รีวิวการ์ดจอ Sapphire R9 270X Dual-X : Radeon R9 270X series ในราคาเบาๆ

SapphireR9_270x_5

ผมมีการ์ดจอ (VGA Card) ตัวนึงมารีวิวให้ชม นั้นคือ Sapphire R9 270X Dual-X ราคาขายอยู่ที่ 4,980 บาทเท่านั้น เป็นการ์ดจอ R9 270X series ในราคาย่อมเยา โดย SAPPHIREได้ผลิตการ์ดจอตระกูลล่าสุด R9 270X สำหรับเกเมอร์ที่มีงบจำกัด กำลังทรัพย์ไม่ถึงรุ่นเทพๆ ก็เลยออกรุ่นเล็กมาให้จับจองกัน

โดย R9 270X series เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการเล่นเกมส์ ที่ตั้งค่าแบบ maximum สามารถเล่นได้ที่ความละเอียด 1080p รองรับ DirectX 11.2 (รองรับ DirectX 12 บน Windows 10 ด้วย) และคุณสมบัติต่างๆในการเพิ่มประสิทธิภาพเกมส์ ตัวการ์ดมี 1280 stream processor และ หน่วยความจำ GDDR5 ขนาด 2GB ให้ประสิทธิภาพสูงแม้จะปรับทุกอย่าง max และเหนือกว่าการ์ดยี่ห้ออื่นในระดับราคาเดียวกัน

R9 270X ที่อยู่ในกราฟิกการ์ด Sapphire R9 270X Dual-X ใช้สถาปัตยกรรม GCN จาก AMD สามารถใช้ร่วมกับจอภาพหลายจอโดยใช้คุณสมบัติ AMD Eyefinity รองรับการแสดงผลแบบ Stereoscopic ด้วย AMD HD3D และยังสามารถใช้กราฟิกการ์ดสองตัวช่วยกันประมวลผลในลักษณะของ CrossFire เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและการเล่นเกมได้อีกด้วย นับว่ารุ่นนี้ให้ประสิทธิภาพ ราคา คุ้มค่าที่สุดเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์อื่นๆในระดับเดียวกัน

ข้อมูล Sapphire R9 270X Dual-X

Model
R9 270X DUAL-X
GPU
1020 (Boost:1070) MHz Core Clock
28 nm Chip
1280 x Stream Processors
Memory Size (MB)
2048 MB Size
Memory Type
GDDR5
Memory Interface (bit)
256 -bit
HDMI
1 Port
DVI
1 x Dual-Link DVI-D
1 x Dual-Link DVI-I
Card Dimension
228(L)X109(W)X35(H) mm
Display Port
1 Port

ตัวการ์ดทำด้วยพลาสติก ดีไซน์เรียบๆ ออกโทนเทา-ดำ ใช้พัดลมระบายความร้อน 2 ตัว Dual-X ช่วยให้การระบายความร้อนได้ดีขึ้น เวลาใช้งานหนักๆ ทำให้การ์ดจอไม่ร้อนจนเกินไป แน่นอนว่าจะระบายความร้อนได้ดีกว่าการ์ดจอที่ใช้พัดลมตัวเดียว

SapphireR9_270x_1

ท่อฮีทไปป์สำหรับระบายความร้อนภายในทำด้วยทองแดง ทำให้กระจายความร้อนได้ดีขึ้น ระบายความร้อนได้เร็วกว่าวัสดุอื่นๆ

SapphireR9_270x_8

ตัวการ์ดจอจะกินพื้นที่ 2 ช่อง เหมือนกับการ์ดจอสเปกสูงหลายๆ ตัว ความยาวของตัวการ์ดจอสามารถใส่กับเคสทั่วไปได้ ไม่จำเป็นต้องใช้เคสแบบยาวกว่าผกติ แต่ถ้าจะให้ดีควรเลือกเคสทีมีพื้นที่เยอะหน่อย เพื่อที่จะช่วยให้การระบายความร้อนทำได้ดีขึ้น

SapphireR9_270x_2

รุ่นนี้ต้องต่อไฟเพิ่ม ใช้ไฟขนาด 6 Pin จำนวน 2 ช่อง ในกล่องมีแถมสายไฟมาให้ 2 เส้น เผื่อ PSU ของใครสายไม่พอก็สามารถเอามาต่อเพิ่มได้

SapphireR9_270x_6

ตัวการ์ดระประกัน 3 ปี เงื่อนไขการรับประกันก็เหมือนกับการ์ดจอทั่วไปทุกประการ

SapphireR9_270x_7

เทียบขนาดระหว่าง Sapphire R9 270X Dual-X กับ Gigabyte R9 270X OC จะเห็นได้ว่าฝั่ง Gigabyteขนาดใหญ่กว่า ยาวกว่า ทั้งนี้ราคาของทั้ง 2 ตัวก็ต่างกันด้วยครับ อีกทั้ง Gigabyte ใช้พัดลมระบายความร้อน 3 ตัว

SapphireR9_270x_14

ตัวบอร์ดของการ์ดจอระหว่าง Sapphire R9 270X Dual-X กับ Gigabyte R9 270X OC ขนาดของ Gigabyte ก็ใหญ่กว่าเล็กน้อย

SapphireR9_270x_13

เมื่อประกอบเข้ากับแมนบอร์ด ในกรณีที่เคสใหญ๋แบบของผมจะเหลือพื้นที่พอสมควร (แต่ถ้าใส่ Gigabyte R9 270X OC การ์ดจอจะเลยแมนบอร์ดออกไปนิดหน่อย)

SapphireR9_270x_15

หลังประกอบเข้ากับแมนบอร์ดอย่าลืมเชื่อมต่อไฟเพิ่มเข้าไปนะครับ ไม่งั้นการ์ดจอจะทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ และที่สำคัญอย่าลืมเช็คว่า PSU ของเราจ่ายไฟล์เพียงพอไหม

SapphireR9_270x_17

ด้านล่างของการ์ดจอ

SapphireR9_270x_16

ผลทดสอบประสิทธิภาพ Sapphire R9 270X Dual-X

2015-08-02_20-41-25

2015-08-02_20-41-12