9krapalm.com

หัวเว่ย และ BJFF คว้ารางวัล GSMA GLOMO จากโครงการอนุรักษ์ปลาแซลมอนนอร์เวย์

บาร์เซโลนา, สเปน, 5 มีนาคม 2567 /พีอาร์นิวส์ไวร์/ — หัวเว่ย (Huawei) และสมาคมล่าสัตว์และการประมงแห่งแบร์เลแวค (Berlevåg Jeger-og Fiskerforening หรือ BJFF) คว้ารางวัล GSMA GLOMO ในสาขา “ความร่วมมือของอุตสาหกรรมอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่อันโดดเด่นต่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ” สำหรับโซลูชันที่ขับเคลื่อนด้วย AI ซึ่งออกแบบมาเพื่อป้องกันการสูญพันธุ์ของปลาแซลมอนแอตแลนติกตามธรรมชาติของนอร์เวย์ ณ งานโมบายล์ เวิลด์ คองเกรส บาร์เซโลนา ประจำปี 2567 (MWC Barcelona 2024) เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว


Lu Yong, Huawei Senior Vice President and President of the European Region for Huawei, receives the GLOMO at MWC Barcelona 2024

“เรารู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่โครงการเทคฟอร์ออล (TECH4ALL) ได้รับรางวัล GSMA GLOMO และขอขอบคุณเป็นพิเศษต่อความมุ่งมั่นและการสนับสนุนของ BJFF ซึ่งเป็นพันธมิตรของเรา” ลู่ หยง (Lu Yong) รองประธานอาวุโสและประธานภูมิภาคยุโรปของหัวเว่ย กล่าว “โครงการปลาแซลมอนแสดงให้เห็นถึงศักยภาพอันยิ่งใหญ่ของเทคโนโลยีในการอนุรักษ์ธรรมชาติไปพร้อม ๆ กับการขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืนของชุมชนท้องถิ่น หัวเว่ยจะยังคงใช้เทคโนโลยีอันล้ำสมัยเพื่อรังสรรค์โลกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมยิ่ง ๆ ขึ้นไป”

โซลูชั่นดังกล่าวเปิดตัวเมื่อปี 2564 ภายใต้โครงการริเริ่มเทคฟอร์ออลของหัวเว่ยและพัฒนาร่วมกับพันธมิตรในท้องถิ่นอย่าง BJFF, Simula Consulting และ Troll Systems โดยใช้ระยะเวลานานกว่าสามปีเพื่อตอบสนองต่อสายพันธุ์ที่รุกรานอย่างปลาแซลมอนหลังค่อมซึ่งคุกคามปลาแซลมอนท้องถิ่นในแม่น้ำของนอร์เวย์

การแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยีนี้ถือเป็นวิธีแรกของโลกที่กรองปลาแซลมอนหลังค่อมออกจากระบบแม่น้ำเพื่อป้องกันไม่ให้พวกมันว่ายทวนน้ำเพื่อวางไข่

“เราภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับหัวเว่ยและพันธมิตรในโครงการสุดล้ำนี้ โซลูชั่นเทคโนโลยีล้ำสมัยที่เรามีใน Berlevåg ถือเป็นสูตรสำเร็จในการหยุดยั้งปลาแซลมอนหลังค่อม อีกทั้งยังเป็นแรงบันดาลใจให้เราได้รับการยอมรับระดับโลกในงานโมบายล์ เวิลด์ คองเกรส บาร์เซโลนา ประจำปี 2567” เกียร์ คริสเตียนเซน (Geir Kristiansen) ประธาน BJFF กล่าว “โครงการนี้ไม่เพียงแต่ปกป้องแม่น้ำและปลาแซลมอนแอตแลนติกตามธรรมชาติของเราเท่านั้น แต่ยังแสดงให้เห็นว่านวัตกรรมสามารถรับมือกับความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมทั่วโลกได้อย่างไร”

คณะกรรมการตัดสินของ GLOMO เพิ่มเติมว่าโปรเจ็กต์ดังกล่าวเป็น “แนวคิดที่ยอดเยี่ยมและปรับขนาดได้ นั่นคือการนำ AI และเทคโนโลยีอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ซึ่งขับเคลื่อนด้วยตนเองมาใช้เพื่อแก้ปัญหาได้อย่างแม่นยำ พร้อมการดำเนินการอันยอดเยี่ยมและผลลัพธ์ที่น่าประทับใจ”

ขั้นตอนการทำงาน

ปลาถูกบังคับให้ว่ายผ่านอุโมงค์ทอดยาวของแม่น้ำที่ติดตั้งกล้องใต้น้ำและประตูอัจฉริยะซึ่งขับเคลื่อนด้วยอัลกอริธึม


Fish are directed through the tunnel in the river

อัลกอริธึมจะระบุประเภทปลาต่าง ๆ ผ่านการจำแนกลักษณะเฉพาะ เช่น ส่วนหลังที่โดดเด่นของปลาแซลมอนหลังค่อมตัวผู้และลวดลายหางของตัวเมีย ด้วยอัตราความแม่นยำในการระบุตัวตนที่เกิน 99% ระบบจะสั่งให้ประตูยังคงปิดอยู่เพื่อกรองสายพันธุ์ที่รุกรานเข้าไปในถังพัก แต่เปิดออกเพื่อให้ปลาตัวอื่นว่ายทวนน้ำ


The automated gate in action

ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงกันยายน 2566 ซึ่งเป็นช่วงฤดูวางไข่ของปลาแซลมอนในรอบสองปีล่าสุด โครงการนำร่องในแม่น้ำ Storleva และแม่น้ำ Kongsfjord สามารถกรองปลาแซลมอนหลังค่อมได้มากกว่า 6,000 ตัว

สำหรับวิธีแบบบ้าน ๆ นั้นจะให้อาสาสมัครยืนอยู่ในแม่น้ำ แยกปลาแซลมอนหลังค่อมด้วยตาเปล่า แล้วจึงจับออกมา ซึ่งไม่เพียงแต่สิ้นเปลืองแรงงานและเวลาเท่านั้น แต่ปลาจำนวนมากยังได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตโดยไม่ได้ตั้งใจ เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว โซลูชั่นอัตโนมัติไม่ทำให้ปลาเสียหายและลดภาระงานที่ต้องทำลงได้ประมาณ 90%

ภูมิหลัง

ปลาแซลมอนหลังค่อมถูกนำเข้ามาในแม่น้ำของนอร์เวย์ช่วงทศวรรษที่ 1960 เพื่อเพิ่มปริมาณอาหาร อย่างไรก็ตาม สายพันธุ์ที่รุกรานเหล่านี้มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และในไม่ช้าก็เริ่มลุกล้ำแหล่งทรัพยากรอาหารและพื้นที่วางไข่ของปลาแซลมอนแอตแลนติกป่า ผลกระทบดังกล่าวทำให้ประชากรปลาสายพันธุ์พื้นเมืองลดลงครึ่งหนึ่งนับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980

เนื่องจากปลาแซลมอนเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจของนอร์เวย์ ปัญหาดังกล่าวจึงเป็นประเด็นระดับชาติมาโดยตลอด

ความสำเร็จของการแก้ปัญหาและศักยภาพในการขยายโครงการไปทั่วประเทศ ก่อให้เกิดความหวังในการคลี่คลายภัยคุกคามต่อการสูญพันธุ์ของปลาแซลมอนแอตแลนติกตามธรรมชาติ

รางวัล GLOMO 

การประกาศรางวัล GSMA GLOMO จัดขึ้นทุกปีที่งานโมบายล์ เวิลด์ คองเกรส (MWC) เพื่อยกย่อง “ความเป็นที่สุดในอุตสาหกรรมอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่และอื่น ๆ” โดยมีกรรมการอิสระ 200 ราย และ 30 รางวัลใน 6 ประเภท สำหรับปีนี้ หัวเว่ยคว้า GLOMO มาครองทั้งสิ้นเจ็ดรางวัล

เกี่ยวกับหัวเว่ยเทคฟอร์ออล

เทคฟอร์ออล (TECH4ALL) คือความคิดริเริ่มและแผนปฏิบัติการด้านการบูรณาการดิจิทัลในระยะยาวของหัวเว่ยซึ่งขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีสุดล้ำและความร่วมมือจากหลายภาคส่วนโดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการหลอมรวมรวมและความยั่งยืนในโลกดิจิทัล

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาเยี่ยมชมเว็บไซต์หัวเว่ยเทคฟอร์ออลที่ https://www.huawei.com/en/tech4all 
ติดตามเราบน X ที่ https://twitter.com/HUAWEI_TECH4ALL 

 

View original content to download multimedia: Read More

Exit mobile version