ตมาร์เก็ต(R) จะช่วยให้อาร์ตไพรซ์ บาย อาร์ตมาร์เก็ต สามารถนำพาลูกค้าและสมาชิก 7.2 ล้านคนก้าวจาก “การค้นพบไปสู่การเปิดเผยข้อมูล…”

“…อัลกอริทึมของเราสามารถวิเคราะห์ข้อมูลล็อก ข้อความ และงานศิลปะหลายร้อยล้านรายการจากฐานข้อมูลของอาร์ตไพรซ์ โดยสามารถระบุสัญลักษณ์ที่แสดงถึงเอกลักษณ์ทางศิลปะของศิลปิน จักรวาลของศิลปินแต่ละคน แรงบันดาลใจ สื่อที่ใช้ ธีมหลัก รูปลักษณะและปริมาณของานศิลปะ ฯลฯ จากนั้นค้นหาข้อมูลที่สอดคล้องกันภายในฐานข้อมูลของเราที่มีศิลปินมากถึง 810,000 ราย พร้อมชีวประวัติและข้อมูลที่ผ่านการรับรองแล้ว กล่าวคือ ระบบจะทำการเชื่อมโยงข้อมูลด้วยโครงข่ายประสาทเทียมของปัญญาประดิษฐ์ของเรา นั่นคือ อินทูอิทีฟ อาร์ตมาร์เก็ต(R) โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาการจำแนกด้วยตาอีกต่อไป”

โครงข่ายประสาทเทียม (Artificial Neural Network หรือ ANN) เป็นส่วนย่อยของแมชชีนเลิร์นนิง และเป็นหัวใจของอัลกอริทึมการเรียนรู้เชิงลึก โดยชื่อและโครงสร้างได้รับแรงบันดาลใจมาจากสมองของมนุษย์ เนื่องจากมีการเลียนแบบลักษณะที่เซลล์ประสาทและซินแนปส์ (synapse) ส่งสัญญาณถึงกันผ่านใยประสาท (axon)

โครงข่ายประสาทเทียมแบบยิงกระตุ้น (Spiking Neural Network หรือ SNN) ของอาร์ตไพรซ์ บาย อาร์ตมาร์เก็ตดอตคอม อาศัยการป้อนข้อมูลเพื่อสอนให้เรียนรู้และเพิ่มความแม่นยำขึ้นเรื่อย ๆ เมื่ออัลกอริทึมการเรียนรู้เหล่านี้ได้รับการปรับให้มีความแม่นยำสูงแล้ว ก็จะกลายเป็นเครื่องมืออันทรงพลังในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ และอัลกอริทึม AI เหล่านี้จะช่วยให้อินทูอิทีฟ อาร์ตมาร์เก็ต(R) สามารถจัดประเภทและเรียงข้อมูลมัลติมีเดียได้ด้วยความเร็วสูงมาก

ยกตัวอย่างเช่น ผู้ใช้สามารถระบุภาพความละเอียดสูง หรือแม้กระทั่งภาพพิมพ์เก่าแก่ได้ภายในไม่กี่วินาที ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญด้านวิจิตรศิลป์ที่มีชื่อเสียงยังต้องใช้เวลาหลายสิบนาทีในการระบุภาพด้วยตัวเอง

หากมองภาพในมุมกว้างมากขึ้น เราต่างรู้สึกทึ่งที่ได้เห็นการลองผิดลองถูกและการฝ่าฟันอุปสรรคของหนึ่งในโครงข่ายประสาทเทียมที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกอย่างอัลกอริทึมการเสิร์ชของกูเกิล (ซึ่งอาร์ตไพรซ์ได้ทำการศึกษาและวิเคราะห์ต่อเนื่องทุกวันมาตั้งแต่ปี 2542) และนับตั้งแต่ต้นปี 2566 เป็นต้นมา อาร์ตไพรซ์ อิงค์ (Artprice Inc.) ซึ่งเป็นบริษัทสาขาในสหรัฐอเมริกาของอาร์ตมาร์เก็ต ได้เฝ้าติดตามพัฒนาการของ บาร์ด (Bard) ซึ่งเป็นแชตบอตต้นแบบของกูเกิลที่พัฒนาขึ้นด้วยโมเดลภาษา LaMDA โดยคุณซุนดาร์ พิชัย (Sundar Pichai) ซีอีโอของกูเกิล ตระหนักดีถึงโอกาสและความเสี่ยงของโครงการนี้ และมีข่าวว่าได้ประกาศ “สัญญานเตือนภัยสีแดง” ทั่วทั้งบริษัทเกี่ยวกับการพัฒนาครั้งนี้ แต่ไม่ว่าจะเป็นเรื่องจริงหรือไม่ กูเกิลซึ่งครองส่วนแบ่งตลาดโลกมากถึง 93% ก็เป็นห้องทดลองที่ดีที่สุดสำหรับการศึกษา AI เนื่องจากมีมิติทางเศรษฐกิจขนาดมหึมาอยู่แล้ว ซึ่งแตกต่างจาก AI อื่น ๆ ที่ความเสี่ยง (และผลกำไรทางเศรษฐกิจ) ยังมีความไม่แน่นอน

ฝ่ายวิจัยและพัฒนาของอาร์ตไพรซ์ บาย อาร์ตมาร์เก็ต กำลังสร้างโครงข่ายประสาทเทียมแบบยิงกระตุ้น (SNN) ที่สามารถ “พิเคราะห์” ได้แตกต่างจากมนุษย์ โดยปราศจากอคติจากอารมณ์หรือ “ความผิดปกติ” แน่นอนว่าเป้าหมายของเราคือการใช้ปัญญาประดิษฐ์เพื่อช่วยเหลือผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะและตลาดศิลปะ รวมถึงสถาบันศิลปะ นักสะสม และผู้รักงานศิลปะ

ดังนั้น นอกเหนือจากความสามารถทางเทคนิคและวิทยาศาสตร์แล้ว ข้อได้เปรียบที่โดดเด่นของอาร์ตไพรซ์ บาย อาร์ตมาร์เก็ต ก็คือ ความสามารถในการใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่มีมูลค่าเพิ่มสูง ซึ่งบริษัทได้ผลิตและส่งมอบมาตลอด 25 ปีในฐานะผู้นำระดับโลกด้านข้อมูลตลาดงานศิลปะ ความสามารถของเราไม่เพียงรับประกันความสอดคล้องและความเกี่ยวข้องกันของผลลัพธ์เมื่อผู้ใช้ค้นหาเท่านั้น แต่ยังเอาชนะปัญหาด้านลิขสิทธิ์จำนวนมากที่กล่าวถึงข้างต้น เนื่องจากข้อมูลของเราคือข้อมูลของเราอย่างแท้จริง

อาร์ตไพรซ์ บาย อาร์ตมาร์เก็ตดอตคอม เป็นผู้ให้บริการข้อมูลตลาดที่สำคัญที่สุดในตลาดงานศิลปะระดับโลก โดยฝ่ายอาร์ตไพรซ์มีฐานข้อมูลที่ครอบคลุมมากที่สุดเกี่ยวกับราคางานศิลปะและดัชนีตลาดงานศิลปะ ซึ่งประกอบด้วยดัชนีกว่า 30 ล้านรายการ และข้อมูลการซื้อขายผลงานของศิลปินกว่า 810,000 ราย

อาร์ตไพรซ์ อิเมเจส (Artprice Images(R)) เปิดโอกาสให้เข้าถึงคลังข้อมูลตลาดงานศิลปะที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่างไม่จำกัด พร้อมด้วยคอลเลกชันเอกสารและแคตตาล็อกการประมูล ก่อเกิดเป็นห้องสมุดจริงและห้องสมุดดิจิทัลที่ประกอบด้วยภาพถ่าย (หรือภาพพิมพ์) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2243 จนถึงปัจจุบัน รวมมากกว่า 180 ล้านชิ้น ซึ่งทั้งหมดผ่านการตรวจสอบและได้รับความเห็นจากนักประวัติศาสตร์ศิลปะแล้ว ดังนั้น ในภาคส่วนเศรษฐกิจที่เฉพาะเจาะจงนี้ จึงไม่มีบริษัทใดในโลกที่มีข้อมูลคุณภาพและเป็นเอกสิทธิ์มากเท่านี้ โดยมีเอกสารต้นฉบับเป็นทรัพย์สินที่มีความสำคัญยิ่งและทรงคุณค่าอย่างยากที่จะหาใครเทียบได้

นอกจากนี้ อาร์ตมาร์เก็ตและฝ่ายอาร์ตไพรซ์ยังปรับปรุงฐานข้อมูลอย่างสม่ำเสมอโดยใช้ข้อมูลจากบริษัทประมูล 6,500 แห่ง รวมทั้งเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับแนวโน้มตลาดงานศิลปะให้แก่สื่อและเอเจนซี่ด้านสื่อทั่วโลกราว 7,200 แห่ง ซึ่งแหล่งข้อมูลที่เป็นปัจจุบันและมีความต่อเนื่องไม่สิ้นสุดนี้จะช่วยสร้างความมั่นใจว่า อินทูอิทีฟ อาร์ตมาร์เก็ต(R) จะนำหน้าคู่แข่งไปไกลอย่างแน่นอน

ปัจจุบัน มีบริษัทเพียงไม่กี่แห่งในโลกที่สามารถกล่าวได้ว่าใช้ AI ที่เป็นเอกสิทธิ์ของตนเอง ซึ่งถือเป็นวิธีเดียวในการปฏิบัติตามกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาที่แตกต่างกันในไปในแต่ละประเทศทั่วโลก ซึ่งนับวันจะยิ่งกว้างขวางและซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ และมาพร้อมกับกระบวนการทางกฎหมายอันยุ่งยากที่กินเวลานานหลายปี

อาร์ตไพรซ์ บาย อาร์ตมาร์เก็ต ได้ลงทะเบียนทดสอบเบตากับไมโครซอฟท์ (Microsoft(R)) เพื่อทดลองใช้งานเสิร์ชเอนจิ้น บิง (Bing(R)) ที่ใช้ AI ชื่อว่า จีพีที-4 (GPT-4) ซึ่งสามารถค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตได้ ต่างจากแชตจีพีที (ChatGPT) (แบบไม่รวมปลั๊กอิน) ที่มีฐานข้อมูลจำกัดถึงแค่ปี 2564 เท่านั้น

ความเป็นไปได้ที่นำเสนอโดยเครื่องมือนี้มีมากมายมหาศาล ทำให้เป็นที่นิยมอย่างมาก โดยในขณะนี้ ไมโครซอฟท์ บิง แชต (Microsoft(R) Bing Chat) ดึงดูดผู้ใช้งานมากกว่า 100 ล้านคนต่อวัน ที่สำคัญคือมาพร้อมกับพันธสัญญา “AI ที่มีความรับผิดชอบ” ด้วยการเคารพลิขสิทธิ์และสิทธิ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ข้อเท็จจริงที่ว่าไมโครซอฟท์เพิ่งเปิดรับสมาชิกแบบชำระเงิน 240 ดอลลาร์ต่อปีสำหรับใช้งานเครื่องมือ AI ของบริษัท เป็นการยืนยันถึงความเป็นไปได้ของโมเดลเศรษฐกิจนี้สำหรับอาร์ตไพรซ์และอินทูอิทีฟ อาร์ตมาร์เก็ต(R) ซึ่งเป็น AI ของบริษัทเอง

หลังจากทำการทดสอบเบตาด้วยการค้นหาข้อมูลหลายพันครั้งโดยใช้คำที่เกี่ยวข้องกับศิลปินและตลาดงานศิลปะ อาร์ตไพรซ์ บาย อาร์ตมาร์เก็ต ได้สังเกตเห็นว่าคำตอบที่ได้รับจากจีพีที-4 ของบิงนั้น มักอ้างอิงลิงก์จากอาร์ตไพรซ์ดอตคอมและอาร์ตมาร์เก็ตดอตคอมเป็นแหล่งที่มาของข้อมูล ทั้งนี้ บิงของไมโครซอฟท์ทำงานร่วมกับโอเพนเอไอ (OpenAI) เพื่อมอบประสบการณ์ที่ส่งเสริมการใช้งานอย่างมีความรับผิดชอบ

เราได้เห็นกันแล้วว่า การพัฒนาและการใช้งาน “AI ที่มีความรับผิดชอบ” กำลังเป็นหนึ่งในข้อกังวลหลักของกลุ่มประเทศ G7 (ประกาศเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2566) เช่นเดียวกับการบังคับใช้ “กฎระเบียบโลก” ว่าด้วย AI ภายในกรอบเวลาที่สั้นที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ในส่วนของกฎหมายลิขสิทธิ์เกี่ยวกับ AI นั้น คุณมาร์เกรเธ เวสทาเกอร์ (Margrethe Vestager) กรรมาธิการด้านการแข่งขันของสหภาพยุโรป กล่าวว่า สหภาพยุโรป “ควรบรรลุข้อตกลงทางการเมืองโดยเร็วที่สุดภายในปีนี้” (สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2566) ซึ่งถือว่าเป็นผลดีอย่างมากต่ออาร์ตมาร์เก็ตดอตคอม

นอกจากนี้ เรายังได้เห็นปฏิกิริยาของรัฐบาลอิตาลีที่มีต่อแชตจีพีที ซึ่งเป็นสิ่งต้องห้ามอย่างเข้มงวดในอิตาลี โดยแสดงให้เห็นถึงอุปสรรคอีกประการหนึ่งที่นักพัฒนา AI ต้องเผชิญ ไม่ว่าจะมีอำนาจทางการเงินหรือความสามารถในการล็อบบีมากแค่ไหนก็ตาม

ความจริงแล้ว ในโลกของ AI นั้น ความขัดแย้งเรื่องทรัพย์สินทางปัญญามีโอกาสเกิดขึ้นสูงมาก ยกตัวอย่างเช่น สเตบิลิตี เอไอ (Stability AI) ผู้สร้างปัญญาประดิษฐ์สังเคราะห์ภาพจากการป้อนข้อความ ซึ่งกำลังถูกฟ้องร้องข้อหาดึงภาพหลายล้านภาพจากฐานข้อมูลของเกตตี อิเมเจส (Getty Images) ไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

อย่างไรก็ดี AI ของอาร์ตมาร์เก็ต นั่นคือ อินทูอิทีฟ อาร์ตมาร์เก็ต(R) ทำงานเฉพาะในขอบเขตของคอนเทนต์ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทเท่านั้น ดังนั้นจึงได้รับการคุ้มครองภายใต้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา โดยคอนเทนต์ที่เป็นกรรมสิทธิ์เหล่านี้เป็นเหมืองข้อมูลที่แทบจะไม่มีที่สิ้นสุดซึ่งสร้างขึ้นตลอด 3 ทศวรรษที่ผ่านมา และครอบคลุมกิจกรรมในตลาดศิลปะมากกว่า 4 ศตวรรษ ผลที่ได้คืออุปสรรคที่กล่าวถึงข้างต้นและข้อห้ามที่อาจเกิดขึ้นไม่อาจทำอะไรเราได้ เพราะเราไม่จำเป็นต้องค้นหาข้อมูลหรือคำตอบจากที่อื่น เมื่อคนทำงานหรือคนรักงานศิลปะและ/หรือตลาดศิลปะ ทำการค้นหาข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงอย่างมาก

ดังนั้น ข้อเท็จจริงนี้จึงไม่ใช่แค่รับประกันความยั่งยืนของโมเดลเศรษฐกิจของอาร์ตไพรซ์ บาย อาร์ตมาร์เก็ตเท่านั้น แต่ยังรับประกันความอุ่นใจของผู้ถือหุ้นของเรา และรับประกันการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญในอนาคตของธุรกิจของอาร์ตไพรซ์ บาย อาร์ตมาร์เก็ตดอตคอม ด้วยผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

การใช้เทคโนโลยี AI จะช่วยเพิ่มรายได้ของอาร์ตมาร์เก็ตดอตคอมและลดต้นทุนการดำเนินงานในท้ายที่สุด โดยอินทูอิทีฟ อาร์ตมาร์เก็ต(R) จะให้คำแนะนำที่เกี่ยวข้องและเฉพาะเจาะจงอย่างแท้จริงสำหรับลูกค้าแต่ละรายในตลาดศิลปะ ช่วยให้สามารถเพิ่มพูนความรู้ที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นเกี่ยวกับตลาดงานศิลปะ และโดยพฤตินัยแล้ว จะทำให้เกิดการสมัครรับข้อมูลที่ซับซ้อนมากขึ้น ส่งผลให้อาร์ตมาร์เก็ตดอตคอมมีรายรับที่เกิดขึ้นซ้ำต่อปีเพิ่มมากขึ้น

อินทูอิทีฟ อาร์ตมาร์เก็ต(R) จะให้คำตอบอย่างแม่นยำและรวดเร็วเมื่อผู้ใช้ค้นหาข้อมูล จึงช่วยประหยัดเวลาและลดการใช้พลังงาน ซึ่งสอดคล้องกับหลักปรัชญาความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของอาร์ตมาร์เก็ต โดยโซลูชันด้านพลังงานที่เชื่อถือได้ อ้างอิงหลักวิทยาศาสตร์ และมีความยั่งยืนของอาร์ตไพรซ์ บาย อาร์ตมาร์เก็ตนั้น ได้แสดงผลสำเร็จให้เป็นที่ประจักษ์แล้วในรายงานความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ของเรา ซึ่งเป็นสักขีพยานถึงผลกระทบเชิงบวกอย่างมหาศาลที่มีต่อระบบนิเวศ

ยุโรปเป็นผู้นำด้านกฎหมายดิจิทัล และกำลังร่าง “กฎหมายปัญญาประดิษฐ์” ซึ่งอาร์ตไพรซ์ บาย อาร์ตมาร์เก็ต กำลังมีส่วนร่วมในกระบวนการดังกล่าวด้วยการทำงานร่วมกับนักกฎหมายและที่ปรึกษา โดยกฎหมายนี้มีจุดมุ่งหมายในการกำหนดข้อบังคับโดยคำนึงถึงการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ลิขสิทธิ์ และการอ้างอิงแหล่งที่มาอย่างละเอียดถี่ถ้วน

บรรดานักวิเคราะห์การเงินชาวแองโกล-แซกซอน (Anglo-Saxon) ซึ่งนำหน้ายุโรปในด้านนี้อยู่หนึ่งก้าว ระบุว่า โมเดลเศรษฐกิจเพียงรูปแบบเดียวที่ไม่ทำให้หน่วยเศรษฐกิจ (ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่) ต้องวุ่นวายอยู่กับกระบวนการทางกฎหมายแบบไม่จบไม่สิ้น คือโมเดลเศรษฐกิจอิง AI ซึ่งข้อมูลมีบทบาทสำคัญ และแต่ละหน่วยเศรษฐกิจครอบครองทรัพย์สินทางปัญญาเต็มรูปแบบในส่วนบิ๊กดาต้าทั้งหมด (รวมถึงการทำเหมืองข้อมูล) และสามารถยืนยันความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์และสิทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลนั้นในทุกอัลกอริทึม ฐานข้อมูล แมชชีนเลิร์นนิง และโครงข่ายประสาทเทียม

กล่าวโดยสรุปคือ AI จะมีประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาลโดยไม่มีความเสี่ยงทางอุตสาหกรรมหรือกฎหมายที่น่าหนักใจ เมื่อหน่วยเศรษฐกิจเป็นเจ้าของสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเต็มรูปแบบในทุกขั้นตอนของ AI ในตลาดที่ข้อมูลมูลค่าเพิ่มที่มีต้นทุนสูงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งเป็นกรณีเดียวกับอินทูอิทีฟ อาร์ตมาร์เก็ต(R) ที่พัฒนาโดยอาร์ตไพรซ์ บาย อาร์ตมาร์เก็ตดอตคอม

ปัจจุบัน นักวิจัยจำนวนมากกำลังพยายามค้นหาว่า AI มีต้นกำเนิดมาจากไหน

ในบรรดาคำตอบที่เป็นไปได้มากมายสำหรับข้อสงสัยนี้ อาร์ตไพรซ์รู้สึกทึ่งกับบทความหนึ่งที่ปรากฏบนเว็บไซต์ “เดอะ คอนเวอร์เซชัน” (The Conversation) ซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมบทความที่มีความเข้มข้นทางวิชาการและความสามารถในการเขียน โดยบทความดังกล่าวมีชื่อว่า “เบลส ปาสคาล และจุดเริ่มต้นของปัญญาประดิษฐ์” (Blaise Pascal and the beginnings of artificial intelligence) ซึ่งให้คำตอบที่สมเหตุสมผลว่า เบลส ปาสคาล (พ.ศ. 2166-2205) เป็นผู้คิดค้นสองนวัตกรรมสำคัญที่ทำให้ปัญญาประดิษฐ์ในปัจจุบันเป็นความจริงขึ้นมาได้ โดยเขาได้พัฒนาเครื่องคิดเลขเชิงกลเครื่องแรกในประวัติศาสตร์ และเขาได้พัฒนาพื้นฐานแรกของการคำนวณความน่าจะเป็น

คุณเธียร์รี เออร์มันน์ (ดูชีวประวัติได้ที่ Who’s Who In France: https://imgpublic.artprice.com/img/wp/sites/11/2023/04/2023_2_Biographie-thierry-Ehrmann_WhosWhoInFrance.pdf) ผู้ก่อตั้งอาร์ตไพรซ์และซีอีโอของอาร์ตมาร์เก็ต เปิดเผยแนวคิดเกี่ยวกับ AI ที่เรียบง่ายมาก นั่นคือ “ไม่มีปัญญาประดิษฐ์ หากปราศจากปัญญาของมนุษย์”

รูปภาพ: https://imgpublic.artprice.com/img/wp/sites/11/2023/05/AbodeofChaos-thierry-Ehrmann-IMG-3606.jpg

สงวนลิขสิทธิ์ 2530-256 6 เธียร์รี เออร์มันน์ www.artprice.com – www.artmarket.com

อย่าลังเลที่จะติดต่อฝ่ายเศรษฐมิติของเรา เพื่อขอข้อมูลเกี่ยวกับสถิติและการศึกษาวิจัยส่วนตัว: econometrics@artprice.com
ทดลองบริการของเรา (ฟรี): https://www.artprice.com/demo
สมัครสมาชิกบริการของเรา: https://www.artprice.com/subscription
เกี่ยวกับอาร์ตมาร์เก็ต

อาร์ตมาร์เก็ตดอตคอม ( Artmarket.com) มีชื่ออยู่ใน Eurolist โดย Euronext Paris, SRD long only และ Euroclear: 7478 – Bloomberg: PRC – Reuters: ARTF

สำรวจอาร์ตมาร์เก็ตและฝ่ายอาร์ตไพรซ์ผ่านวิดีโอ: www.artprice.com/video

อาร์ตมาร์เก็ตและฝ่ายอาร์ตไพรซ์ก่อตั้งขึ้นในปี 2540 โดยซีอีโอ เธียร์รี เออร์มันน์ อาร์ตมาร์เก็ตและฝ่ายอาร์ตไพรซ์ได้รับการกำกับดูแลโดยกรุ๊ป เซอร์เวอร์ (Groupe Serveur) ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2530

ดูชีวประวัติที่ผ่านการรับรองใน Who’s who(C):
Biographie-thierry-Ehrmann_WhosWhoInFrance.pdf

อาร์ตมาร์เก็ตเป็นผู้นำระดับโลกในตลาดงานศิลปะ โดยหนึ่งในโครงสร้างขององค์กรคือฝ่ายอาร์ตไพรซ์ ซึ่งเป็นผู้นำระดับโลกในการสะสม การจัดการ และการแสวงหาประโยชน์จากข้อมูลตลาดงานศิลปะทั้งในประวัติศาสตร์และปัจจุบันในคลังข้อมูลที่ประกอบด้วยดัชนีและผลการประมูลกว่า 30 ล้านรายการ ครอบคลุมศิลปินกว่า 803,000 ราย

อาร์ตไพรซ์ บาย อาร์ตมาร์เก็ต ซึ่งเป็นผู้นำระดับโลกด้านข้อมูลตลาดงานศิลปะ ตั้งเป้าหมายที่ทะเยอทะยานให้ตัวเองผ่านตลาดที่เป็นมาตรฐานระดับโลก เพื่อที่จะเป็นแพลตฟอร์ม NFT งานวิจิตรศิลป์ชั้นนำของโลก

อาร์ตไพรซ์ อิเมเจส (Artprice Images(R)) ช่วยให้เข้าถึงคลังภาพตลาดงานศิลปะที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีภาพดิจิทัลไม่น้อยกว่า 180 ล้านรายการจากภาพถ่ายหรือภาพพิมพ์จากผลงานศิลปะตั้งแต่ปี พ.ศ. 2243 จนถึงปัจจุบัน พร้อมความเห็นจากนักประวัติศาสตร์งานศิลปะของเรา

อาร์ตมาร์เก็ตและฝ่ายอาร์ตไพรซ์สะสมข้อมูลถาวรจากบริษัทประมูล 7,200 แห่ง และสร้างข้อมูลตลาดงานศิลปะที่สำคัญสำหรับสื่อและเอเจนซี่ด้านสื่อมากมาย (สิ่งพิมพ์เผยแพร่ 7,200 ชิ้น) โดยผู้ใช้ 7.2 ล้านราย (สมาชิกเข้าสู่ระบบ + โซเชียลมีเดีย) เข้าถึงโฆษณาที่โพสต์โดยสมาชิกอื่น ๆ เกิดเป็นเครือข่ายที่ปัจจุบันนับเป็นตลาดมาตรฐานระดับโลก Global Standardized Marketplace(R) ในการซื้อและขายงานศิลปะด้วยราคาคงที่หรือราคาประมูล (กำกับดูแลการประมูลตามวรรคที่ 2 และ 3 ของมาตรา L 321.3 ของประมวลกฎหมายแพ่งแห่งฝรั่งเศส)

อาร์ตมาร์เก็ตและฝ่ายอาร์ตไพรซ์ได้รับรางวัล “บริษัทแห่งนวัตกรรม” โดยธนาคารเพื่อการลงทุนภาครัฐของฝรั่งเศสถึงสองครั้ง ซึ่งเป็นรางวัลที่สนับสนุนบริษัทที่ดำเนินโครงการเพื่อก้าวขึ้นเป็นผู้นำระดับโลกในตลาดงานศิลปะ

รายงานตลาดงานศิลปะโลกของอาร์ตไพรซ์ บาย อาร์ตมาร์เก็ต “ตลาดงานศิลปะในปี 2565” เผยแพร่ในเดือนมีนาคม 2566:
https://www.artprice.com/artprice-reports/the-art-market-in-2022

อาร์ตไพรซ์เผยแพร่รายงานตลาดงานศิลปะร่วมสมัยพิเศษปี 2565:
https://www.artprice.com/artprice-reports/the-contemporary-art-market-report-2022

รายงานครึ่งปี 2565 ของอาร์ตไพรซ์: ตลาดงานศิลป์ทางฝั่งตะวันตกกลับมาเติบโตดีอีกครั้ง:
https://www.artprice.com/artprice-reports/global-art-market-in-h1-2022-by-artprice-com

ดัชนีข่าวประชาสัมพันธ์ที่โพสต์โดยอาร์ตมาร์เก็ตและฝ่ายอาร์ตไพรซ์:
https://serveur.serveur.com/artmarket/press-release/en/

ติดตามข่าวสารตลาดงานศิลปะทั้งหมดแบบเรียลไทม์กับอาร์ตมาร์เก็ตและฝ่ายอาร์ตไพรซ์ทางเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์:

www.facebook.com/artpricedotcom/ (ผู้ติดตามมากกว่า 6.2 ล้านคน)

twitter.com/artmarketdotcom

twitter.com/artpricedotcom

สำรวจการเล่นแร่แปรธาตุและจักรวาลของอาร์ตมาร์เก็ตและฝ่ายอาร์ตไพรซ์ได้ที่ https://www.artprice.com/video ทั้งนี้ อาร์ตมาร์เก็ตมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยชื่อดัง Organe Contemporary Art Museum “The Abode of Chaos” (คำนิยมจากเดอะนิวยอร์กไทมส์): https://issuu.com/demeureduchaos/docs/demeureduchaos-abodeofchaos-opus-ix-1999-2013

L’Obs – The Museum of the Future: https://youtu.be/29LXBPJrs-o
www.facebook.com/la.demeure.du.chaos.theabodeofchaos999 (ผู้ติดตามมากกว่า 4 ล้านคน)

ติดต่ออาร์ตมาร์เก็ตดอตคอมและฝ่ายอาร์ตไพรซ์: เธียร์รี เออร์มันน์ อีเมล: ir@artmarket.com

โลโก้ – https://mma.prnewswire.com/media/1009603/Art_Market_logo.jpg

Exit mobile version