เมืองไท่โจวส่งเสริมการเผยแพร่ “วัฒนธรรมเหอเหอ” ไปทั่วโลก

ชาวจีนสนับสนุนสันติภาพและความปรองดองอย่างยิ่ง

สิ่งนี้อาจเป็นความประทับใจสูงสุดที่ชาวต่างชาติจำนวนมากมีต่อหลักปรัชญาทางสังคมของจีน ชาวจีนส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างสันติมาโดยตลอด ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการทูตจีน

นอกจากความปรองดองแล้ว ในยุคโลกาภิวัตน์ที่เพิ่มขึ้น จีนยังส่งเสริมการพัฒนาแบบบูรณาการ และ “มุ่งสู่การพัฒนาร่วมกันด้วยความปรองดอง”

คำว่า “เหอเหอ” ประกอบด้วยอักษรจีนสองตัวที่ออกเสียงเหมือนกันว่า “เหอ” แต่ความหมายต่างกัน โดยเหอตัวแรกหมายถึงความปรองดอง สันติภาพ ความเป็นกลาง ฯลฯ โดยเน้นความปรองดองและการอยู่ร่วมกันขององค์ประกอบต่าง ๆ ส่วนเหอตัวหลังหมายถึงการบรรจบ การบูรณาการ การรวมกันเป็นหนึ่ง ฯลฯ ซึ่งชี้ให้เห็นถึงความร่วมมือและการบูรณาการระหว่างบุคคล กล่าวโดยย่อคือ วัฒนธรรมเหอเหอหมายถึงการแสวงจุดร่วมสงวนจุดต่าง การอยู่ร่วมกันอย่างปรองดอง และการพัฒนาที่สอดประสานกัน

เหอเหอ ซึ่งเป็นคำที่ฉายแสงเจิดจรัสในยุคปัจจุบัน ไม่ใช่แนวคิดใหม่หลังการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน แต่อันที่จริงแล้วมีประวัติศาสตร์ยาวนานหลายพันปี และหนึ่งในต้นกำเนิดที่สำคัญก็คือเมืองไท่โจว เมืองชายฝั่งทางตะวันออกของจีน

ที่ภูเขาเทียนไท่ (Tiantai Mountain) ในเมืองไท่โจว ซึ่งล้อมรอบด้วยภูเขาสามด้านและด้านหนึ่งหันหน้าเข้าหาทะเล สามสำนักปรัชญาที่แตกต่างกัน ได้แก่ ลัทธิขงจื๊อ ลัทธิเต๋า และศาสนาพุทธ ได้เรียนรู้และผสมผสานกันมาตั้งแต่โบราณกาล ก่อให้เกิดความปรองดองทางวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์

บุคคลสำคัญของวัฒนธรรมเหอเหออาศัยอยู่ในเมืองไท่โจว โดยในอำเภอเทียนไท่สามารถเห็นรูปภาพของ “เหอเหอเอ้อเซียน” ได้ทั่วไป โดยคนหนึ่งถือดอกบัวและอีกคนถือกล่องสมบัติ ซึ่งแสดงถึงมิตรภาพอันน่าเชิดชูด้วยการเคารพรักซึ่งกันและกัน ตลอดจนการอยู่ร่วมกันอย่างปรองดอง

ต้นแบบของเหอเหอเอ้อเซียนคือหานซานจื่อ (Han Shanzi) กวีสันโดษที่อาศัยอยู่บนภูเขาเทียนไท่ในสมัยราชวงศ์ถัง และซื่อเต๋อ (Shi De) พระสงฆ์จากวัดกัวชิง (Guoqing Temple) เมื่อกว่า 1,200 ปีที่แล้ว โดยทั้งสองได้พัฒนามิตรภาพฉันพี่น้องด้วยบทกวีและตำนานที่ซาบซึ้งมากมาย ในรัชสมัยของจักรพรรดิหย่งเจิ้ง (Yongzheng) แห่งราชวงศ์ชิง ทั้งสองถูกยกย่องให้เป็นเหอเหอเอ้อเซียน ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของวัฒนธรรมเหอเหอ

การปรากฏของวัฒนธรรมเหอเหอในเมืองไท่โจวไม่เพียงเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์อันยาวนานและตำนานอันโด่งดังเท่านั้น แต่ยังพบได้ในเกือบทุกแง่มุมทางเศรษฐกิจ สังคม และนิเวศวิทยาของเมืองชายฝั่งตะวันออกแห่งนี้ และวัฒนธรรมเหอเหอคือเคล็ดลับเบื้องหลังความสำเร็จในการพัฒนาเมืองไท่โจว

นอกจากเป็นต้นกำเนิดของวัฒนธรรมเหอเหอแล้ว เมืองไท่โจวยังเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายว่าเป็นต้นกำเนิดของระบบสหกรณ์ร่วมทุนของจีน

ด้วยสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปิดกว้างของเมืองไท่โจว บริษัทเอกชนจากทุกสาขาอาชีพจึงสามารถเติบโตได้ที่นี่ โดยอยู่ร่วมกันและเจริญรุ่งเรืองไปด้วยกัน อีกทั้งยังมีการบูรณาการที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นกับตลาดต่างประเทศด้วย

บริษัทต่าง ๆ ในเมืองไท่โจวครองส่วนแบ่งตลาดสูงสุดในกลุ่มผลิตภัณฑ์ 307 กลุ่มทั้งในประเทศและต่างประเทศ นอกจากนั้นยังสร้างกลุ่มอุตสาหกรรม 21 กลุ่มที่มีมูลค่าผลผลิตเกิน 1 หมื่นล้านหยวน เช่น การผลิตรถยนต์ ยาและสุขภาพ อุปกรณ์เย็บผ้า แม่พิมพ์พลาสติก ปั๊ม และมอเตอร์ เป็นต้น

เมืองไท่โจวมีทิวทัศน์ที่สวยงาม หลักปรัชญาการพัฒนาระบบนิเวศที่อิงวัฒนธรรมเหอเหอด้วยการส่งเสริมความปรองดองระหว่างมนุษยชาติกับธรรมชาติ และอิงแนวคิด “น้ำใสสะอาดและภูเขาเขียวขจีคือสินทรัพย์อันล้ำค่า” ได้หยั่งรากลึกลงในการสร้างเมืองและการพัฒนาที่ยั่งยืนของเมืองไท่โจว

เมืองไท่โจวได้ประกาศแผนพิเศษว่าด้วยอาคารสีเขียวในเมืองเป็นครั้งแรกของประเทศ ซึ่งระบุให้อาคารสีเขียวเป็นข้อกำหนดที่เข้มงวดในการโอนที่ดิน การอนุมัติโครงการ การขายอสังหาริมทรัพย์ และกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมือง

เมืองไท่โจวได้ร่วมมือกับเมืองใกล้เคียงในการก่อตั้งกลุ่มพันธมิตรเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวในชนบท ซึ่งประกอบด้วยหมู่บ้าน 264 แห่งบริเวณเขตแดนของเมืองและอำเภอ และหมู่บ้านบนเกาะ 34 แห่ง ด้วยความพยายามที่จะบรรลุความเจริญรุ่งเรืองร่วมกันผ่านการร่วมกันพัฒนาการท่องเที่ยวในชนบท

ด้วยเศรษฐกิจที่คึกคัก สภาพแวดล้อมทางนิเวศวิทยาที่สวยงามและน่าอยู่ รวมถึงขนบธรรมเนียมทางสังคมที่เรียบง่ายและปรองดอง ทำให้เมืองไท่โจวได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในเมืองที่มีความสุขที่สุดในประเทศจีนถึง 6 ครั้ง

วัฒนธรรมเหอเหอได้กลายเป็นปรัชญาหลักที่ชี้นำการพัฒนาเมืองไท่โจว โดยช่วยให้คนในท้องถิ่นบรรลุความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน ประสานความก้าวหน้าทางวัตถุและวัฒนธรรม ส่งเสริมความปรองดองระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ และหล่อเลี้ยงสังคมที่สงบสุขและปรองดอง

ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ เมืองไท่โจวได้ยกระดับการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศด้านวัฒนธรรมเหอเหอ โดยในช่วงสามปีที่ผ่านมา เมืองไท่โจวได้มีการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมอย่างเป็นทางการมากกว่า 20 ครั้งกับเกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น แคนาดา และอีกหลายประเทศ นอกจากนั้นยังมีการจัดตั้งสมาคมวิจัยวัฒนธรรมเหอเหอแห่งแคนาดาในประเทศแคนาดา รวมถึงมีการจัดตั้งศูนย์ระหว่างประเทศว่าด้วยวัฒนธรรมเหอเหอในนครดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

การประชุมวัฒนธรรมเหอเหอโลก (Global Forum on Hehe Culture) ครั้งที่ 2 กำลังจัดขึ้นที่อำเภอเทียนไท่ ระหว่างวันที่ 28-30 พฤศจิกายน ในหัวข้อวัฒนธรรมเหอเหอและการพัฒนาร่วมกันทั่วโลก การประชุมครั้งนี้ต่อยอดมาจากปีที่แล้ว โดยมีการอภิปรายกันอีกครั้งว่าวัฒนธรรมเหอเหอสามารถผลักดันแนวคิดและความรู้แจ้งเกี่ยวกับการพัฒนาร่วมกันของโลกที่กำลังเผชิญกับสถานการณ์ใหม่ได้อย่างไร

“Men ask the way to Cold Mountain. Cold Mountain: there’s no through trail” วลีนี้มาจากบทกวีของหานซานจื่อ หนึ่งในเหอเหอเอ้อเซียน และน่าแปลกที่มาปรากฏอยู่ในนวนิยายชื่อดังเรื่อง “Cold Mountain” ของนักเขียนชาวอเมริกัน ชาร์ลส์ เฟรเซียร์ (Charles Frazier) ซึ่งตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1997 หรือกว่าหนึ่งพันปีต่อมา

ความจริงแล้วหานซานจื่อ ซึ่งอาศัยอยู่อย่างสันโดษในภูเขาเทียนไท่ในเมืองไท่โจว เป็นแรงบันดาลใจให้กับการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมในสหรัฐอเมริกาในช่วงทศวรรษ 1950 และ 1960 อีกทั้งยังได้รับการยกย่องให้เป็น “กวีเซนผู้ยิ่งใหญ่” ในญี่ปุ่น และบทกวีของเขาได้เผยแพร่ไปยังยุโรปในเวลาต่อมา

ในทำนองเดียวกัน วัฒนธรรมเหอเหอที่ครั้งหนึ่งเคยได้รับการหล่อหลอมบนภูเขาเทียนไท่ ก็มีแนวโน้มว่าจะขยายไปสู่ประเทศและดินแดนต่าง ๆ มากขึ้น ด้วยภูมิปัญญาจีนที่เผยแพร่ออกไปอย่างกว้างขวาง

ที่มา: ศูนย์สื่อสารวัฒนธรรมเหอเหอโลก (Global Communication Center of Hehe Culture)

ลิงก์รูปภาพประกอบข่าว:

ลิงก์: http://asianetnews.net/view-attachment?attach-id=434970

คำบรรยายภาพ: วัดกัวชิงในอำเภอเทียนไท่ เมืองไท่โจว