9krapalm.com

รีวิวโน้ตบุ๊ค Asus X550Z (A10 -7400P) ชิป AMD FX-7400P

ผมมี Notebook จากค่าย Asus มารีวิวให้ชมครับ ชื่อรุ่นว่า Asus X550Z A10 -7400P เรียกสั้นๆ ว่า Asus X550Z เป็น Notebook รุ่นกลางๆที่มาพร้อมกับหน่วยประมวลตัวล่าสุดของ AMD อย่าง AMD FX-7400P  ทำงานที่ความเร็ว 2.7GHz เร่งได้สูงสุด 3.6GHz เป็นแบบ 4 Core (Quad-core) มีแคช 4MB นอกจากนั้นภายในประกอบด้วยกราฟฟิกการ์ด AMD Radeon R5 M230 + Radeon R7 M265 DX Dual Graphics Ram :  2GB DDR3 VRAM

Asus X550Z หน้าจอขนาด 15.6″ อัตราส่วนของภาพอยู่ที่ 16:9 ความละเอียด 1366×768 พิกเซล หน้าจอขนาดใหญ่เหมาะกับการดูหนัง เล่นเกมส์ ไม่เหมาะกับการพกพา เพราะน้ำหนักที่หนักเอาการอยู่ 2.3 กิโลกรัม หากน้ำหนักรวมที่ชาร์จก็เกือบๆ 3 กิโลกรัม (2.74 กิโลกรัม) ซึ่งน้ำหนักก็ไม่ได้แตกต่างจาก Notebook 15 นิ้วทั่วไป ส่วนขนาดของรุ่นนี้จะแตกต่างจาก Notebook รุ่นอื่นพอสมควร

Asus X550Z มาพร้อมกับคียบอร์ดแบบ Full Size มี Numeric keypad เหมือนกับคียบอร์ดคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถพิมพ์ตัวเลขได้สะดวกกว่าการพิมพ์ใน Notebook ทั่วไป แต่ก็แลกมาด้วยขนาดที่ใหญ่ขึ้น

คียอบร์ดทำออกมาได้ดีพอสมควร ดีกว่าหลายๆ รุ่นในราคารพดับเดียวกัน พิมพ์ง่าย ไม่ต้องออกแรงกดเยอะ ตอบสนองได้เร็ว มีปุ่มฟังก์ชั่นต่างๆ มาให้ใช้งานตามมาตรฐาน Notebook ทั่วไป

Touchpad ยังไม่ลื่นเท่าที่ควร ยิ่งเคยใช้ Macbook มาก่อนจะรู้สึกถึงความแตกต่างอย่างชัดเจน ถึงแม้จะรองรับการทำงานแบบ multi-point บวกรองรับ Smart Gesture แต่ก็ยังทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร หากให้แนะนำ ใช้งานแบบต่อเมาส์สะดวกกว่าครับ

ดีไซน์ของรุ่นนี้ทำออกมาให้ดูเหมือนเป็นโลหะ พยายามใส่เท็กเจอร์เข้ามาทุกส่วนทุกมุม ทำให้ดูแตกต่างจาก Notebook รุ่นทั่วไป มีความเรียบๆ แต่สวยหรู โทนสีเน้่นไปทางสีเทา เพราะะทำให้ตัวเครื่องคล้ายกับวัสดุที่เป็นโลหะมาก

ความน่าสนใจของรุ่นนี้คือรับประกันานถึง 24 เดือน

มาพร้อมกับชิปตระกูล AMD FX-7600P ข้างในประกอบด้วยการ์ดจอ AMD Radeon R5 M230 + Radeon R7 M265 DX Dual Graphics มีสติ๊กเกอร์แปะไว้ที่ตัวเครื่อง

ปุ่มเปิดเครื่องอยู่มุมซ้ายมือ การบูตเครื่องทำได้เร็วพอสมควร ความเร็วไม่หนีจาก Notebook ที่ใช้ฮาร์ดดิสด้วยกัน แต่อย่าเทียบกับ SSD เพราะสู้ไม่ได้อยู่แล้ว หากอยากให้เร็วขึ้นแนะนำให้เปลี่ยนฮาร์ดดิสเป็น SSD (แต่ก็ต้องเพิ่มเงินอีกหลายพัน)

ไฟสถานะแจ้งเตนือต่างๆ

ด้านซ้ายมีช่องต่อ USB 3.0 มีให้ 2 ช่อง นอกจากนั้นยังมี HDMI, VGA, LAN และช่องต่อหูฟังลำโพง ขนาด 3.5 มม.

ด้านขวามรช่องต่อ USB 2.0 อีก 1 ช่อง ตามด้วย DVD และช่องต่อสายชาร์จ นอกจากการเชื่อมต่อแบบสายปกติ ยังรองรับการเชื่อมต่อไร้สาย  WiFi 802.11 b/g/n และ Bluetoot 4.0 อีกด้วย

ด้านล่างของตัวเครื่อง

อะเดปเตอร์สำหรับชาร์จแบต ขนาดใหญ่พอสมควร

ด้านข้าง

ขนาดตัวเครื่องเมื่อเทียบกับจอคอมขนาด 22 นิ้ว และ Macbook Air 13 นิ้ว

ด้านข้อมูลสเปกของ Asus X550Z ก็มาพร้อมกับซีพียู AMD APU A10-7400P Quad-core ความเร็ว 2.70 GHz (up to 3.60 GHz) แคช 4 MB L2 Cache ส่วนชิปกราฟฟิกก็ใส่ตัวแนงมาให้เป็น AMD Radeon R5 M230 + Radeon R7 M265 DX Dual Graphics with 2GB DDR3 VRAM Built-in A10-7400P

บอร์ดตัวเครื่องก็เป็นของ Asus ผลิดเอง ชื่อรุ่นว่า X550ZE ในรุ่นนี้ให้ฮาร์ดดิสก์ขนาด 2.5 นิ้ว ความจุ 750GB มาให้

แรม DDR3L ขนาด 4GB ความเร็ว 1600 MHz สามารถเพิ่มแรมได้

ข้อมูลชิปกราฟฟิก แม้ว่ารุ่นนี้จะมาพร้อมกับการ์ดจอตระกูล AMD Radeon R5 AMD FX-7600P แต่ทำงานยังคงเหมาะกับงานทั่วไป และเล่นเกมส์ออนไลน์ เกมส์ PC ที่ไม่ต้องใช้กราฟฟิกโหดๆ เท่านั้น หากต้องการนำไปใช้งานอะไรที่นอกเหนือจากนี้คงต้องพิจารณากันใหม่ครับ เพราะรุ่นนี้คงไม่ตอบโจทย์แน่นอน

นอกจากนั้น Asus X550Z ยังมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Windows 8.1 Pro 64 bit ลิขสิทธิ์ของแท้ ไม่ต้องซื้อ Windows เพิ่ม หรือเอามาลง Windows เถื่อนเอง

ตัวอย่างโปรแกรม Task Manager เวลาใช้งานปกติทั่วไป เปิด Chrome กับโปรแกรมทดสอบเครื่องอีก 2-3 โปรแกรม แรมถูกใช้ไปแค่ 1.5GB ซีพียู วิ่งอยู่ราวๆ 4% โดยรวมเครื่องทำงานได้เลื่อนไหล บูตเร็ว แต่ยังช้ากว่าเมื่อเทียบกับเครื่งอที่เป็น SSD

ทดสอบประสิทธิภาพด้วยโปรแกรม PC Mark 8 ทำคะแนนได้ 1153 คะแนน อยู่ในระดับกลางๆ ตัวกราฟฟิกเหมาะกับเล่นเกมเบาๆ หรือปรับภาพของเกมส์ให้อยู่ในระดับต่ำจนถึงปานกลาง ผมได้ลองติดตั้งเกมส์ counter strike สามารถเล่นได้อย่างลื่นไหล แต่ถ้าเป็นเกมส์ที่กราฟฟิกโหดๆ อย่าง battlefield 4 ปรับความละเอียดปานกลาง ยังมีกระตุก ไม่ลื่นเท่าที่ควร หากเป็นพวกเกมส์ออนไลน์ หรือเกม PC ที่ไม่ต้องใช้กราฟฟิกเทพๆ เล่นได้อย่างแน่นอน

ทดสอบด้วยโปรแกรม 3D Mark ทำคะแนนได้ 871 คะแนน จะเเห็นได้ว่าพอเจอกราฟฟิกโหดๆ คะแนนจะลดลงอย่างมาก เพราะกว่าตัวกราฟฟิกเองไม่ได้ถูกนำมาเมื่อใช้งานกับการเล่นเกมที่โหดๆ

ความเร็วในการเขียนข้อมูล ความเร็วต่ำสุดอยู่ที่ 0.5 MB/s ความเร็วสูงสุด 92.8 MB/s ความเร็วเฉลี่ยอยู่ที่ 55.0 MB/s ซึ่งดูจะเป็นความเร็วที่ต่ำกว่ามาตรฐานพอสมควร ไม่แปน่ใจว่าในขณะทดสอบผมมีการเปิดโปรแกรมอะไรทำงานค้างไว้หรือเปล่า

 

Exit mobile version