สำรวจการประมวลผลภาษาธรรมชาติบนคอมพิวเตอร์ควอนตัม

สมาคมใหม่ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากราชวิทยาลัยวิศวกรรมแห่งสหราชอาณาจักร จะนำผลงานด้านกลศาสตร์ควอนตัมและภาษาศาสตร์ที่ดำเนินการมานานกว่า 15 ปีมาต่อยอด โดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอนและควอนทินิวอัม

ควอนทินิวอัม (Quantinuum) บริษัทคอมพิวเตอร์ควอนตัมครบวงจรชั้นนำของโลก ได้เข้าร่วมสมาคมกับมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน (UCL) และบรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ (BBC) เพื่อสำรวจความเกี่ยวข้องทางอุตสาหกรรมของการประมวลผลภาษาธรรมชาติควอนตัม (Quantum Natural Language Processing หรือ QNLP) และการประมวลผลภาษาธรรมชาติที่ได้รับแรงบันดาลใจจากควอนตัม

สมาคมนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากราชวิทยาลัยวิศวกรรม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในทุนสนับสนุนการวิจัยอาวุโสที่ UCL โดยจะสานต่อการสำรวจกลศาสตร์ควอนตัมและภาษาศาสตร์ในระยะยาวโดยหัวหน้านักวิทยาศาสตร์ของควอนทินิวอัมอย่างศาสตราจารย์บ็อบ ค็อกเคอ (Bob Coecke) ไปจนถึงหัวหน้าฝ่ายปัญญาประดิษฐ์อย่างศาสตราจารย์สตีเวน คลาร์ค (Stephen Clark) และศาสตราจารย์เมฮานอช ซาดราซาเดห์ (Mehrnoosh Sadrzadeh) จากภาควิทยาการคอมพิวเตอร์ของ UCL

BBC หวังว่าจะพบวิธีใหม่ ๆ ในการแสดงเนื้อหาในรูปแบบที่คอมพิวเตอร์อ่านได้ เพื่อสนับสนุนงานต่าง ๆ เช่น การค้นพบเนื้อหาและการดึงข้อมูลในเอกสารบันทึก สิ่งนี้สร้างขึ้นจากงานก่อนหน้าของ BBC กับศาสตราจารย์ซาดราซาเดห์ในการปรับปรุงคำแนะนำส่วนบุคคลด้วยการใช้ข้อมูลหลายรูปแบบ (Enhancing Personalised Recommendations with the use of Multi Modal Information)

คุณอิลยาส ข่าน ( Ilyas Khan) ผู้ก่อตั้งเคมบริดจ์ ควอนตัม คอมพิวติง (Cambridge Quantum Computing) และซีอีโอของควอนทินิวอัม กล่าวว่า “การพัฒนาควอนตัมคอมพิวติ้งเพื่อให้ประชากรในวงกว้างและหลากหลายที่สุดสามารถได้รับประโยชน์ หมายถึงการมองช่วงการใช้งานที่สามารถสร้างประสิทธิผลได้ในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ในฐานะส่วนหนึ่งของงานระยะยาวของเรา เราคาดการณ์ว่าการประมวลผลภาษาที่แท้จริงจะกลายเป็นสิ่งสำคัญด้วยตัวประมวลผลควอนตัมที่ทนต่อความขัดข้อง โดยงานของเรากับ BBC และ UCL นั้นเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากในการเตรียมพร้อมที่จะใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์ควอนตัมเมื่อมีให้ใช้งานในปริมาณมาก ควอนทินิวอัมเป็นผู้นำในด้านต่าง ๆ และความเป็นผู้นำนี้สร้างขึ้นจากความร่วมมือที่มีความหมายลึกซึ้งเช่นนี้”

ในความร่วมมือตลอด 15 ปี กลุ่มนักวิจัยได้สร้างแบบจำลองรวมความหมายเชิงสถิติและเชิงองค์ประกอบสำหรับภาษาธรรมชาติ ในบทความเรื่องพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของแบบจำลองการแจกแจงองค์ประกอบของความหมาย (Mathematical Foundations of a Compositional Distributional Model of Meaning) ในปี 2554 งานพื้นฐานได้รับคำแนะนำจากรูปแบบกลศาสตร์ควอนตัมเชิงหมวดหมู่ของศาสตราจารย์ค็อกเคอ และมีชุดหลักฐานการทดลองตามมา โดยมาจากศาสตราจารย์ซาดราซาเดห์ เกี่ยวกับแบบจำลองที่เป็นรูปธรรมและการประเมินเชิงทดลองสำหรับแบบจำลองการแจกแจงองค์ประกอบเชิงหมวดหมู่ของความหมาย (Concrete Models and Experimental Evaluations for the Categorical Compositional Distributional Model of Meaning) ความก้าวหน้าของเทคนิคเหล่านี้นอกเหนือจากการวิจัยทางวิชาการไปจนถึงระดับอุตสาหกรรมที่ปรับขนาดได้นั้น จะใช้ความสามารถตั้งแต่ระดับประโยคไปจนถึงข้อความทั่วไป โดยใช้วิธีการที่ริเริ่มในงานวิจัยคณิตศาสตร์ของโครงสร้างข้อความ (The Mathematics of Text Structure) และการประเมินรูปแบบองค์ประกอบสำหรับการฝังวลีกริยาในประโยคที่มีส่วนละไว้ (Evaluating Composition Models for Verb Phrase Elliptical Sentence Embeddings)

เอกสารที่บันทึกไว้ของ BBC สะท้อนให้เห็นข่าวสารทั่วโลกและชีวิตทางวัฒนธรรมทั่วสหราชอาณาจักรและที่อื่น ๆ ตลอดรอบร้อยปี เป็นหนึ่งในคลังข้อมูลการเผยแพร่ข่าวสารที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีมากกว่า 15 ล้านรายการ ไม่ว่าจะเป็นไฟล์เสียง ภาพยนตร์ และเอกสารข้อความ ตลอดจนของเล่น เกม สินค้า สิ่งประดิษฐ์ และอุปกรณ์ทางประวัติศาสตร์

เกี่ยวกับควอนทินิวอัม

ควอนทินิวอัม (Quantinuum) เป็นหนึ่งในบริษัทคอมพิวเตอร์ควอนตัมครบวงจรที่ใหญ่ที่สุดในโลก ก่อตั้งขึ้นโดยการรวมกันระหว่างฮาร์ดแวร์ชั้นนำระดับโลกของฮันนี่เวลล์ ควอนตัม โซลูชันส์ กับมิดเดิลแวร์และแอปพลิเคชันชั้นนำของเคมบริดจ์ ควอนตัม โดยควอนทินิวอัมยึดมั่นในวิทยาศาสตร์และการขับเคลื่อนองค์กรเป็นหัวใจสำคัญ เพื่อเร่งการประมวลผลควอนตัมและการพัฒนาแอปพลิเคชันในด้านเคมี ความปลอดภัยทางไซเบอร์ การเงิน และการยกระดับประสิทธิภาพ จุดมุ่งหมายขององค์กรคือการสร้างโซลูชันควอนตัมเชิงพาณิชย์ที่ปรับขนาดได้เพื่อแก้ปัญหาที่เร่งด่วนที่สุดในโลกในด้านต่าง ๆ เช่น พลังงาน การขนส่ง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสุขภาพ บริษัทมีพนักงานมากกว่า 480 คน รวมถึงนักวิทยาศาสตร์ 350 คน ที่ประจำการอยู่ในสำนักงาน 9 แห่งทั่วสหรัฐอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น

www.quantinuum.com