9krapalm.com

องค์กรธุรกิจแห่งอนาคตต้องเคลื่อนไหวต่อไปอย่างไร: จะสร้างความยืดหยุ่นให้เกิดขึ้นในปี 2566 และในอนาคตได้อย่างไร

บทความโดย มาร์เจ็ท แอนเดรส, รองประธานและผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก, เร้ดแฮท

แม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดเริ่มคลี่คลายแล้ว แต่ปัญหาต่าง ๆ เช่น เงินเฟ้อ ความตึงเครียดทางการเมือง และซัพพลายเชนที่ประสบกับความยุ่งยาก กำลังส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ รายงานจากศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ว่า ทิศทางเศรษฐกิจในปี 2566[1] จีดีพีไทยจะขยายตัวในช่วง 3.2-4.2% โดยปัจจัยขับเคลื่อนหลักยังคงมาจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว ขณะที่การส่งออกมีแนวโน้มชะลอตัวลงตามเศรษฐกิจโลก โดยแม้ยังไม่มองการเกิดภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย แต่โอกาสมีมากขึ้น เนื่องจากมีหลายปัจจัยเสี่ยงให้ติดตามทั้งเงินเฟ้อ การขึ้นดอกเบี้ย และภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าหลายประเทศ

การดำเนินธุรกิจในปัจจุบันต้องทำอย่างระมัดระวัง มีการวางแผนและจัดระเบียบการใช้จ่ายระยะสั้นอย่างรอบคอบ เพื่อให้สามารถทำกำไรได้ ในขณะเดียวกันก็ต้องวางเดิมพันครั้งใหญ่ควบคู่กันไป เพื่อให้ได้ผลตอบแทนในระยะยาวเมื่อฟื้นตัวจากตลาดที่ประสบกับภาวะตกต่ำมาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นองค์กรต่าง ๆ จะต้องวางแผนยาวไปจนถึงปี 2573 ไม่ใช่เพียงแผนสำหรับปี 2566 เท่าน้้น

คำถามสำคัญที่ธุรกิจทั้งหลายต้องถามตัวเองคือ จะเกิดอะไรขึ้นต่อไป
ต่อจากนี้ความต้องการของลูกค้าจะเป็นอย่างไร นวัตกรรมด้านการผลิตจะเป็นอย่างไร และภาพรวมของธุรกิจจะเป็นไปในทิศทางใด

เป็นการยากที่จะรับมือกับการวิเคราะห์สิ่งที่ไม่เคยรู้จักมากมายดังกล่าวนี้ แต่บริษัทที่สามารถวิเคราะห์ได้เร็ว และมีประสิทธิภาพจะพร้อมฟื้นตัวจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดได้อย่างแข็งแกร่งและยืดหยุ่นกว่า

เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือปรับสมดุลที่ยอดเยี่ยม
ในระยะสั้น เทคโนโลยีมีบทบาทในการช่วยให้ธุรกิจดำเนินกิจการต่อไปได้ในระหว่างเกิดวิกฤต ด้วยการช่วยให้ทำงานจากระยะไกลได้ ช่วยให้ธุรกิจมีความคล่องตัว และมีส่วนร่วมภายนอกองค์กรผ่านช่องทางดิจิทัล ในระยะยาว องค์กรต่าง ๆ ย่อมต้องการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี เพื่อเป็นฐานที่แข็งแกร่งให้กับกระบวนการทำงานทั้งหมด ความคิดริเริ่ม หรือ ห่วงโซ่ที่เชื่อมโยงขั้นตอนการสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าและบริการตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงมือผู้บริโภค (value chain) ซึ่งสนับสนุนการเดินบนเส้นทางสู่การเป็นองค์กรแห่งอนาคตของตน

องค์กรธุรกิจที่ชาญฉลาดในปัจจุบันจะจัดลำดับความสำคัญใหม่ เพื่อการลงทุนที่ให้ลูกค้ามีส่วนร่วมผ่านช่องทางดิจิทัลเป็นหลัก, กระบวนการอัตโนมัติและการปรับขยายเสริมข้อมูล, ข้อมูลและการวิเคราะห์ และ DevOps ที่มีความคล่องตัวจะขับเคลื่อนนวัตกรรมในธุรกิจและรูปแบบการทำงานใหม่ ๆ

ในขณะที่ธุรกิจเดินหน้า ดิจิทัลจะเป็นเครื่องมือปรับสมดุลที่เป็นทางลัดให้องค์กรฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว และช่วยให้องค์กรแห่งอนาคตทั้งหลายให้ใช้แพลตฟอร์ม, มีระบบนิเวศเป็นศูนย์กลางการทำงาน และขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม

สร้างธุรกิจที่ยืดหยุ่น
ก้าวแห่งการเปลี่ยนแปลงในเอเชียแปซิฟิกนั้นทั้งยากที่จะรับมือและน่ากังวล การที่ดิจิทัลเข้ามาสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างมากในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา ทำให้อุตสาหกรรมเกือบทุกแขนงต้องหยุดทบทวนและประเมินกลยุทธ์ของตนใหม่

องค์กรที่อยู่ในเส้นทางการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลเรียบร้อยแล้ว สามารถก้าวข้ามความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น และมีโครงสร้างทางดิจิทัลที่มั่นคงที่สามารถลดผลกระทบจากการแพร่ระบาดให้เหลือน้อยที่สุดได้

โอเพ่นซอร์สสำคัญต่อการสร้างโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลอย่างยิ่ง สามารถช่วยองค์กรลดผลกระทบต่าง ๆ เหล่านี้ได้มาก โดยมอบความยืดหยุ่นเพิ่มขึ้น และมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าได้มากขึ้นในอนาคต

ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) เป็นหนึ่งในองค์กรไทยที่ได้นำโซลูชันและแพลตฟอร์มด้านโอเพ่นซอร์สของเร้ดแฮท เข้ามาช่วยให้บริการมีความคล่องตัว ปรับขนาดการทำงานได้ และยืดหยุ่น สามารถรองรับปริมาณงานพัฒนาแอปพลิเคชันจำนวนมากได้ทั้งบนคลาวด์ และระบบภายในองค์กร ตอบโจทย์วิสัยทัศน์ในการเป็นธนาคารดิจิทัลระดับแนวหน้าในอาเซียนของธนาคารได้อย่างประสบผลสำเร็จ ในขณะที่ธนาคารกสิกรไทย ผู้นำด้านธนาคารดิจิทัลในประเทศไทย โดย KBTG หน่วยงานด้านไอทีของธนาคารได้ใช้โซลูชันด้านโอเพ่นซอร์สของเร้ดแฮท เพิ่มประสิทธิภาพให้กับโครงสร้างพื้นฐานหลัก และใช้แพลตฟอร์มโอเพ่นซอร์ส เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับกระบวนการต่าง ๆ ซึ่งช่วยลดเวลาในการจัดเตรียมระบบและการออกแอปพลิเคชันจากสามวันเหลือเพียงวันเดียว ทำให้ส่งมอบแอปพลิเคชันและฟีเจอร์ใหม่ ๆ ได้เร็วขึ้น

โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่ยืดหยุ่นคือรากฐานของนวัตกรรม
องค์กรแห่งอนาคตต้องมีโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่ทันสมัยที่มีความยืดหยุ่น คล่องตัว และปรับขนาดการทำงานได้ไม่จำกัด เพื่อให้สามารถสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ บริการ และประสบการณ์ที่กว้างขวาง ผ่านช่องทางดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

IDC ICT Predictions[2] คาดการณ์ว่าจะมีองค์กรธุรกิจในเอเชียมุ่งสู่การเป็นองค์กรที่วางแผนและดำเนินกลยุทธ์และกิจกรรมที่เริ่มต้นด้วยดิจิทัลตั้งแต่เริ่มแรก (digital-first) มากขึ้นเรื่อย ๆ และคาดการณ์ว่าภายในปี 2566 จะมีอัตราบริษัทหนึ่งในสามบริษัท ที่สร้างรายได้จากผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัลมากกว่า 30% ของรายได้ทั้งหมด เทียบกับอัตราส่วน 1 ใน 5 ของปี 2563

สิ่งที่จำเป็นมากเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย digital-first คือ คน กระบวนการ และเทคโนโลยี ต้องสอดคล้องกัน โอเพ่นซอร์สเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนนวัตกรรมและสามารถปูทางสู่ความสำเร็จนี้ได้ เพราะโอเพ่นซอร์สนำคนที่มีประสบการณ์หลากหลายมาทำงานร่วมกันเพื่อแก้ความท้าทายที่พบเจอเหมือนกัน และจุดประกายแนวคิดใหม่ ๆ

ในขณะที่โลกในปัจจุบันให้ความสำคัญอย่างเหนียวแน่นกับเศรษฐกิจแบบ digital-first ซึ่งเศรษฐกิจแบบนี้และแนวโน้มทางธุรกิจในอีกสองสามปีต่อจากนี้ยังคงมีความผันผวนสูง เพราะมีความท้าทายทางเศรษฐกิจระดับโลกและเศรษฐกิจมหภาคเพิ่มมากขึ้น ความสำเร็จขององค์กรในอีก 12-36 เดือนนับจากนี้จะถูกกำหนดด้วยความสามารถขององค์กรนั้น ๆ ว่าจะสามารถจัดการกับความท้าทายที่ปะทะเข้ามาเหล่านี้ได้ดีเพียงใด

องค์กรธุรกิจต้องถามตัวเองว่า จะเคลื่อนไหวต่อไปอย่างไร

###

[1] https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/economy/Pages/KR-Press-19-12-22-pp.aspx

[2] Source: IDC FutureScape: Worldwide Top ICT Predictions – Asia/Pacific (Excluding Japan) Implications, November 2021

Exit mobile version