Lazada

คิวเอส จัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกด้านความยั่งยืน ประจำปี 2566

คิวเอส ควัคควาเรลลี ซีมอนด์ส (QS Quacquarelli Symonds) เปิดเผยผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกด้านความยั่งยืน (QS World University Rankings: Sustainability) ครั้งแรก ซึ่งเป็นกรอบการทำงานใหม่ในการประเมินว่ามหาวิทยาลัยต่าง ๆ ดำเนินการอย่างไรเพื่อจัดการกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมที่เร่งด่วนที่สุดในโลก

คุณเจสสิกา เทอร์เนอร์ (Jessica Turner) ซีอีโอของคิวเอส กล่าวว่า “คิวเอสต้องการให้นักศึกษาในอนาคตได้รับข้อมูลเชิงลึกที่เป็นอิสระเกี่ยวกับการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยในการส่งเสริมความยั่งยืน รวมทั้งสนับสนุนมหาวิทยาลัยให้ติดตามความก้าวหน้าของตนเองในการดำเนินกลยุทธ์ด้าน ESG [1] พร้อมกับแสวงหาแนวทางรับมือกับความท้าทายระดับโลกที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน”

การจัดอันดับมหาวิทยาลัย 700 แห่งพิจารณาจากผลรวมของคะแนนในสองส่วน ดังนี้

ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (ประกอบด้วยปัจจัยชี้วัดสามประการ ได้แก่ สถาบันที่ยั่งยืน การศึกษาที่ยั่งยืน และการวิจัยที่ยั่งยืน)
ผลกระทบทางสังคม (ประกอบด้วยปัจจัยชี้วัดห้าประการ ได้แก่ ความเท่าเทียม การแลกเปลี่ยนความรู้ ผลกระทบของการศึกษา การจ้างงานและโอกาส และคุณภาพชีวิต)
มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ รั้งอันดับหนึ่งของโลก ตามมาด้วยมหาวิทยาลัยโทรอนโต และมหาวิทยาลัยบริติชโคลัมเบีย ส่วนมหาวิทยาลัยเอดินเบอระ รั้งอันดับ 4 ของโลกและเบอร์หนึ่งในสหราชอาณาจักร ขณะที่มหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์และมหาวิทยาลัยซิดนีย์ ครองอันดับ 5 ร่วมกัน ตามมาด้วยมหาวิทยาลัยโตเกียว ที่รั้งอันดับ 7 ของโลกและเบอร์หนึ่งของเอเชีย ส่วนมหาวิทยาลัยที่เหลือที่ติด 10 อันดับแรกคือ มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย มหาวิทยาลัยเยล และมหาวิทยาลัยโอ๊คแลนด์

ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกด้านความยั่งยืนของคิวเอส ประจำปี 2566: 20 อันดับแรก
อันดับปี 2566
1 มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ (UC Berkeley) สหรัฐอเมริกา
2 มหาวิทยาลัยโทรอนโต (University of Toronto) แคนาดา
3 มหาวิทยาลัยบริติชโคลัมเบีย (University of British Columbia) แคนาดา
4 มหาวิทยาลัยเอดินเบอระ (The University of Edinburgh) สหราชอาณาจักร
5= มหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ (UNSW Sydney) ออสเตรเลีย
5= มหาวิทยาลัยซิดนีย์ (The University of Sydney) ออสเตรเลีย
7 มหาวิทยาลัยโตเกียว (The University of Tokyo) ญี่ปุ่น
8 มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย (University of Pennsylvania) สหรัฐอเมริกา
9 มหาวิทยาลัยเยล (Yale University) สหรัฐอเมริกา
10 มหาวิทยาลัยโอ๊คแลนด์ (The University of Auckland) นิวซีแลนด์
11 มหาวิทยาลัยอุปซอลา (Uppsala University) สวีเดน
12 มหาวิทยาลัยลุนด์ (Lund University) สวีเดน
13 มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ (University of Glasgow) สหราชอาณาจักร
14 มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เดวิส (University of California, Davis) สหรัฐอเมริกา
15 มหาวิทยาลัยอาร์ฮุส (Aarhus University) เดนมาร์ก
16 มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด (University of Oxford) สหราชอาณาจักร
17 มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น (Western University) แคนาดา
18 มหาวิทยาลัยนิวคาสเซิล (Newcastle University) สหราชอาณาจักร
19 มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (University of Cambridge) สหราชอาณาจักร
20 มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University) สหรัฐอเมริกา
(C) คิวเอส ควัคควาเรลลี ซีมอนด์ส 2547-2565 TopUniversities.com สงวนลิขสิทธิ์
ผลการจัดอันดับยังเผยให้เห็นว่า สหรัฐอเมริกาครองตารางด้วยจำนวนมหาวิทยาลัยที่ติดอันดับมากที่สุด 135 แห่ง ตามมาด้วยสหราชอาณาจักร (67), เยอรมนี (39), จีนแผ่นดินใหญ่ (37), ออสเตรเลีย (33) และอิตาลี (31)

สองมหาวิทยาลัยจากสวีเดนครองอันดับสูงสุดในยุโรปภาคพื้นทวีป ได้แก่ มหาวิทยาลัยอุปซอลาและมหาวิทยาลัยลุนด์ ที่อันดับ 11 และ 12 ของโลก ส่วนเดนมาร์กรั้งที่สามของยุโรปภาคพื้นทวีป นั่นคือ มหาวิทยาลัยอาร์ฮุส (อันดับ 15 ของโลก)
ในด้านการวิจัยที่ยั่งยืน มหาวิทยาลัยสี่แห่งจากสแกนดิเนเวียติดท็อป 5 ของโลก ขณะที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (National University of Singapore) รั้งอันดับหนึ่งของโลก
มหาวิทยาลัยเซาเปาลู (Universidade de S?o Paulo) (อันดับ 34) ครองอันดับสูงสุดในลาตินอเมริกา
มหาวิทยาลัยเคปทาวน์ (University of Cape Town) (อันดับ 132) ครองอันดับสูงสุดในแอฟริกา
มหาวิทยาลัยปักกิ่ง (Peking University) (อันดับ 118) ทำผลงานได้ดีที่สุดในจีน ส่วนมหาวิทยาลัยไอไอที บอมเบย์ (IIT Bombay) ทำผลงานได้ดีที่สุดในอินเดีย (281-300)
[1] สิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG)

โลโก้ – https://mma.prnewswire.com/media/1503777/QS_World_University_Rankings_Logo.jpg