หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ Navigator α: ซูพคอนผนวก AI เข้ากับวิทยาการหุ่นยนต์

หางโจว, 4 เม.ย. 2567/พีอาร์นิวส์ไวร์/ — เมื่อวันที่ 28 มีนาคมที่ผ่านมา คุณจอร์จ สุ่ย ชาน (George Cui Shan) ประธานและซีอีโอของซูพคอน (SUPCON) (688777.SH, SUPCON.SW) ได้ให้สัมภาษณ์เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับศูนย์นวัตกรรมหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์แห่งเจ้อเจียง (ต่อไปนี้จะเรียกว่า “ศูนย์นวัตกรรม”) ที่ก่อตั้งเมื่อไม่นานมานี้ และการเปิดตัว Navigator α ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ตัวแรกของบริษัท ในฐานะผู้ถือหุ้นหลักของศูนย์นวัตกรรมนั้น ซูพคอนรู้สึกตื่นเต้นกับโอกาสที่จะเกิดความร่วมมือกันระหว่างภาควิชาการและอุตสาหกรรมในสาขาหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ ควบคู่ไปกับการนำหุ่นยนต์เหล่านี้ไปใช้ในอนาคตในสถานการณ์ทางอุตสาหกรรมที่หลากหลาย

Navigator α
Navigator α

ศูนย์นวัตกรรมหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์แห่งเจ้อเจียงทุ่มเทด้านการวิจัยเทคโนโลยีการตรวจจับและการควบคุมอัจฉริยะ รวมถึงการพัฒนาหุ่นยนต์ที่ใช้งานได้เต็มรูปแบบ โดยจะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางที่ครอบคลุมสำหรับการวิจัยทางเทคโนโลยี การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การบ่มเพาะผู้มีความสามารถ และการเติบโตของอุตสาหกรรม ด้วยการสนับสนุนศูนย์นวัตกรรมอย่างเป็นรูปธรรม ซูพคอนได้ยกระดับวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์ของบริษัทในการบูรณาการปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ากับวิทยาการหุ่นยนต์และขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงไปสู่อัจฉริยะของอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์อย่างจริงจัง

หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ Navigator α ที่เพิ่งเปิดตัวใหม่ สูง 1.5 เมตร และหนัก 50 กิโลกรัม มีส่วนประกอบฮาร์ดแวร์ขั้นสูง รวมถึงตัวทดรอบวงแหวน (planetary reducer) ที่ล้ำสมัย แขนกลฮิวแมนนอยด์น้ำหนักเบา และมือที่คล่องแคล่วพร้อมอิสระหลายระดับ มืออันน่าทึ่งนี้มีข้อต่อนิ้ว 15 ข้อ องศาอิสระหกระดับ แรงปลายนิ้ว 10N การออกแบบน้ำหนักเบา 600 กรัม และความเร็วข้อต่อที่น่าประทับใจที่ 150 องศาต่อวินาที ยิ่งไปกว่านั้น Navigator α ยังพลิกโฉมการบูรณาการการควบคุมกลไก การเรียนรู้การเลียนแบบ และการเรียนรู้แบบเสริมกำลัง โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรม เช่น โมเดล AI ขนาดใหญ่ เพื่อให้บรรลุความก้าวหน้าใหม่ ๆ ในด้านฮาร์ดแวร์และอัลกอริธึม หุ่นยนต์นี้มีการนำไปใช้และได้รับการยอมรับอย่างสูงในโครงการที่ได้รับการพิสูจน์ภาคสนามแล้วหลายโครงการ

คุณจอร์จเน้นย้ำว่า การทำงานร่วมกันระหว่างซูพคอนและศูนย์นวัตกรรมมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้บรรลุความก้าวหน้าในเทคโนโลยี AI และการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรม ซึ่งต่างจากหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์แบบดั้งเดิมที่มุ่งเน้นไปที่การเชื่อมต่อของชิ้นส่วนและระบบโดยรวมเป็นหลัก ในยุคของ AI เชิงอุตสาหกรรม นวัตกรรมวิทยาการหุ่นยนต์จะต้องพัฒนาไปไกลกว่าขีดความสามารถด้านการปฏิบัติงานเพียงอย่างเดียว โดยครอบคลุมถึงการวางแผน ใช้ประโยชน์จาก AI ให้เป็น “สมอง” ของอุตสาหกรรม นอกจากนี้คุณจอร์จยืนยันว่าอนาคตของหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ขึ้นอยู่กับการใช้งานในสถานการณ์และอุตสาหกรรมเฉพาะ สิ่งสำคัญคือต้องปิดช่องว่างระหว่างการวิจัยทางเทคโนโลยีและความต้องการของอุตสาหกรรมจึงจะช่วยเพิ่มความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องของอุตสาหกรรมได้

 

 

View original content to download multimedia: Read More