จีสเปซ ประเทศจีน ได้ปล่อยดาวเทียมวงโคจรต่ำสิบเอ็ดดวงขึ้นสู่วงโคจรเพื่อสร้างกลุ่มดาวเทียมจีลี่ ฟิวเจอร์ โมบิลิตี้ คอนสเตลเลียน

ซีชาง, ประเทศจีน, 5 กุมภาพันธ์ 2567  /พีอาร์นิวส์ไวร์/ — จีสเปซ (Geespace) ประเทศจีนประสบความสำเร็จในการส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรเป็นครั้งที่สองในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ เพื่อส่งดาวเทียมสิบเอ็ดดวงขึ้นสู่วงโคจรต่ำของโลก เป็นอันเสร็จสิ้นในการส่งดาวเทียมขึ้นสู่ระนาบการโคจรที่สองของกลุ่มดาวเทียมจีลี่ ฟิวเจอร์ โมบิลิตี้ คอนสเตลเลียน (Geely Future Mobility Constellation)

กลุ่มดาวเทียมจีลี่ ฟิวเจอร์ โมบิลิตี้ คอนสเตลเลียน เป็นโครงการริเริ่มเชิงพาณิชย์ที่บูรณาการการสื่อสาร การนำทาง และสำรวจข้อมูลระยะไกลภายในเครือข่ายดาวเทียมเดียวเป็นครั้งแรกของโลก โดยดาวเทียมทั้งเก้าดวงของระนาบการโคจรแรกได้ถูกส่งขึ้นไปปฏิบัติภารกิจอย่างประสบความสำเร็จในเดือนมิถุนายน 2565 และในปัจจุบันนี้ จีสเปซไม่เพียงแต่เริ่มผลิตดาวเทียมจำนวนมากเท่านั้น แต่ยังประสบความสำเร็จในการส่งดาวเทียมขึ้นสู่ระดับระนาบวงโคจร ซึ่งช่วยให้สามารถดำเนินการตรวจวัดระยะไกล ติดตาม และสั่งการ (ทีที แอนด์ ซี หรือ TT&C) ในระดับกลุ่มดาวเทียมได้ ทั้งนี้บริษัทฯ ยังได้ดำเนินงานอย่างแข็งขันในการทดสอบการใช้งานดาวเทียมอีกด้วย

ความก้าวหน้านี้เองได้ผลักดันให้จีสเปซได้ก้าวขึ้นสู่กลุ่มองค์กรระดับโลก เช่น อิริเดียม (Iridium), โกลบอลสตาร์ (Globalstar), ออร์บคอมม์ (Orbcomm), วันเว็บ (OneWeb) และ สเปซเอ็กซ์ (SpaceX) ซึ่งแสดงถึงขีดความสามารถของบริษัทนการสร้าง และจัดการกลุ่มดาวเทียมเชิงพาณิชย์ได้อย่างอิสระ ทั้งยังเป็นองค์กรเดียวในประเทศจีนที่ประสบความสำเร็จในการส่งกลุ่มดาวเทียมขนาดใหญ่ขึ้นสู่วงโคจร ความสำเร็จอันโดดเด่นของจีสเปซในปี 2566 ถือเป็นการบุกเบิกการผลิตระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมจำนวนมากสำหรับภาคอุตสาหกรรมยานยนต์เป็นครั้งแรกของโลก

จีสเปซมุ่งเป้าที่จะเปิดให้บริการสื่อสารข้อมูลแบบเรียลไทม์ทั่วโลกภายในปี 2568 หลังจากที่ส่งดาวเทียมทั้ง 72 ดวง ในระยะแรกของกลุ่มดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรครบแล้ว โดยระยะที่สองจะเป็นการขยายเครือข่ายไปเป็นดาวเทียม 168 ดวง เพื่อเปิดให้บริการระบุตำแหน่งที่มีความแม่นยำสูงระดับเซนติเมตร การขยับขยายในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้บริการดาวเทียมที่เชื่อถือได้และในราคาที่คุ้มค่าให้กับภาคส่วนต่างๆ รวมถึง พาหนะส่วนบุคคล โดยให้ความสำคัญกับระบบขับขี่อัตโนมัติ ยานยนต์เชื่อมต่ออัจฉริยะ ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภค และอีกมากมาย นอกจากนี้ ดาวเทียมยังมาพร้อมคุณสมบัติในการสำรวจข้อมูลระยะไกลด้วยเอไอ (AI ) เพื่อให้ภาพการสำรวจข้อมูลระยะไกลที่มีความละเอียดสูงในระดับ 1-5 เมตร ซึ่งนับว่าเทคโนโลยีนี้มีความพร้อมที่จะปฏิวัติการตรวจสอบสภาพแวดล้อมในระบบนิเวศ และส่งมอบโซลูชั่นการถ่ายภาพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมต่างๆ

กลุ่มดาวเทียมจีลี่ ฟิวเจอร์ โมบิลิตี้ คอนสเตลเลียน มาพร้อมขีดความสามารถในการให้บริการไอโอที (IoT) ผ่านดาวเทียมในทั่วโลกได้เทียบเท่ากับดาวเทียมอิริเดียม เน็กซ์ (Iridium Next) โดยพิจารณาถึงการให้บริการไดเร็ค ทู คอล (Direct-to-Cell) เป็นหลักตั้งแต่ในช่วงเริ่มออกแบบกลุ่มดาวเทียม ซึ่งเป็นฟังก์ชันเดียวกับที่เปิดตัวบนวี 2 (V2) ดาวเทียมขนาดเล็กของสตาร์ลิงก์ (Starlink) ที่ช่วยให้กลุ่มดาวเทียมสามารถส่งข้อความและข้อมูลผ่านดาวเทียมได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ จีสเปซยังให้ความสำคัญกับพาหนะส่วนบุคคล และเชี่ยวชาญในการให้บริการข้อมูลผ่านดาวเทียมให้กับภาคส่วนยานยนต์และผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภค

การรวมการสื่อสาร การนำทาง และการสำรวจข้อมูลระยะไกลเข้าด้วยกันช่วยให้จีสเปซสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการข้อมูลดาวเทียมที่หลากหลาย ซึ่งได้รับการออกแบบมาเพื่อสนับสนุนโครงการริเริ่ม “เบลต์แอนด์โรด” (Belt and Road) เป็นหลัก และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ โยแนวทางนี้จะช่วยเร่งความเร็วในการนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ การดำเนินการในวงกว้าง และขยับขยายการใช้งานดาวเทียมไปทั่วโลก

เกี่ยวกับจีสเปซ

จีสเปซ (Geespace) เป็นองค์กรด้านนวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 2561 โดยจีสเปซมุ่งมั่นที่จะก้าวขึ้นมาเป็นผู้ให้บริการโซลูชั่นโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศและการสื่อสารทางอวกาศระดับชั้นนำในทั่วโลก นอกจากนี้ จีสเปซยังมุ่งมั่นที่จะยกระดับห่วงโซ่อุตสาหกรรมดาวเทียมของจีนในเชิงพาณิชย์ และส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศของจีนในเชิงพาณิชย์

 

 

View original content to download multimedia: Read More