Lazada

โครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนจาก USAID ยกย่ององค์กร 8 แห่งที่เป็นผู้นำสนับสนุนหลักการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างรับผิดชอบและสมเหตุผล

หลักการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างรับผิดชอบและสมเหตุผลพัฒนาขึ้นโดยสภาสัตว์ปีกระหว่างประเทศ มีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงสุขภาพสัตว์อันจะนำไปสู่การลดการพึ่งพายาต้านจุลชีพ

สภาสัตว์ปีกระหว่างประเทศ (International Poultry Council: IPC) มีความยินดีที่จะประกาศว่า องค์กรภาคเอกชน 8 แห่งตระหนักถึงความสำคัญของการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างมีความรับผิดชอบ และรับรองหลักการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างรับผิดชอบและสมเหตุผล (Antimicrobial Use Stewardship Principles) ของ IPC ซึ่งได้รับการผลักดันโดยแผนยุทธศาสตร์การเปลี่ยนแปลงเพื่อลดความเสี่ยงของผลผลิตในฟาร์ม (Transformational Strategies for Farm Output Risk Mitigation หรือ TRANSFORM) ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนจากองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID) และได้รับการผลักดันโดยคาร์กิลล์ (Cargill) เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกเพื่อหลีกเลี่ยงความจำเป็นในการใช้ยาต้านจุลชีพ แต่หากจำเป็นต้องใช้ยา ต้องมั่นใจได้ว่าเป็นการใช้ตามที่ระบุไว้ในหลักการ

ผู้นำระดับนานาชาติเหล่านี้ประกอบด้วย 6 สมาคม และ 2 บริษัท ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 15% ของการผลิตไก่เนื้อทั่วโลก และเป็นตัวแทนของความพยายามร่วมกันในการลดการพึ่งพายาต้านจุลชีพทั่วโลก องค์กรเหล่านี้ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้นำในการดำเนินงานตามหลักการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างรับผิดชอบและสมเหตุผล และเป็นตัวอย่างให้แก่องค์กรอื่น ๆ ที่ต้องการสร้างผลกระทบที่จับต้องได้เกี่ยวกับความมั่นคงทางสุขภาพทั่วโลก

-สมาคมผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ของบราซิล (Brazilian Association of Animal Protein: ABPA)
-สมาคมเลี้ยงสัตว์ปีกแห่งประเทศโคลอมเบีย (Federaci?n Nacional de Avicultores de Colombia: FENAVI)
-สหพันธ์สัตว์ปีกแห่งอินเดีย (Poultry Federation of India: PFI)
-สหภาพห่วงโซ่อุปทานอาหารเกษตรเนื้อและไข่แห่งประเทศอิตาลี (Unione Nazionale Filiere Agroalimentari Carni e Uova: UNAITALIA)
-สมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย (Thai Broiler Processing Exporters Association: TBA)
-สมาคมสัตว์ปีกเวียดนาม (Vietnam Poultry Association (VIPA))
-บริษัท ดาบาโค กรุ๊ป (DABACO Group) ของเวียดนาม
-บริษัท เคนชิก จำกัด (Kenchic Limited) ของเคนยา

“การดำเนินการที่สำคัญเพื่อจัดการกับการใช้ยาต้านจุลชีพนั้นเริ่มต้นที่ฟาร์ม” คุณโรบิน โฮเรล (Robin Horel) ประธาน IPC กล่าว “เราขอยกย่ององค์กรเหล่านี้ที่ตระหนักถึงความสำคัญของการใช้ยาต้านจุลชีพโดยตั้งใจ ไม่เพียงเพื่อประโยชน์ของสัตว์เท่านั้น แต่ยังส่งผลถึงสุขภาพของมนุษย์ด้วย เพราะจะช่วยลดโอกาสที่เชื้อโรคดื้อยาต้านจุลชีพแพร่กระจายไปทั่วโลก”

การยอมรับหลักการดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นขององค์กรเหล่านั้นที่จะสนับสนุนหรือดำเนินการตามหลักการ โดยเน้นประเด็นสำคัญ 4 ประการ ประการแรก การใช้แนวทางตามความเสี่ยงเพื่อทำความเข้าใจการใช้ยาต้านจุลชีพที่เฉพาะเจาะจง ประการที่สอง การใช้แนวทางการจัดการเพื่อลดความจำเป็นในการใช้ยาต้านจุลชีพ ประการที่สาม การใช้ยาต้านจุลชีพตามที่ได้รับอนุญาตจากหน่วยงานกำกับดูแลของประเทศเท่านั้น และสุดท้าย การใช้ยาต้านจุลชีพที่มีผลต่อสุขภาพของมนุษย์ควรใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการรักษาโรคเท่านั้น และอยู่ภายใต้การวินิจฉัยและการควบคุมดูแลของสัตวแพทย์

“เราตระหนักดีว่าสุขภาพของมนุษย์เชื่อมโยงกับสุขภาพของสัตว์” คุณแอนนี นีดเลอร์ (Annie Kneedler) หัวหน้าโครงการ TRANSFORM กล่าว “เมื่อเราใช้วิธีการเชิงระบบเพื่อพิจารณาการใช้ยาปฏิชีวนะของเราใหม่ เราจะสามารถสร้างระบบนิเวศที่สัตว์มีสุขภาพดีขึ้น ผลิตสัตว์ได้เพิ่มขึ้น และพึ่งพายาปฏิชีวนะลดลง ความพยายามร่วมกันเหล่านี้มีส่วนทำให้เป้าหมายความมั่นคงด้านอาหารทั่วโลกกว้างขึ้น ซึ่งจะสำเร็จได้ก็ด้วยการทำงานร่วมกันเท่านั้น”

นี่คือความคิดริเริ่มล่าสุดจากโครงการ TRANSFORM ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาวิธีการแก้ปัญหาสุขภาพสัตว์ที่ขับเคลื่อนโดยตลาด เพิ่มความปลอดภัยด้านสุขภาพทั่วโลก ตลอดจนเพิ่มการเข้าถึงโภชนาการจากสัตว์ที่ปลอดภัยและราคาไม่แพง TRANSFORM นำโดยกลุ่มพันธมิตรภาคเอกชนซึ่งประกอบด้วยคาร์กิลล์ (Cargill), ออสเวท (Ausvet), ไฮเฟอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล (Heifer International) และสภาสัตว์ปีกระหว่างประเทศ (IPC) โดยมีเป้าหมายเพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบและยั่งยืนผ่านการใช้ข้อมูลสุขภาพสัตว์ การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างรับผิดชอบและสมเหตุผล และแนวทางปฏิบัติในฟาร์มที่สนับสนุนสุขภาพสัตว์และความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ TRANSFORM ได้ที่ www.cargill.com/sustainability/transform

เกี่ยวกับสภาสัตว์ปีกนานาชาติ สภาสัตว์ปีกนานาชาติ (International Poultry Council) เป็นกระบอกเสียงหนึ่งเดียวของภาคอุตสาหกรรมสัตว์ปีกทั่วโลก ซึ่งคิดเป็น 86% ของการส่งออกเนื้อสัตว์ปีก และ 73% ของปริมาณการผลิตเนื้อสัตว์ปีก IPC ทำงานเพื่อเสริมสร้างการสื่อสารระหว่างอุตสาหกรรมของประเทศต่าง ๆ ส่งเสริมความเข้าใจและความเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกให้เป็นหนึ่งเดียวทั่วโลก เป็นตัวแทนของภาคอุตสาหกรรมสัตว์ปีกทั่วโลกกับองค์กรและหน่วยงานระหว่างประเทศ แบ่งปันแนวทางที่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เป็นฐานทั่วทั้งห่วงโซ่อุปทานสัตว์ปีก ส่งเสริมกรอบการกำกับดูแลที่สมดุลเพื่อสนับสนุนเวทีแข่งขันระดับโลกที่ยุติธรรม ตลอดจนส่งเสริม สนับสนุน และกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาการผลิตสัตว์อย่างยั่งยืนเพื่อความมั่นคงทางอาหารของโลก

เกี่ยวกับคาร์กิลล์ คาร์กิลล์ช่วยให้ระบบอาหารของโลกทำงานแทนคุณ เราเชื่อมโยงเกษตรกรกับตลาด ลูกค้าด้วยส่วนผสม และครอบครัวด้วยสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่อาหารที่พวกเขากินไปจนถึงพื้นที่พวกเขาเดิน ทีมงานของเราทั่วโลกสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างมีจุดมุ่งหมาย เพิ่มขีดความสามารถให้กับคู่ค้าและชุมชนของเรา ในขณะที่เราทำงานเพื่อหล่อเลี้ยงโลกด้วยวิธีที่ปลอดภัย มีความรับผิดชอบ และยั่งยืน

ตั้งแต่อาหารสัตว์ที่ลดการปล่อยก๊าซมีเทนไปจนถึงเชื้อเพลิงหมุนเวียนที่ใช้ของเสีย ความเป็นไปได้นั้นไร้ขอบเขต แต่ค่านิยมของเรายังคงเดิม เราให้คนมาก่อน เราไปถึงที่สูงขึ้น เราทำในสิ่งที่ถูกต้อง นั่นเป็นวิธีที่คาร์กิลล์ตอบสนองความต้องการของผู้คนที่เราเรียกว่าเพื่อนบ้านและโลกที่เราเรียกว่าบ้านมาเป็นเวลา 157 ปี และเราจะทำเช่นนั้นรุ่นต่อ ๆ ไปได้อย่างไร สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดไปที่ Cargill.com และศูนย์ข่าวของเรา

สมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย สมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย (Thai Broiler Processing Exporters Association) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2534 เพื่อทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกำกับดูแลและให้บริการแก่ผู้ผลิตและส่งออกเนื้อไก่และเนื้อเป็ดไทยจำนวนมาก สมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทยมีเป้าหมายที่จะส่งเสริมอุตสาหกรรมสัตว์ปีกโดยเฉพาะตลาดส่งออก กิจกรรมส่วนใหญ่ของบริษัทคือการให้บริการข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการผลิตและการตลาด และให้ความร่วมมือกับรัฐบาลไทยในการแก้ไขปัญหาและข้อจำกัดที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม องค์กรนี้คิดเป็น 80% ของการผลิตไก่เนื้อของไทย

โลโก้ – https://mma.prnewswire.com/media/1488953/Cargill_Logo.jpg