Lazada

การแข่งขันแผนธุรกิจระดับโลกลี กวนยู ครั้งที่ 11 เชิญชวนนักนวัตกรรมรุ่นใหม่ทั่วโลกเข้าร่วมพลิกโฉมอนาคตที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง

สถาบันนวัตกรรมและความเป็นผู้ประกอบการ (Institute of Innovation and Entrepreneurship หรือ IIE) ของมหาวิทยาลัยการจัดการสิงคโปร์ (Singapore Management University หรือ SMU) ประกาศเปิดรับสมัครผู้สนใจเข้าร่วมการแข่งขันแผนธุรกิจระดับโลกลี กวนยู (Lee Kuan Yew Global Business Plan Competition หรือ LKYGBPC) ครั้งที่ 11

การแข่งขันในหัวข้อนวัตกรรมไร้พรมแดน – พลิกโฉมอนาคตที่ชาญฉลาด ยั่งยืน และยืดหยุ่น (Innovations Without Boundaries – Reimagining a Smart, Sustainable, and Resilient Future) มีจุดมุ่งหมายในการรวบรวมพรสวรรค์เฉียบคมและความคิดของผู้ประกอบการจากมหาวิทยาลัยทั่วโลก เพื่อเสนอแนวคิดและการแก้ปัญหาที่จะจัดการกับความท้าทายในยุคปัจจุบัน เพื่อพลิกโฉมอนาคต

LKYGBPC เป็นการแข่งขันสาขานี้ครั้งใหญ่ที่สุดในภูมิภาค โดยมุ่งเน้นที่โซลูชันเทคโนโลยีขั้นสูงจากหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น สุขภาพและศักยภาพมนุษย์ การผลิต การค้าและการเชื่อมต่อ สื่อและความบันเทิง ประเทศอัจฉริยะและเศรษฐกิจดิจิทัล โซลูชันเมือง ความยั่งยืน และอีกมากมาย

ผู้เข้าร่วมเลือกสมัครได้โดยมีให้เลือก 2 สาขา ได้แก่ 0 to 1 ซึ่งมุ่งเน้นไปที่ทีมที่ยังไม่มีการสร้างรายได้ด้วยเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง หรือ 1 to Infinity ซึ่งมุ่งเน้นไปที่สตาร์ตอัปที่เพิ่งมีการสร้างรายได้ในระยะเริ่มต้น จนถึงระดับการระดมทุนซีรีส์ เอ

ฮอ โกห์ ฟู ( Hau Koh Foo) ผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมและความเป็นผู้ประกอบการ สังกัดมหาวิทยาลัยการจัดการสิงคโปร์ ได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับ LKYGBPC ครั้งนี้ว่า “การแข่งขันครั้งนี้มุ่งหวังที่จะเป็นเวทีสำหรับสิงคโปร์ในการร่วมมือกับนักธุรกิจสายเทคโนโลยีรุ่นใหม่ เพื่อรับมือกับความท้าทายเหล่านี้ และอำนวยความสะดวกในการนำโซลูชันเหล่านี้ไปใช้ เพื่อให้สิงคโปร์และเอเชียเป็นแหล่งกำเนิดแรงบันดาลใจสำหรับการใช้ชีวิตในชุมชนเมืองด้วยดิจิทัลอย่างยั่งยืน”

ในเดือนมิถุนายน 2566 จะมีการเลือกทีมผู้เข้ารอบสุดท้ายจำนวน 50 ทีม (RVLT50) โดยที่สมาชิกสองคนต่อทีมจะมีสิทธิ์ได้รับการสนับสนุนการเดินทาง (ตั๋วเครื่องบินและที่พัก) ไปยังสิงคโปร์ เพื่อเข้าร่วมงานเบลซ (BLAZE) ซึ่งเป็นสัปดาห์สุดท้ายของการประกวด LKYGBPC ระหว่างวันที่ 11-15 กันยายน 2566 พวกเขาจะเข้าร่วมกิจกรรมที่เน้นด้านนวัตกรรม ความรู้ การให้คำปรึกษา และการสร้างเครือข่าย

งานเบลซยังจะเปิดเวทีให้ทีมที่เข้ารอบสุดท้ายได้นำเสนอผลงานกันแบบสด ๆ ต่อหน้าคณะกรรมการผู้ตัดสินรางวัล เพื่อคว้ารางวัลชนะเลิศในหมวดเบต้า (Beta) และอินฟินิตี (Infinity) โดยจะประกาศชื่อทีมที่ชนะในวันที่ 15 กันยายน 2566

รางวัลมูลค่า 2 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ได้รับการสนับสนุนจากพันธมิตรดังต่อไปนี้

วิลมาร์ อินเตอร์เนชันแนล (Wilmar International) ซึ่งเป็นพันธมิตรผู้ก่อตั้ง
เอพีอาร์ดับเบิลยู (APRW)
ลีแอนด์ลี (Lee & Lee)
เมย์แบงก์ (Maybank)
แมคคินซี่ แอนด์ คอมพานี (McKinsey & Company)
ศูนย์ซูเปอร์คอมพิวติงแห่งชาติสิงคโปร์ (National Supercomputing Centre Singapore)
โอยูอี (OUE)
เซจ พาร์ตเนอร์ส (Sage Partners)
ซิโน กรุ๊ป (Sino Group)
เวฟเมกเกอร์ พาร์ตเนอร์ส (Wavemaker Partners)
การประกวด LKYGBPC ครั้งที่ 10 เมื่อปี 2564 มีผู้ส่งผลงานเข้าร่วมกว่า 850 รายการ จากมหาวิทยาลัย 650 แห่ง ใน 60 ประเทศและดินแดน โดยทีมจากมหาวิทยาลัยชั้นนำในเอเชีย ยุโรป และสหรัฐเข้าร่วมแข่งขันใน RVLT50

ปิดรับสมัครวันที่ 31 มีนาคม 2566