9krapalm.com

ปลดล็อคการปฏิรูปสู่อุตสาหกรรม 4.0 สร้างศักยภาพด้วยเอดจ์คอมพิวติ้ง

โดย เปาโล โคลัมโบ ผู้อำนวยการแผนกพัฒนาการตลาด เพื่อผู้ประกอบการด้านการผลิตเครื่องจักรและผู้วางระบบ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค (Schneider Electric) และ รัสส์ ซาเกิร์ต ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ ด้านโซลูชัน IoT สำหรับเอดจ์ NetApp

อุตสาหกรรม 4.0 คือการปฏิวัติครั้งถัดไปของภาคอุตสาหกรรมการผลิต ที่ให้คำมั่นสัญญาในการนำเสนอการบูรณาการอย่างแท้จริงระหว่างเทคโนโลยีสารสนเทศหรือ IT และเทคโนโลยีการดำเนินงานหรือ OT เพื่อมอบศักยภาพที่ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานมากมายได้อย่างน่าทึ่ง อีกทั้งช่วยลดต้นทุน อย่างไรก็ตาม การจะบรรลุเรื่องดังกล่าว บริษัทจะต้องคิดทบทวนว่าได้ข้อมูลมาจากไหน อย่างไร รวมถึงมีกระบวนการดำเนินงานและการจัดเก็บที่ไหนอย่างไร ซึ่งเอดจ์คอมพิวติ้งสำหรับอุตสาหกรรมจะมีบทบาทสำคัญที่ช่วยในเรื่องดังกล่าว

สำหรับอุตสาหกรรม 3.0 ทั้งหมดล้วนเป็นเรื่องเกี่ยวกับระบบออโตเมชัน การเชื่อมต่ออุปกรณ์ และการกำหนดถึงสิ่งที่เราสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานด้วยเครื่องมือสำคัญด้านธุรกิจ ส่วนอุตสาหกรรม 4.0 ก็จะเกี่ยวข้องกับการนำรูปแบบการประมวลผลขั้นสูงมาใช้เพื่อให้มีข้อมูลช่วยสนับสนุนการตัดสินใจได้มากขึ้น บางมุมจะอยู่ที่ความเข้าใจพฤติกรรมและลักษณะการทำงานของเครื่องจักรแต่ละเครื่อง แต่ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ความเข้าใจเรื่องการทำงานพึ่งพากันในส่วนต่างๆ ทั้งสาเหตุและผลกระทบ ของสายการผลิตที่ซับซ้อนทั้งหมด รวมถึงการดำเนินการในโรงงาน กระทั่งที่เป็นเรื่องของตัวโรงงานเองก็ตาม

การจะเข้าใจเรื่องของการทำงานพึ่งพากันในส่วนต่างๆ ต้องอาศัยข้อมูล ซึ่งเป็นข้อมูลจำนวนมาก ข้อมูลดังกล่าวได้จากเซ็นเซอร์ต่างๆ จากอุปกรณ์ และเครื่องจักร และในหลายๆ กรณีต้องอาศัยการจัดการข้อมูลจากในพื้นที่ มากกว่าในดาต้าเซ็นเตอร์บนคลาวด์ เนื่องจากเป็นข้อมูลปริมาณมากที่ได้มาแบบเรียลไทม์

การดำเนินการได้อย่างถูกต้องสามารถให้ประโยชน์มากมายแก่ธุรกิจ ช่วยบริษัทในภาคอุตสาหกรรมได้หลายประเด็น ดังต่อไปนี้
• ลดต้นทุนการดำเนินงาน
• ปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน
• ได้ปริมาณงานมากขึ้น
• ลดเวลาที่ต้องเสียไปโดยไม่เกิดประสิทธิผลหรือการดาวน์ไทม์ที่ไม่ได้วางแผน
• ลดค่าใช้จ่ายและลดความถี่ในการบำรุงรักษา
• ปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์
• ลดปัญหาด้านสุขภาพของคนทำงาน และปัญหาเรื่องความปลอดภัย
• เพิ่มประสิทธิภาพให้กับซัพพลายเชน และลดสินค้าคงคลัง

ความท้าทายที่มาพร้อมกับการก้าวสู่อุตสาหกรรม 4.0
โดยทั่วไปลูกค้าจะเข้าใจดีถึงประโยชน์มากมายที่ได้จากอุตสาหกรรม 4.0 นอกจากนี้ ลูกค้าในเกือบทุกอุตสาหกรรม ต่างพยายามดิ้นรนเป็นอย่างมาก เพื่อดำเนินการสู่การปฏิรูป โดยจากการที่ได้ร่วมงานกับลูกค้าบางราย ทำให้เราได้ทราบถึงเหตุผลที่หลากหลายในเรื่องดังกล่าว

ไซต์การผลิตของลูกค้าส่วนใหญ่ จะดำเนินงานตลอดเวลา 24 ชั่วโมงใน 365 วัน ซึ่งเป็นอุปสรรคในการวางแผนเพื่อปรับเปลี่ยนระบบโครงสร้าง เมื่อมีการดาวน์ไทม์เกิดขึ้นก็จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานและกระทบถึงรายได้จากสายการผลิต

การนำทักษะ IT มาใช้ในสาย OT ถือเป็นอีกหนึ่งความท้าทายเช่นกัน ผู้เชี่ยวชาญด้าน OT ล้วนคุ้นเคยกับเครือข่าย โปรโตคอล และเครื่องมือต่างๆ เฉพาะสำหรับสายการผลิตที่ใช้มานานหลายปี แต่อุตสาหกรรม 4.0 คือการขอให้คนเหล่านั้นนำเทคโนโลยีที่อยู่ในโลกของดาต้าเซ็นเตอร์มาใช้ เช่น การสร้างความยืดหยุ่น การทนทานหรือรองรับในกรณีที่เกิดความผิดพลาด (fault-tolerance) และขีดความสามารถที่กำหนดโดยซอฟต์แวร์ ทั้งนี้ ในลักษณะเดียวกัน ผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีได้ก็จะเจอกับความท้าทายในการนำแนวคิดของดาต้าเซ็นเตอร์เหล่านั้นไปปรับใช้ในสภาพแวดล้อมด้านอุตสาหกรรม เพื่อนำเสนอโซลูชันเอดจ์คอมพิวติ้งที่เกี่ยวเนื่องกับดาต้าเซ็นเตอร์ ในแง่ของความน่าเชื่อถือ ประสิทธิภาพ และการรักษาความปลอดภัย

โซลูชันสำหรับอุตสาหกรรม 4.0 ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรม รวมถึงเซ็นเซอร์ระบบโครงสร้างในการประมวลผลไอทีและสตอเรจ และการเชื่อมต่อเครือข่าย ซึ่งต้องอาศัยความเชี่ยวชาญในการติดตั้งเพื่อให้บริการและช่วยในการปฏิรูปธุรกิจ ทว่าไม่มีผู้จำหน่ายรายใดที่สามารถจัดหาโซลูชันที่ครบวงจรสำหรับอุตสาหกรรม 4.0 ได้ในคราวเดียว ดังนั้นลูกค้าจึง จำเป็นต้องรับหน้าที่เปรียบเสมือนผู้รับเหมาที่จัดหาระบบโครงสร้างและความเชี่ยวชาญทั้งหมดที่ต้องการและทำให้ระบบทั้งหมดทำงานร่วมกันได้ หรือไม่ก็ต้องขอความช่วยเหลือจากผู้จำหน่าย หรือที่ปรึกษาที่น่าจะช่วยในเรื่องดังกล่าวได้

เรายังคงเห็นว่ามีการทดสอบความเป็นไปได้ของแนวคิด (POC) อยู่มากมายที่ยังใช้การไม่ได้ หลายบริษัทเริ่มทดสอบโซลูชัน แต่ก็ยังเห็นว่าเทคโนโลยีทั้งหมดที่อยู่รอบตัวมีการเปลี่ยนแปลงอยู่อย่างต่อเนื่อง ทำให้ตัดสินใจได้ยากว่าจะเลือกไปในแนวทางไหน เพราะกลัวว่าผู้จำหน่ายจะยึดติดและสนับสนุนเทคโนโลยีหรือแนวทางที่ไม่ถูกต้อง

เรื่องของข้อมูลก็เป็นอีกประเด็น โดย IDC ได้คาดการณ์ไว้ว่าจะมีข้อมูลถึง 79 เซตต้าไบต์ ที่มาจากอุปกรณ์ IoT จำนวน 1 พันล้านเครื่องภายในปี 2025 นอกจากนี้ มีหลายกรณีที่ข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลแบบไซโล และไม่สามารถเข้าถึงระบบวิเคราะห์ที่จำเป็นต่อการนำข้อมูลมาช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ องค์กรจะต้องพัฒนาแผนงานในการจัดการข้อมูลทั้งหมด รวมถึงนำแผนมาใช้ในการปรับปรุงการดำเนินงาน

สร้างการบูรณาการ IT/OT บนมาตรฐานระบบเปิด
การจะผสานรวมการทำงาน IT/OT ได้สำเร็จตามบัญญัติของอุตสาหกรรม 4.0 นั้น ลูกค้าต้องทลายระบบไซโลที่มีอยู่ในปัจจุบัน พร้อมสร้างรากฐานใหม่ในการทำงานบนแพลตฟอร์มมาตรฐานระบบเปิดสำหรับเอ็นเตอร์ไพร์ส แพลตฟอร์มมาตรฐานระบบเปิดจะช่วยให้ลูกค้าดำเนินการเรื่องต่างๆ เหล่านี้ ได้ดียิ่งขึ้น
1. บริหารจัดการปริมาณข้อมูลที่เพิ่มขี้นอย่างรวดเร็วที่เอดจ์ได้
2. ใช้ระบบวิเคราะห์แบบใหม่ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลเชิงลึกในการดำเนินงาน
3. เพิ่มความยืดหยุ่น ความปลอดภัยของข้อมูล และความน่าเชื่อถือ
4. เป็นระบบเปิด และมีความยืดหยุ่น สามารถปรับขยายขีดความสามารถในการทำงานได้ในตัวเอง
5. ทำงานร่วมกับผลิตภัณฑ์จากผู้จำหน่ายที่หลากหลายได้
6. ใช้แนวทางเดียวกันทั่วทั้งองค์กรตั้งแต่เริ่มติดตั้ง
7. แสดงให้เห็นถึงผลกระทบเชิงบวกต่อธุรกิจ ให้ความยั่งยืนในระยะยาว

แพลตฟอร์มใหม่ใดๆ ก็ตามที่จะนำมาใช้ ต้องบำรุงรักษาง่าย และไม่สร้างความซับซ้อน อีกทั้งสามารถให้ความยืดหยุ่นในการดำเนินงานแก่ลูกค้าหรือลดความเสี่ยงในการดำเนินงานได้มากขึ้น และสามารถติดตั้งเพื่อใช้งานได้โดยไม่กระทบต่อการดำเนินงานที่ทำอยู่ในปัจจุบัน

ความร่วมมือสำหรับโซลูชันอุตสาหกรรม 4.0
ตามที่กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ ไม่มีผู้จำหน่ายรายใดที่มอบทุกองค์ประกอบที่จำเป็นสำหรับโซลูชัน Industry 4.0 ได้ทั้งหมด และจะต้องส่งมอบผ่านการประสานความร่วมมือกับพันธมิตรที่เป็นผู้จำหน่าย ซึ่งแต่ละรายก็จะให้ทักษะ ผลิตภัณฑ์ และบริการของตน ทำให้ลูกค้าไม่ต้องรับบทเป็นผู้รับเหมาอีกต่อไป

นั่นคือสาเหตุที่ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ร่วมมือกับเน็ตแอพ (NetApp) เพื่อส่งมอบโซลูชันไอทีที่ครบวงจร ช่วยสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่อุตสาหกรรม 4.0

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค นำเสนอการสนับสนุนอย่างเต็มรูปแบบในเรื่องระบบโครงสร้างสำหรับสภาพแวดล้อมเอจด์ รวมถึงตู้แร็ค พลังงาน ระบบทำความเย็น และระบบรักษาความปลอดภัยทางกายภาพที่เหมาะสำหรับสภาพแวดล้อมต่างๆ ตลอดจนกรณีการใช้งานในภาคอุตสาหกรรมที่มีการใช้งานแบบสมบุกสมบั่น โดยมีลูกค้าจำนวนมากที่อาจใช้ซอฟต์แวร์ด้านการวิเคราะห์ และบริการในส่วน EcoStruxure ของชไนเดอร์ อิเล็คทริคกันอยู่แล้ว รวมถึงโซลูชันด้านการบริหารจัดการระบบไอทีจากระยะไกล

เน็ตแอพ จะช่วยคุณจัดการข้อมูลที่เกิดจากการใช้โซลูชัน IIoT ด้วยการนำเสนอ data fabric พร้อมระบบบริหารจัดการที่ครอบคลุมตั้งแต่เอดจ์ ไปยังดาต้าเซ็นเตอร์ ตลอดจนคลาวด์ ทั้งนี้ สภาพแวดล้อมที่กำหนดการทำงานด้วยซอฟต์แวร์ ช่วยให้บริหารจัดการข้อมูลได้ง่าย มีประสิทธิภาพและปลอดภัย คุณสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนหรือในเวลาใดก็ตาม

ทั้งสองบริษัท ต่างมีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้เล่นรายสำคัญในระบบนิเวศของอุตสาหกรรม 4.0 ไม่ว่าจะเป็นผู้ให้บริการโซลูชันไอที ผู้วางระบบอุตสาหกรรม และผู้ให้บริการระบบสารสนเทศสำหรับโรงงาน พร้อมด้วยการออกแบบที่ใช้ในการอ้างอิง ซึ่งเป็นตัวกำหนดว่าทุกอย่างจะทำงานร่วมกันได้อย่างไร โดยการร่วมมือระหว่างเรา จะช่วยในการนำเสนอโซลูชันที่สมบูรณ์แบบ ซึ่งช่วยให้คุณได้รับคุณค่าทางธุรกิจได้เร็วยิ่งขึ้น

Exit mobile version