Lazada

“สกายไดรฟ์” เผยโฉมดีไซน์รถบินได้รุ่น SD-05 ตั้งเป้าให้บริการแท็กซี่อากาศในปี 2568

บริษัท สกายไดรฟ์ อิงค์ (SkyDrive Inc.) เผยโฉมดีไซน์รถบินได้สำหรับใช้งานเชิงพาณิชย์ “SkyDrive SD-05” ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนของการพัฒนา โดยบริษัทวางแผนว่าจะนำไปให้บริการแท็กซี่อากาศ (Air Taxi) ในบริเวณอ่าวโอซาก้า ระหว่างมหกรรมเวิลด์ เอ็กซ์โป (World Expo) ที่มีกำหนดจัดขึ้นในปี 2568 ณ เมืองโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น

“นี่เป็นอีกก้าวที่ยิ่งใหญ่ของการทำให้รถบินได้และถนนบนท้องฟ้าเกิดขึ้นจริง” คุณทาคุมิ ยามาโมโตะ (Takumi Yamamoto) ผู้อำนวยการฝ่ายออกแบบของสกายไดรฟ์ กล่าว “ผ่านมาแล้วสองปีนับตั้งแต่ที่เราประกาศเปิดตัวรถบินได้รุ่น SD-03 ซึ่งประสบความสำเร็จในการทดสอบบินสาธารณะพร้อมคนขับเมื่อเดือนสิงหาคม 2563 และเรายินดีอย่างยิ่งที่ได้เปิดตัวรถบินได้รุ่นใหม่อย่าง SD-05”

สกายไดรฟ์มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเมืองโทโยตะ จังหวัดไอจิ บริษัทเป็นผู้พัฒนาและผู้ผลิตรถบินได้ (*1) และโดรนขนส่งสินค้าชั้นนำในญี่ปุ่น

ภาพที่ 1: ลักษณะภายนอกของ SD-05 ที่กำลังอยู่ในขั้นตอนของการพัฒนา
https://kyodonewsprwire.jp/prwfile/release/M105850/202209267185/_prw_PI5fl_to2kn1db.jpg

วิดีโอของ SD-05 รถบินได้สำหรับใช้งานเชิงพาณิชย์
ชื่อวิดีโอ: SkyDrive SD-05: Zero Emission Flying Vehicle
URL: https://youtu.be/36tDLW-mFiU

ภาพรวมของ SD-05
SD-05 เป็นยานบินพลังงานไฟฟ้าขนาดกะทัดรัดสองที่นั่ง ควบคุมโดยคนขับ-นักบิน สามารถบินขึ้นและลงจอดในแนวตั้ง การบินมีความเสถียรเพราะได้รับการสนับสนุนจากระบบการบินที่ควบคุมโดยคอมพิวเตอร์ สกายไดรฟ์กำลังพัฒนารถบินได้โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างโลกที่มีการใช้รถบินได้ในการขนส่งทางอากาศในชีวิตประจำวัน เทียบเท่ากับที่มีการใช้รถยนต์ในการขนส่งภาคพื้นดิน

คุณยามาโมโตะกล่าวว่า “ยานพาหนะชนิดนี้ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อการเดินทางจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งเท่านั้น แต่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของแนวคิดการออกแบบเพื่อ “ติดปีกให้กับการเดินทางในชีวิตประจำวัน” จึงเป็นคู่หูการเดินทางที่ปลอดภัยกว่าและทำให้การเดินทางสนุกสนานยิ่งขึ้น”

สกายไดรฟ์ยังอยู่ในขั้นตอนการขอใบรับรองประเภทยานพาหนะให้กับ SD-05 จากกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยว (*2) เนื่องจากเป็นรุ่นแรกของยานพาหนะรูปแบบนี้ในประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้ บริษัทยังคงเดินหน้าผลักดันให้รถบินได้สามารถใช้งานได้จริงระหว่างมหกรรมเวิลด์ เอ็กซ์โป ณ เมืองโอซาก้า ในภูมิภาคคันไซของญี่ปุ่น ซึ่งจะจัดขึ้นในปี 2568 ทั้งนี้ SD-05 ได้รับการออกแบบมาให้สามารถเดินทางได้ราว 10 กิโลเมตร ด้วยความเร็วสูงสุด 100 กิโลเมตร/ชั่วโมง อย่างไรก็ตาม รูปแบบและความสามารถอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ในระหว่างการพัฒนา

ทั้งนี้ ความสามารถด้านต่าง ๆ ของ SD-05 ยังคงอยู่ในระหว่างการพิจารณา ซึ่งรวมถึงการร่นระยะทางการขนส่งทางอากาศ การเข้าถึงสถานตากอากาศแบบไม่เหมือนใคร และการให้บริการทางการแพทย์ในกรณีฉุกเฉิน

“สกายไดรฟ์จะเดินหน้าออกแบบอนาคต เพื่อสานฝันให้ถนนบนท้องฟ้ากลายเป็นความจริง” คุณยามาโมโตะ กล่าว นอกจากนี้ สกายไดรฟ์ยังเดินหน้าส่งเสริมการดำเนินธุรกิจไม่เพียงในญี่ปุ่นเท่านั้น แต่ยังรวมถึงนอกประเทศด้วย อย่างเช่นในสหรัฐอเมริกา ซึ่งบริษัทได้ตั้งสำนักงานในเดือนกันยายน 2565 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการขนส่งทางอากาศสู่ลูกค้าปลายทาง นอกจากนี้ บริษัทได้พัฒนาตลาดร่วมกับหน่วยงานในท้องถิ่นและบริษัทพันธมิตรหลายแห่งอย่างต่อเนื่อง

ลักษณะภายนอกของ SD-05
นิยามการออกแบบ SD-05 ซึ่งต่อยอดมาจาก SD-03 ยานบินต้นแบบมีคนขับหนึ่งที่นั่ง คือ “ก้าวหน้า” (บุกเบิกและพัฒนา) และสกายไดรฟ์เชื่อว่าจะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมสำหรับการขนส่งรูปแบบใหม่ ส่วนลำตัวของยานบินเมื่อมองจากด้านข้างจะมีลักษณะเป็นรูปตัวเอส มาพร้อมใบพัดคู่เพื่อให้สามารถลอยตัวขึ้นสู่อากาศ และเมื่อมองลงมาจากด้านบนจะเห็นเป็นรูปร่างคล้ายนกนางแอ่นสีขาวมุก ซึ่งเป็นนกตัวเล็กที่ว่องไวและทะยานขึ้นสู่ที่สูงได้อย่างปราดเปรียว

ภาพที่ 2:
https://kyodonewsprwire.jp/prwfile/release/M105850/202209267185/_prw_PI6fl_6XF2f9o3.jpg

โครงยานบินออกแบบตามหลักอากาศพลศาสตร์ขั้นสูง โดยอ้างอิงจากการศึกษาสรีระอันเพรียวลมของนกและสัตว์ชนิดต่าง ๆ นอกจากนั้นส่วนหางของยานบินยังมีทั้งแนวนอนและแนวตั้ง ซึ่งช่วยเพิ่มความสมดุลในการบิน ส่วนมุมบนสุดของโครงยานบินติดตั้งใบพัดมอเตอร์ 12 ตัวเพื่อสร้างความเสถียรในการบิน ดีไซน์เหล่านี้แสดงถึงเทคโนโลยีการควบคุมการบินที่ได้มาจากการทดสอบบินมากกว่า 1,000 ครั้งในระหว่างการพัฒนาโครงยานบิน

ผู้เชี่ยวชาญจากสกายไดรฟ์ได้ร่วมมือกับพันธมิตรหลายรายในการพัฒนา SD-05 ซึ่งร่วมถึงบริษัท แจมโค คอร์ปอเรชัน (JAMCO Corporation) (*3) ผู้ผลิตและตกแต่งภายในเครื่องบิน, บริษัท โทเร คาร์บอน เมจิก จำกัด (Toray Carbon Magic Co., Ltd.) (*4) ผู้นำด้านพลาสติกที่ได้รับการเสริมแรงด้วยคาร์บอนไฟเบอร์ (CFRP) และบริษัท อิเล็กทริก พาวเวอร์ ซิสเต็มส์ อิงค์ (Electric Power Systems, Inc.) (*5) ผู้นำด้านการพัฒนาระบบแบตเตอรี่ที่ผสานกับระบบส่งกำลังสูงสำหรับเครื่องบินพลังงานไฟฟ้า ซึ่งมีคุณสมบัติตรงตามการรับรองประเภทยานพาหนะ

ด้วยพันธกิจในการเป็นผู้นำการปฏิวัติการขนส่งแห่งศตวรรษ สกายไดรฟ์กำลังพัฒนารถบินได้ที่มีความมั่นคงและปลอดภัยมากขึ้นผ่านการพัฒนาและการทดสอบสาธิตรถบินได้เชิงพาณิชย์ SD-05 ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เพื่อนำไปสู่อนาคตที่การขนส่งทางอากาศกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน

“เราตั้งตารอที่จะได้พบกับทุกท่านที่มหกรรมเวิลด์ เอ็กซ์โป โอซาก้า ในปี 2568” คุณยามาโมโตะ ผู้อำนวยการฝ่ายออกแบบของสกายไดรฟ์ กล่าว

ภาพที่ 3: https://kyodonewsprwire.jp/prwfile/release/M105850/202209267185/_prw_PI3fl_7710DNlZ.jpg

ภาพที่ 4: https://kyodonewsprwire.jp/prwfile/release/M105850/202209267185/_prw_PI4fl_98ccIudu.jpg

หมายเหตุ:
(*1) รถบินได้ ซึ่งมีชื่อเรียกนอกประเทศญี่ปุ่นว่า eVTOL (electric vertical takeoff and landing) หรือ อากาศยานไฟฟ้าที่บินขึ้นและลงจอดในแนวตั้ง คืออากาศยานที่ใช้พลังงานไฟฟ้า บินด้วยระบบอัตโนมัติเต็มรูปแบบ และบินขึ้น-ลงจอดในแนวตั้ง ซึ่งถือเป็นความก้าวหน้าล่าสุดในแวดวงการขนส่ง และการพัฒนารถบินได้กำลังได้รับการสนับสนุนทั่วโลก โดยในญี่ปุ่นนั้น สภาความร่วมมือภาครัฐ-เอกชนเพื่อปฏิวัติการเดินทางทางอากาศ (Public-Private Council for Air Mobility Revolution) ได้รับการจัดตั้งขึ้นในปี 2561 เพื่อการณ์นี้ ซึ่งคาดว่าจะนำไปสู่การให้บริการแท็กซี่อากาศในเขตเมือง การขนส่งรูปแบบใหม่ในพื้นที่ภูเขาและเกาะที่ห่างไกล และการขนส่งในกรณีฉุกเฉินเมื่อเกิดภัยพิบัติ ทั้งนี้ กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม (METI) และกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยว (MLIT) ได้ร่วมกันวางโรดแมปเพื่อเริ่มธุรกิจในช่วงปลายทศวรรษ 2560

(*2) ข่าวประชาสัมพันธ์จากสกายไดรฟ์เกี่ยวกับข้อตกลงพื้นฐานว่าด้วยการรับรองประเภทของรถบินได้ ซึ่งจัดทำร่วมกับกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยว
https://en.skydrive2020.com/archives/6379

(*3) ข่าวประชาสัมพันธ์จากสกายไดรฟ์เกี่ยวกับความร่วมมือกับบริษัท แจมโค คอร์ปอเรชัน (เฉพาะภาษาญี่ปุ่น)
https://skydrive2020.com/archives/9549

(*4) ข่าวประชาสัมพันธ์จากสกายไดรฟ์เกี่ยวกับความร่วมมือกับบริษัท โทเร คาร์บอน เมจิก จำกัด
https://en.skydrive2020.com/archives/6424

(*5) ข่าวประชาสัมพันธ์จากสกายไดรฟ์เกี่ยวกับความร่วมมือกับบริษัท อิเล็กทริก พาวเวอร์ ซิสเต็มส์ อิงค์
https://en.skydrive2020.com/archives/6429

เกี่ยวกับสกายไดรฟ์ อิงค์:
https://kyodonewsprwire.jp/attach/202209267185-O1-P01369p5.pdf

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการระดมทุนสำหรับโครงการนี้ได้ที่: https://en.skydrive2020.com/archives/7416

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: https://en.skydrive2020.com/

ที่มา: สกายไดรฟ์ อิงค์