Lazada

กลับมาอีกครั้งกับงาน Industrial Transformation ASIA-PACIFIC 2022 มุ่งกระตุ้นการเติบโตของอุตสาหกรรมการผลิตที่ล้ำสมัยในภูมิภาคอย่างยั่งยืน

งานจัด 3 วัน คาดมีผู้เข้าร่วมทั้งออนกราวด์และออนไลน์กว่า 18,000 ราย

คอนสเตลลาร์ (Constellar) ร่วมกับพาร์ทเนอร์ระดับนานาชาติอย่างด็อยท์เชอ เม็สเซอ (Deutsche Messe) จัดงาน “พลิกโฉมอุตสาหกรรมในเอเชีย-แปซิฟิก” (Industrial Transformation ASIA-PACIFIC หรือ ITAP) ครั้งที่ 5 ตั้งแต่วันที่ 18-20 ต.ค.ในปีนี้ ที่สิงคโปร์เอ็กซ์โป (Singapore EXPO) โดยคาดว่าผู้เข้าร่วมงานจะรวมถึงผู้แทนจากเวทีการประชุมเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum: WEF) ตลอดจนผู้แทนคนสำคัญจากยุโรป, สหรัฐ และเอเชีย ที่จะมาขับเคลื่อนความร่วมมือระหว่างกลุ่มผู้นำอุตสาหกรรม 4.0 กับผู้ผลิตภายในภูมิภาค

ITAP 2022 จะมาในธีม ‘อุตสาหกรรม 4.0 เพื่อความยั่งยืนในภาคธุรกิจ’ (Industry 4.0 for Business Sustainability) โดยเจาะลึกใน 3 มิติหลัก ได้แก่ การเปลี่ยนมาใช้ระบบดิจิทัล เพื่อเร่งผลิตภาพและการควบคุมคุณภาพด้วยต้นทุนที่ต่ำลง โครงการพัฒนาคนเก่งและแรงงาน เพื่อให้บุคลากรได้มีชุดทักษะที่เหมาะสำหรับการเปลี่ยนแปลง ตลอดจนมาตรการความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อช่วยให้ธุรกิจต่าง ๆ สามารถลดคาร์บอนฟุตพรินท์และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

คุณเจมส์ โบย (James Boey) รองประธานอาวุโสฝ่ายตลาด (B2B) จากคอนสเตลลาร์ กล่าวว่า “นวัตกรรมและเทคโนโลยีการผลิตที่ล้ำสมัยมีบทบาทสำคัญมากในการช่วยให้หลาย ๆ องค์กรสามารถก้าวข้ามปัญหาการหยุดชะงักของซัพพลายเชนทั่วโลก และสามารถปรับโมเดลธุรกิจของตนในภูมิทัศน์ยุคหลังโควิด ITAP 2022 ในฐานะงานอีเวนท์ทางการค้าชั้นนำสำหรับอุตสาหกรรม 4.0 ในภูมิภาค จะเดินหน้าสนับสนุนให้อุตสาหกรรมการผลิตและอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ใช้ประโยชน์จากอุตสาหกรรม 4.0 เพื่อการพัฒนาธุรกิจที่ยั่งยืนในระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาค และระดับโลก”

ไฮไลท์ในงาน: พิธีเปิด

ท่านเฮง สวี เกียต (Heng Swee Keat) รองนายกรัฐมนตรีแห่งสิงคโปร์ จะเป็นแขกผู้มีเกียรติกล่าวปราศรัยในพิธีเปิดงาน ITAP 2022 อย่างเป็นทางการ ร่วมกับ ฯพณฯ ท่าน นอร์แบทซ์ รีเดล (Norbert Riedel) เอกอัครราชทูตเยอรมนีประจำประเทศสิงคโปร์ ตลอดจนคุณอาร์โน ไรช์ (Arno Reich) รองประธานอาวุโสของด็อยท์เชอ เม็สเซอ ผู้เป็นพาร์ทเนอร์ระดับนานาชาติของงาน ITAP

ตลอดงานทั้ง 3 วันจะเริ่มด้วยคุณวิชาล อัครวาล (Vishal Agarwal) พาร์ทเนอร์ระดับอาวุโสจากบริษัทแมคคินซี แอนด์ คอมพานี (Mckinsey & Company) ที่จะมาอัปเดตข่าวสารสำหรับผู้นำในอุตสาหกรรม ว่าด้วยภูมิทัศน์อุตสาหกรรมการผลิตทั่วโลก จากนั้นคุณเนียว กิม ฮวย (Neo Gim Huay) กรรมการผู้จัดการศูนย์ธรรมชาติและสภาพอากาศแห่งเวทีการประชุมเศรษฐกิจโลก จะมาเผยวิธีที่ผู้ผลิตสามารถใช้ประโยชน์จากความร่วมมือแบบข้ามภาคส่วนเพื่อพลิกโฉมห่วงโซ่คุณค่า ตลอดจนบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net Zero

ทั้งคุณเนียวและคุณอัครวาลจะมาร่วมการเสวนา ที่ดำเนินรายการโดยคุณชาร์ลี อัง (Charlie Ang) ผู้ศึกษาอนาคตของโลกและดิจิทัล เพื่อร่วมพูดคุยถึงเทรนด์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภูมิภาค รวมถึงพัฒนาการสำคัญที่จะกำหนดทิศทางของภาคธุรกิจในทศวรรษหน้า

ไฮไลท์ในงาน: สัมผัสประสบการณ์จริงสุดดื่มด่ำในงานจัดแสดง

ผู้จัดแสดงผลงานมากกว่า 200 ราย จากกว่า 20 ประเทศ จะนำเสนอนวัตกรรมล่าสุดในระบบอัตโนมัติทางอุตสาหกรรม, อินทราโลจิสติกส์, โรงงานดิจิทัล และการผลิตแบบเพิ่มเนื้อวัสดุ ณ ชั้นจัดแสดงของสิงคโปร์เอ็กซ์โป ฮอลล์ 2 และฮอลล์ 3

ผู้ที่มางานจะได้พบกับการเปิดตัวผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมใหม่มากกว่า 15 รายการ ณ เวทีการแสดงสดงาน ITAP 2022 ที่สิงคโปร์เอ็กซ์โป ฮอลล์ 3 ควบคู่ไปกับการนำเสนอเซ็กเมนต์ตลาดและเจาะลึกในแต่ละภาคธุรกิจ ส่วน “เลานจ์สานสัมพันธ์นานาประเทศ” (International Connect Lounge) ที่ฮอลล์ 2 จะจัดเซสชันการจับคู่ทางธุรกิจหลักเพื่อสร้างพันธมิตรและสร้างความร่วมมือกันระหว่างคณะผู้แทน, ผู้จัดแสดงผลงาน และผู้เยี่ยมชมงานที่มาจากภาคธุรกิจ

นอกจากนี้ ITAP ยังได้เพิ่มจำนวนโซนประสบการณ์อีกเท่าตัวเป็น 4 แห่ง ได้แก่

-ประตูสู่การพลิกโฉมอย่างยั่งยืน (Gateway to Sustainable Transformation) สนับสนุนโดย T?V S?D โดยเป็นการคัดสรรการนำเสนอธีมหลักที่ขับเคลื่อนเส้นทางการพลิกโฉมอุตสาหกรรม กล่าวคือ อุตสาหกรรม 4.0, ความยั่งยืน และปัญญาประดิษฐ์ T?V S?D มีการดำเนินธุรกิจกระจายอยู่ทั่วโลก พร้อมด้วยความรู้ทางเทคนิคเชิงลึก ตลอดจนงานบริการประเมินผล ให้คำรับรองและให้คำปรึกษา ด้วยคุณสมบัติเหล่านี้ T?V S?D สามารถช่วยให้องค์กรต่าง ๆ ปรับสเกลเทคโนโลยีในการเปลี่ยนมาใช้ระบบดิจิทัลและการพลิกโฉมความยั่งยืน

-โซนประสบการณ์การพลิกโฉมอุตสาหกรรม (Industrial Transformation Experience Zone) สนับสนุนโดยสถาบันสิงคโปร์โพลีเทคนิค (Singapore Polytechnic: SP) ที่จะจัดสรรพื้นที่ออกเป็น 9 ส่วน แต่ละส่วนจะจัดแสดงเทคโนโลยีล่าสุดและโซลูชันที่ช่วยให้เกิดอุตสาหกรรม 4.0 (i4.0) SP มีชุดขีดความสามารถด้านการฝึกอบรมและการหาโซลูชันตั้งแต่ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ไปจนถึงการเปลี่ยนมาใช้ระบบดิจิทัล และการพัฒนาบุคลากร

-ศูนย์ประสบการณ์ดิจิทัลทวิน (Digital Twin Experience Centre) สนับสนุนโดยเบกา (Beca) ร่วมกับคอนสเตลลาร์ ที่จะมอบประสบการณ์สุดดื่มด่ำแก่ผู้เยี่ยมชมงานที่มาจากภาคธุรกิจ ผ่าน 4 กรณีการใช้งานในการผลิตโดยเฉพาะเพื่ออธิบายแนวคิดดิจิทัลทวิน ผู้เยี่ยมชมจะได้เข้าใจว่า ที่ผ่านมาดิจิทัลทวินช่วยให้องค์กรต่าง ๆ คิดหาแนวทางใหม่ในการเร่งการเพิ่มผลิตภาพและการบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนได้อย่างไร

โชว์ประสบการณ์การผลิตแบบเพิ่มเนื้อวัสดุ (Additive Manufacturing Experience Showcase) สนับสนุนโดยกลุ่มความร่วมมือนวัตกรรมการผลิตแบบเพิ่มเนื้อวัสดุแห่งชาติของสิงคโปร์ (NAMIC) ที่จะพาผู้เยี่ยมชมไปสัมผัสประสบการณ์แบบครบวงจรตลอดช่วงห่วงโซ่คุณค่าการผลิตแบบเพิ่มเนื้อวัสดุ โดยมีผลิตภัณฑ์แห่งนวัตกรรมที่มีดีไซน์ที่เหมาะสมกับทอพอโลยีตามเวิร์กโฟลว์ดิจิทัลแบบบูรณาการ โดยมีการจัดหาวัสดุรีไซเคิลอย่างยั่งยืน

ไฮไลท์ในงาน: เชื่อมสัมพันธ์กับผู้เชี่ยวชาญชั้นนำทั่วทั้งการประชุม 5 รายการ

-ผู้เยี่ยมชมที่มาจากภาคธุรกิจจะสามารถเข้าร่วมการประชุมได้ทั้ง 5 รายการที่มีเซสชันมากกว่า 120 รายการ จากผู้บรรยายกว่า 150 ท่านตลอด 3 วัน

-เวทีการประชุมการพลิกโฉมอุตสาหกรรม ( Industrial Transformation Forum: ITF) ในวันที่ 18 ต.ค. 2565 จะมีกลุ่มผู้นำอุตสาหกรรมจากทั่วโลกมาแชร์ข้อมูลเชิงลึกในเรื่องเทรนด์ที่กำลังจะมาถึง เพื่อช่วยให้ธุรกิจต่าง ๆ ได้กำหนดเส้นทางการเปลี่ยนมาใช้ระบบดิจิทัล สู่ความสำเร็จในภาคปฏิบัติ และการพัฒนากลยุทธ์ความยืดหยุ่นเพื่อรับมือกับวิกฤตในอนาคต

ผู้บรรยายใน ITF ประกอบด้วย

-คุณเอิง เทียน ชอง (Ng Tian Chong) กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเกรตเตอร์เอเชียจากบริษัทเอชพี (HP) ซึ่งจะแสดงปาฐกถาสำหรับผู้นำ I4.0 เพื่อยกระดับกลยุทธ์การเปลี่ยนมาใช้ระบบดิจิทัล เพื่อให้ยังคงยืนหยัดได้ในตลาดที่เปลี่ยนแปลงเร็ว

-คุณริชาร์ด โก (Richard Koh) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีและหัวหน้าฝ่ายความสำเร็จของลูกค้า จากบริษัทไมโครซอฟต์ ประจำประเทศสิงคโปร์ (Microsoft Singapore) ซึ่งจะมาบอกเล่าบทบาทสำคัญของเมตาเวิร์สทางอุตสาหกรรมในการเร่งกระบวนการและความร่วมมือทางธุรกิจ ไปพร้อมกับการลดต้นทุน และ

-คุณฟรานซิสโก เบตติ (Francisco Betti) หัวหน้าฝ่ายการผลิตและอุตสาหกรรมการผลิตที่ล้ำสมัย จากเวทีการประชุมเศรษฐกิจโลก ซึ่งมาร่วมเสวนาถึงปัจจัยระดับมหภาคและประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมที่เป็นตัวขับเคลื่อนอนาคตของอุตสาหกรรมการผลิตอย่างยั่งยืน

-การประชุมสุดยอด CXO ว่าด้วยอนาคตของอุตสาหกรรมการผลิต (Future of Manufacturing CXO Summit: FoM) ในวันที่ 19 ต.ค. 2565 ที่จัดขึ้นร่วมกับหน่วยงานด้านวิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี และการวิจัย (Agency for Science, Technology and Research: A*STAR) มีจุดมุ่งหมายเพื่อสนับสนุนการเปิดรับและการนำ I4.0 มาใช้ทั่วทั้งอุตสาหกรรม รวมถึงการแก้ปัญหาต่าง ๆ อาทิ ประสิทธิภาพการผลิต, โซลูชันพลังงานทดแทน และเศรษฐกิจหมุนเวียน

-การประชุมสุดยอดอุตสาหกรรมการผลิตแบบเพิ่มเนื้อวัสดุ NAMICGlobal (NAMICGlobal Additive Manufacturing Summit: GAMS) ซึ่งจะจัดขึ้น 2 วันภายในงาน ตั้งแต่ 19-20 ต.ค. 2565 โดยจะลงลึกในประเด็นร่วมสมัยต่าง ๆ และเป็นการรวมตัวกันของกลุ่มผู้นำทางความคิดในภาคอุตสาหกรรมการผลิตแบบเพิ่มเนื้อวัสดุและผู้เชี่ยวชาญด้านแอปพลิเคชันจากทั่วโลกที่จะใช้การพิมพ์ 3 มิติเพื่อช่วยทำให้โลกดีขึ้น

-ซีรีส์ LogiSYM แพลทินัม (LogiSYM Platinum) ในวันที่ 19 ต.ค. 2565 จะเป็นการประชุมโต๊ะกลมแห่งแรกแบบต้องได้รับเชิญเท่านั้นที่ไม่เหมือนใครในอุตสาหกรรมสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านซัพพลายเชนระดับอาวุโส เพื่อหารือกันว่าองค์กรต่าง ๆ จะสามารถจัดการกับสถานการณ์ต่าง ๆ ในระดับโลก และจะเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและซัพพลายเชนของตนได้อย่างไร

-เวทีการประชุมมาตรฐาน ( Standards Forum) ในวันที่ 20 ต.ค. 2565 จัดขึ้นโดยคณะกรรมการมาตรฐานสิงคโปร์ (Singapore Standards Council) และองค์การวิสาหกิจของสิงคโปร์ (Enterprise Singapore) ที่เหล่าผู้เชี่ยวชาญจะมาแชร์วิธีที่ชุมชนมาตรฐานทั่วโลกจะสนับสนุนหลักปฏิบัติด้านความยั่งยืน ซึ่งจะขับเคลื่อนผลสำเร็จในแบบที่สามารถวัดผลได้ทั่วทั้งห่วงโซ่คุณค่า ผ่านโซลูชันและมาตรฐาน I4.0

ข้อมูลงานอีเวนท์
-เอกสารสรุปข้อมูลสำคัญ
-คู่มือกำหนดการในงาน
-ไฮไลท์ผู้บรรยาย
-รวมวาทะจากผู้จัดแสดงผลงานหลัก