การจัดอันดับมหาวิทยาลัยทั่วโลกตามสาขาวิชา QS World University Rankings by Subject ประจำปี 2568

เผยรายชื่อมหาวิทยาลัยชั้นนำใน 55 สาขาวิชา

ลอนดอน, 12 มีนาคม 2568 /PRNewswire/ — ผู้เชี่ยวชาญด้านการอุดมศึกษา QS Quacquarelli Symonds เผยผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยทั่วโลกตามสาขาวิชา QS World University Rankings by Subject ครั้งที่ 15 โดยเปรียบเทียบหลักสูตรวิชาการกว่า 21,000 รายการ ซึ่งนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยกว่า 1,700 แห่ง ใน 100 ประเทศและดินแดน ศึกษาใน 55 สาขาวิชา และ 5 กลุ่มคณะสาขาวิชาหลัก

รองประธานอาวุโสของ QS คุณ Ben Sowter กล่าวว่า “ท่ามกลางความท้าทายที่เพิ่มขึ้นในด้านงบประมาณในระบบอุดมศึกษาที่อิ่มตัว การสนับสนุนภาคการอุดมศึกษาถือเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนนวัตกรรมและความก้าวหน้าทางสังคม การจัดอันดับสาขาวิชาครั้งใหญ่ที่สุดของเรานี้เผยให้เห็นว่าตลาดเกิดใหม่ โดยเฉพาะในเอเชียและตะวันออกกลาง กำลังเติบโตขึ้น ในขณะที่มหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย และแคนาดาเผชิญกับแรงกดดันทางการเงินที่เพิ่มขึ้น”

การวิเคราะห์เผยให้เห็นพัฒนาการในสาขาอุตสาหกรรมแห่งอนาคต โดยมีผู้เข้าสู่รายชื่อใหม่ 34 รายใน 100 อันดับแรกของสาขาวิทยาการข้อมูลและ AI อีกทั้งยังมีการเปลี่ยนแปลง 45 อันดับใน 50 อันดับแรกของสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ และจีนมีสถาบันที่ติด 10 อันดับแรกในกลุ่มคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นครั้งแรก นอกจากนี้ ยังมีประเทศและดินแดนใหม่ 8 แห่งปรากฏในอันดับ โดยมี 171 สถาบันที่ติดอันดับเป็นครั้งแรก และ 14 มหาวิทยาลัยที่ก้าวขึ้นสู่ 10 อันดับแรกในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง

ไฮไลท์ระดับโลก

•  สหรัฐอเมริกานำด้วย 3,245 รายชื่อมหาวิทยาลัยที่ติดอันดับ และครองอันดับหนึ่งใน 32 จาก 55 สาขาวิชา โดย Harvard เป็นอันดับหนึ่งใน 19 สาขา และ MIT ใน 12 สาขา

•  สหราชอาณาจักรมี 1,883 รายชื่อ และครองอันดับหนึ่งใน 18 สาขาวิชา โดยมหาวิทยาลัย Cambridge ได้อันดับหนึ่งใน 4 สาขา และ Oxford 3 สาขา เท่ากันกับ ETH Zurich

•  จีนแผ่นดินใหญ่เป็นผู้นำด้านจำนวนผู้ติดอันดับรายใหม่ มหาวิทยาลัย Peking และมหาวิทยาลัย Tsinghua ติด 3 อันดับแรกในสองสาขาวิชาต่อมหาวิทยาลัย ขณะที่ 7 ใน 10 มหาวิทยาลัยที่พัฒนาอันดับขึ้นมากที่สุดในโลกเป็นของจีน

•  ในออสเตรเลีย มหาวิทยาลัย Melbourne และ Sydney ติด 100 อันดับแรกของโลกใน 52 จาก 55 สาขา ซึ่งเป็นจำนวนสูงสุดในโลก

•  สวิตเซอร์แลนด์ครองอันดับสามของโลกในแง่ของจำนวนสาขาที่ติดอันดับหนึ่ง โดย ETH Zurich เป็นมหาวิทยาลัยที่มีอันดับหนึ่งมากที่สุดเป็นอันดับสี่ของโลก

•  ฮ่องกงเป็นภูมิภาคที่พัฒนาอันดับมากที่สุด โดย 68% ของ 231 รายชื่อมหาวิทยาลัยในสาขาต่าง ๆ มีอันดับสูงขึ้น ขณะที่ 6% ลดลง และ 15% คงที่

•  สิงคโปร์ยังคงโดดเด่น โดย 30% ของมหาวิทยาลัยที่อยู่ในรายชื่อติด 10 อันดับแรก ซึ่งเป็นอัตราส่วนสูงสุดของโลก

•  KFUPM ยังคงเป็นมหาวิทยาลัยที่มีอันดับดีที่สุดในภูมิภาคอาหรับ โดยอยู่ในอันดับ 5 ของสาขาวิศวกรรมปิโตรเลียม

•  บราซิลเป็นผู้นำในลาตินอเมริกา โดยมี 333 รายชื่อจาก 31 มหาวิทยาลัย นำโดย Universidade de São Paulo ซึ่งอยู่ในอันดับ 9 ของสาขาวิศวกรรมปิโตรเลียม และอันดับ 13 ของสาขาทันตแพทยศาสตร์

•  มี 12 รายชื่อจาก 9 สถาบันของอินเดียที่ติด 50 อันดับแรก นำโดยสาขาวิศวกรรมเหมืองแร่ ที่ Indian School of Mines University ในเมืองธนพาท ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 20

•  มหาวิทยาลัยในแคนาดาโดดเด่นด้านวิศวกรรมศาสตร์และชีววิทยาศาสตร์ โดยมหาวิทยาลัย Toronto ติด 50 อันดับแรกของโลกใน 46 สาขาวิชา ซึ่งเป็นจำนวนสูงสุดของโลก

ระเบียบวิธีการ 

โลโก้ – https://mma.prnasia.com/media2/2429773/QS_Quacquarelli_Symonds_Logo.jpg?p=medium600 

 

View original content to download multimedia: Read More