รีวิวโน้ตบุ๊ค Asus X550Z (A10 -7400P) ชิป AMD FX-7400P

Asus_00

ผมมี Notebook จากค่าย Asus มารีวิวให้ชมครับ ชื่อรุ่นว่า Asus X550Z A10 -7400P เรียกสั้นๆ ว่า Asus X550Z เป็น Notebook รุ่นกลางๆที่มาพร้อมกับหน่วยประมวลตัวล่าสุดของ AMD อย่าง AMD FX-7400P  ทำงานที่ความเร็ว 2.7GHz เร่งได้สูงสุด 3.6GHz เป็นแบบ 4 Core (Quad-core) มีแคช 4MB นอกจากนั้นภายในประกอบด้วยกราฟฟิกการ์ด AMD Radeon R5 M230 + Radeon R7 M265 DX Dual Graphics Ram :  2GB DDR3 VRAM

Asus X550Z หน้าจอขนาด 15.6″ อัตราส่วนของภาพอยู่ที่ 16:9 ความละเอียด 1366×768 พิกเซล หน้าจอขนาดใหญ่เหมาะกับการดูหนัง เล่นเกมส์ ไม่เหมาะกับการพกพา เพราะน้ำหนักที่หนักเอาการอยู่ 2.3 กิโลกรัม หากน้ำหนักรวมที่ชาร์จก็เกือบๆ 3 กิโลกรัม (2.74 กิโลกรัม) ซึ่งน้ำหนักก็ไม่ได้แตกต่างจาก Notebook 15 นิ้วทั่วไป ส่วนขนาดของรุ่นนี้จะแตกต่างจาก Notebook รุ่นอื่นพอสมควร

Asus_9

Asus X550Z มาพร้อมกับคียบอร์ดแบบ Full Size มี Numeric keypad เหมือนกับคียบอร์ดคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถพิมพ์ตัวเลขได้สะดวกกว่าการพิมพ์ใน Notebook ทั่วไป แต่ก็แลกมาด้วยขนาดที่ใหญ่ขึ้น

Asus_6

คียอบร์ดทำออกมาได้ดีพอสมควร ดีกว่าหลายๆ รุ่นในราคารพดับเดียวกัน พิมพ์ง่าย ไม่ต้องออกแรงกดเยอะ ตอบสนองได้เร็ว มีปุ่มฟังก์ชั่นต่างๆ มาให้ใช้งานตามมาตรฐาน Notebook ทั่วไป

Asus_3

Touchpad ยังไม่ลื่นเท่าที่ควร ยิ่งเคยใช้ Macbook มาก่อนจะรู้สึกถึงความแตกต่างอย่างชัดเจน ถึงแม้จะรองรับการทำงานแบบ multi-point บวกรองรับ Smart Gesture แต่ก็ยังทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร หากให้แนะนำ ใช้งานแบบต่อเมาส์สะดวกกว่าครับ

Asus_4

ดีไซน์ของรุ่นนี้ทำออกมาให้ดูเหมือนเป็นโลหะ พยายามใส่เท็กเจอร์เข้ามาทุกส่วนทุกมุม ทำให้ดูแตกต่างจาก Notebook รุ่นทั่วไป มีความเรียบๆ แต่สวยหรู โทนสีเน้่นไปทางสีเทา เพราะะทำให้ตัวเครื่องคล้ายกับวัสดุที่เป็นโลหะมาก

Asus_12

ความน่าสนใจของรุ่นนี้คือรับประกันานถึง 24 เดือน

Asus_001

มาพร้อมกับชิปตระกูล AMD FX-7600P ข้างในประกอบด้วยการ์ดจอ AMD Radeon R5 M230 + Radeon R7 M265 DX Dual Graphics มีสติ๊กเกอร์แปะไว้ที่ตัวเครื่อง

Asus_16

ปุ่มเปิดเครื่องอยู่มุมซ้ายมือ การบูตเครื่องทำได้เร็วพอสมควร ความเร็วไม่หนีจาก Notebook ที่ใช้ฮาร์ดดิสด้วยกัน แต่อย่าเทียบกับ SSD เพราะสู้ไม่ได้อยู่แล้ว หากอยากให้เร็วขึ้นแนะนำให้เปลี่ยนฮาร์ดดิสเป็น SSD (แต่ก็ต้องเพิ่มเงินอีกหลายพัน)

Asus_5

ไฟสถานะแจ้งเตนือต่างๆ

Asus_1

ด้านซ้ายมีช่องต่อ USB 3.0 มีให้ 2 ช่อง นอกจากนั้นยังมี HDMI, VGA, LAN และช่องต่อหูฟังลำโพง ขนาด 3.5 มม.

Asus_7

ด้านขวามรช่องต่อ USB 2.0 อีก 1 ช่อง ตามด้วย DVD และช่องต่อสายชาร์จ นอกจากการเชื่อมต่อแบบสายปกติ ยังรองรับการเชื่อมต่อไร้สาย  WiFi 802.11 b/g/n และ Bluetoot 4.0 อีกด้วย

Asus_8

ด้านล่างของตัวเครื่อง

Asus_14

อะเดปเตอร์สำหรับชาร์จแบต ขนาดใหญ่พอสมควร

Asus_13

ด้านข้าง

Asus_11

ขนาดตัวเครื่องเมื่อเทียบกับจอคอมขนาด 22 นิ้ว และ Macbook Air 13 นิ้ว

Asus_19

ด้านข้อมูลสเปกของ Asus X550Z ก็มาพร้อมกับซีพียู AMD APU A10-7400P Quad-core ความเร็ว 2.70 GHz (up to 3.60 GHz) แคช 4 MB L2 Cache ส่วนชิปกราฟฟิกก็ใส่ตัวแนงมาให้เป็น AMD Radeon R5 M230 + Radeon R7 M265 DX Dual Graphics with 2GB DDR3 VRAM Built-in A10-7400P

24-5-2558 22-37-36

บอร์ดตัวเครื่องก็เป็นของ Asus ผลิดเอง ชื่อรุ่นว่า X550ZE ในรุ่นนี้ให้ฮาร์ดดิสก์ขนาด 2.5 นิ้ว ความจุ 750GB มาให้

24-5-2558 22-37-53

แรม DDR3L ขนาด 4GB ความเร็ว 1600 MHz สามารถเพิ่มแรมได้

24-5-2558 22-38-05

ข้อมูลชิปกราฟฟิก แม้ว่ารุ่นนี้จะมาพร้อมกับการ์ดจอตระกูล AMD Radeon R5 AMD FX-7600P แต่ทำงานยังคงเหมาะกับงานทั่วไป และเล่นเกมส์ออนไลน์ เกมส์ PC ที่ไม่ต้องใช้กราฟฟิกโหดๆ เท่านั้น หากต้องการนำไปใช้งานอะไรที่นอกเหนือจากนี้คงต้องพิจารณากันใหม่ครับ เพราะรุ่นนี้คงไม่ตอบโจทย์แน่นอน

24-5-2558 22-46-12

นอกจากนั้น Asus X550Z ยังมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Windows 8.1 Pro 64 bit ลิขสิทธิ์ของแท้ ไม่ต้องซื้อ Windows เพิ่ม หรือเอามาลง Windows เถื่อนเอง

24-5-2558 22-34-56 ตัวอย่างโปรแกรม Task Manager เวลาใช้งานปกติทั่วไป เปิด Chrome กับโปรแกรมทดสอบเครื่องอีก 2-3 โปรแกรม แรมถูกใช้ไปแค่ 1.5GB ซีพียู วิ่งอยู่ราวๆ 4% โดยรวมเครื่องทำงานได้เลื่อนไหล บูตเร็ว แต่ยังช้ากว่าเมื่อเทียบกับเครื่งอที่เป็น SSD

24-5-2558 22-34-08

ทดสอบประสิทธิภาพด้วยโปรแกรม PC Mark 8 ทำคะแนนได้ 1153 คะแนน อยู่ในระดับกลางๆ ตัวกราฟฟิกเหมาะกับเล่นเกมเบาๆ หรือปรับภาพของเกมส์ให้อยู่ในระดับต่ำจนถึงปานกลาง ผมได้ลองติดตั้งเกมส์ counter strike สามารถเล่นได้อย่างลื่นไหล แต่ถ้าเป็นเกมส์ที่กราฟฟิกโหดๆ อย่าง battlefield 4 ปรับความละเอียดปานกลาง ยังมีกระตุก ไม่ลื่นเท่าที่ควร หากเป็นพวกเกมส์ออนไลน์ หรือเกม PC ที่ไม่ต้องใช้กราฟฟิกเทพๆ เล่นได้อย่างแน่นอน

24-5-2558 23-37-13

ทดสอบด้วยโปรแกรม 3D Mark ทำคะแนนได้ 871 คะแนน จะเเห็นได้ว่าพอเจอกราฟฟิกโหดๆ คะแนนจะลดลงอย่างมาก เพราะกว่าตัวกราฟฟิกเองไม่ได้ถูกนำมาเมื่อใช้งานกับการเล่นเกมที่โหดๆ

24-5-2558 22-54-37

ความเร็วในการเขียนข้อมูล ความเร็วต่ำสุดอยู่ที่ 0.5 MB/s ความเร็วสูงสุด 92.8 MB/s ความเร็วเฉลี่ยอยู่ที่ 55.0 MB/s ซึ่งดูจะเป็นความเร็วที่ต่ำกว่ามาตรฐานพอสมควร ไม่แปน่ใจว่าในขณะทดสอบผมมีการเปิดโปรแกรมอะไรทำงานค้างไว้หรือเปล่า

24-5-2558 22-38-47