Aon plc (NYSE: AON) บริษัทผู้ให้บริการมืออาชีพชั้นนําระดับโลกได้เปิดเผยว่า การปรับเงินเดือนในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในปี 2567 จากผลการศึกษาเกี่ยวกับการปรับขึ้นเงินเดือนและการลาออกของพนักงานประจำปี 2566
อย่างไรก็ตาม ขณะที่การปรับเงินเดือนในประเทศไทยมีการคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นไปถึง 4.9% แต่การปรับเงินเดือนในสิงคโปร์และมาเลเซียกลับถูกมองว่าจะคงระดับที่ 4.0% และ 5.0% ตามลำดับ ผลสำรวจยังพบอีกว่าในปี 2567 เงินเดือนเฉลี่ยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 6.5% สำหรับประเทศอินโดนีเซีย 5.5% สำหรับประเทศฟิลิปปินส์ และ 8.0% สำหรับประเทศเวียดนาม
ถึงแม้เปอร์เซ็นต์การปรับเงินเดือนนั้นจะสูงขึ้นเพียงเล็กน้อย แต่การปรับเงินเดือน ที่ ในประเทศไทยก็ยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นท่ามกลางความกังวลเรื่องการชะลอตัวของเศรษฐกิจ ในขณะที่อัตราการลาออกของพนักงานทั่วทั้งประเทศในปี 2566 ลดลงมาอยู่ที่ 14.0% เทียบกับในปี 2565 ที่อยู่ที่ 15.4% ทว่ายังคงเป็นตัวเลขสองหลักซึ่งเป็นผลจากกลยุทธ์เกี่ยวกับบุคลากรที่มีเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ รวมถึงความท้าทายด้านอุปสงค์และอุปทานที่พบได้ตลอด โดยประเทศที่มีอัตราการลาออกสูงที่สุดคือฟิลิปปินส์ โดย อยู่ที่ 17.5% ขณะที่เวียดนามเป็นประเทศที่มีอัตราการลาออกต่ำที่สุดอยู่ที่ 13.8%
Rahul Chawla พาร์ทเนอร์และหัวหน้าฝ่าย Talent Solutions ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ของ Aon กล่าวว่า “เมื่อบริษัทต้องคอยรับมือกับความไม่แน่นอนในรูปแบบใหม่ การวางแผนปรับขึ้นเงินเดือนจึงกลายมาเป็นความท้าทายในทั้งภูมิภาค การประเมินกลยุทธ์การจ่ายค่าตอบแทนใหม่โดยอาศัยข้อมูลและการวิเคราะห์ล่าสุดแสดงให้เห็นว่าบริษัทต่าง ๆ จะต้องรักษาความสามารถในการแข่งขันไว้ให้ได้ บริษัทสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลซึ่งได้จากภายในองค์กรเองรวมทั้งตลาดเพื่อช่วยในการตัดสินใจอย่างรอบคอบ ซึ่งไม่เพียงจะพาพวกเขาผ่านพายุแห่งความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจนี้ไปได้ แต่จะช่วยให้พวกเขาประสบความสำเร็จในเรื่องโครงสร้างอัตรากำลังที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาด้วย”
นอกจากนี้ รายงานดังกล่าวยังเผยให้เห็นว่าธุรกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีทัศนคติเชิงบวกต่อเรื่องการจ้างงาน โดยมีบริษัทถึง 40% ที่รายงานว่าปัจจุบันยังไม่มีการเปลี่ยนแผนการสรรหาบุคลากร และมีบริษัทอีก 40% ที่มีข้อจำกัดด้านการจ้างงาน แม้ว่าการเลิกจ้างจะเพิ่มขึ้นในช่วงต้นปี แต่ข้อมูลของ Aon แสดงให้เห็นว่าจำนวนพนักงานในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ยังคงสูงกว่าระดับก่อนเกิดการโรคระบาด โดยส่วนใหญ่การเลิกจ้างจะเกิดขึ้นในส่วนที่ไม่ใช่ธุรกิจหลัก/ส่วนขยายธุรกิจ ในขณะที่การจ้างงานในสายธุรกิจต่าง ๆ ยังคงมีอยู่
การจ่ายค่าจ้างเฉลี่ยในกลุ่มพนักงานใหม่อยู่ระหว่าง 5.6% และ 13.3% โดยที่บริษัทต่างมีความระมัดระวังมากขึ้นเกี่ยวกับการจ่ายค่าตอบแทนเนื่องจากมีการปรับปรุงงบใหม่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพต้นทุน และประเมินกลยุทธ์ด้านผลตอบแทนใหม่ ซึ่งสวนทางกับในปี 2565 ที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการจ้างงานสูงและมีการจ่ายค่าจ้างเฉลี่ยระหว่าง 14.7% และ 23.6% ในประเทศไทย การแข่งขันเพื่อจ้างผู้ที่มีความสามารถที่สูงขึ้นส่งผลให้การจ่ายค่าจ้างในทุกระดับสำหรับตำแหน่งงานด้านการจัดการผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้นมาที่ 98% และ 64% สำหรับตำแหน่งงานด้านการออกแบบระบบ 44.8% สำหรับตำแหน่งงานด้านสร้างพันธมิตร 37.9% สำหรับตำแหน่งงานด้านทดสอบและตรวจสอบ และ 30.1% สำหรับตำแหน่งงานด้านการขายและการตลาดทางโทรศัพท์
สุเมธ คูรศิริกุล ที่ปรึกษาอาวุโสทางด้าน Talent Solutions ในประเทศไทยของ Aon กล่าวว่า “แบบสำรวจการบริหารความเสี่ยงทั่วโลกประจำปี 2566 ของ Aon ทำให้เห็นว่าผู้นำทางธุรกิจมองว่า “ความล้มเหลวในการดึงดูดและรักษาผู้มีความสามารถ” เป็นความเสี่ยงทางธุรกิจที่สำคัญ ซึ่งเป็นการเน้นย้ำถึงการที่ผู้นำให้ความสำคัญกับเรื่องความเสี่ยงด้านบุคลากร ข้อมูลตลาดค่าตอบแทนมีความสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยให้ธุรกิจต่าง ๆ เข้าใจว่าการจ่ายค่าตอบแทนของตนนั้นแข่งขันกับผู้อื่นได้หรือไม่ และยังช่วยกำหนดทิศทางการตัดสินใจที่สำคัญเพื่อดึงดูดและรักษาทักษะที่เป็นที่ต้องการซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงด้านบุคลากร อย่างไรก็ตาม ด้วยเศรษฐกิจที่ชะลอตัว การเพิ่มเงินเดือนอาจมีความไม่ยั่งยืน เนื่องจากธุรกิจต่างมองหาวิธีรักษาผลกำไรและลดต้นทุนด้านบุคลากรรวมถึงค่าใช้จ่ายอื่น ๆ องค์กรที่มีกลยุทธ์การจ่ายค่าตอบแทนแบบองค์รวมโดยอาศัยข้อมูลและการวิเคราะห์ต่าง ๆ จะอยู่ในตำแหน่งที่ดีกว่าในการแข่งขันเพื่อแย่งชิงบุคลากรที่มีความสามารถที่พวกเขาต้องการ”
เมื่อมองไปในปี 2567 เงินเดือนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะยังคงแตกต่างกันไปตามอุตสาหกรรมและไม่เหมือนกันในแต่ละประเทศ อุตสาหกรรมค้าปลีกจะยังคงมีการปรับเพิ่มเงินเดือนสูงสุดที่ 6.1% ตามมาด้วยอุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่ 6.0% วิทยาศาสตร์ชีวภาพและอุปกรณ์ทางการแพทย์ 5.9% การผลิต 5.8% และบริการทางการเงิน 4.8%
มีการคาดการณ์ว่าภาคการผลิตจะมีการปรับขึ้นเงินเดือนสูงสุดในประเทศไทย (8.0%) มาเลเซีย (13.7%) และฟิลิปปินส์ (14.5%) เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าที่อุตสาหกรรมเทคโนโลยีมีการปรับเงินเดือนสูงสุดในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในประเทศสิงคโปร์ (4.5%) อินโดนีเซีย (10.2%) และเวียดนาม (10.9%)
สำหรับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ตำแหน่งงานมากกว่าครึ่งที่ได้รับการขึ้นเงินเดือนสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ ประเทศสิงคโปร์และฟิลิปปินส์มีการปรับขึ้นเงินเดือนสูงกว่าเงินเฟ้อ 71.7% และประเทศมาเลเซียมีการปรับขึ้นเงินเดือนสูงกว่าเงินเฟ้อ 56.4% สำหรับประเทศอินโดนีเซีย เวียดนาม และไทย 70% ของการปรับขึ้นเงินเดือนโดยเฉลี่ยนั้นต่ำกว่าเงินเฟ้อ ขณะที่บริษัทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 67% นำแรงกดดันที่เกิดจากเงินเฟ้อมาเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณานโยบายการจ่ายผลตอบแทนเมื่อมีการพิจารณาการปรับขึ้นเงินเดือน
ข้อมูลเชิงลึกเหล่านี้อิงตามข้อมูลที่รวบรวมในไตรมาสที่สามของปี 2566 จากบริษัท 950 แห่งทั่วอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการศึกษาการปรับขึ้นเงินเดือนและการลาออกของพนักงานปี 2566 ได้ที่นี่