9krapalm.com

“เรียลสมาร์ท” เผยเบื้องหลังเทคโนโลยี AI จับกระแสโลกออนไลน์ ใช้ Social Listening สะท้อนความคิดทิศทางของสังคม บทพิสูจน์ชัดจากกรณีเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.

นับว่าประสบความสำเร็จไปอีกขั้น ที่บริษัท เรียล สมาร์ท จำกัด Digital Super Agency ได้นำ Social Listening ที่ถือเป็นเทคโนโลยี AI เข้ามาใช้เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในโลกออนไลน์ ในการเกาะติดสถานการณ์การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ที่ผ่านมา ย้ำ!! ได้ผลสำรวจที่สะท้อนข้อเท็จจริงใกล้เคียงความต้องการของคนกรุงมากที่สุดและคลอบคลุมทุกมิติ

นางพงษ์ทิพย์ เทศะภู ประธานสายงานประชาสัมพันธ์ บริษัท เรียล สมาร์ท จำกัด เผยว่า “บริษัทของเรามีความเชี่ยวชาญ ในด้านเทคโนโลยีสื่อสารการตลาด หรือ มาร์เทค (Marketing Technology) แบบครบวงจร เราจึงเลือกทำ Social Listening มาเป็นเครื่องมือ ที่จะมาช่วยสะท้อนให้เห็นทิศทางสังคมที่เกิดขึ้นจริง ซึ่ง Social Listening ไม่ใช่การทำโพลสำรวจความเห็นในโลกออนไลน์ แต่เป็นการรับฟังเสียงที่เกิดขึ้น และมีอยู่แล้วในสังคมออนไลน์ เพียงใช้ key word หรือคำสำคัญ มาเป็นตัวกรองชุดข้อมูลมหาศาลที่มีอยู่ในแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆ ที่เป็นสาธารณะ ก็ทำให้รู้ได้ว่ากระแสสังคมต่อประเด็นนั้นๆ มีทิศทางเป็น อย่างไร เป็นบวก เป็นลบ หรือมีแนวโน้มขยายเป็นวิกฤต

จากการที่ เรียล สมาร์ท ได้ร่วมเกาะติดสถานการณ์การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ที่ผ่านมา เราร่วมกับสำนักข่าวอิสรา จัดทำ Social Listening เพื่อสำรวจความสนใจชาวเน็ตเกี่ยวกับความคิดเห็นที่มีต่อการเลือกตั้งครั้งนี้ ตลอดจนสำรวจความต้องการเพื่อสะท้อนปัญหาต่างๆ ของคนกรุงเทพฯ ในโซเชียลมีเดีย นับว่าประสบความสำเร็จในระดับดีเยี่ยม โดยในการทำงาน AI ที่เราสร้างขึ้น จะสามารถกวาดเอาข้อมูลจำนวนมหาศาลจากแพลตฟอร์มออนไลน์ อาทิ twitter , facebook , website , youtube , Instagram ฯลฯ ซึ่งมีคนไทยอยู่บน Social media platforms ต่างๆ ราว 55 ล้านคน มารวมไว้ด้วยกัน แล้วกรองให้เหลือเป็นชุดข้อมูลที่สะท้อนความคิดเห็นตลอดจนทัศนคติ ซึ่งเทคโนโลยี AI ของเรา มีความสามารถจำแนกข้อมูลความคิดเห็นออกเป็น 3 แบบ คือ ชอบ ไม่ชอบ และคิดเห็นเป็นกลาง และวิเคราะห์ ออกมาเป็นตัวเลขสถิติที่ใกล้เคียงกับสภาพความเป็นไปในโลกจริง”

ดังกรณีตัวอย่าง การสำรวจโผ 10 ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.ที่โลกออนไลน์พูดถึงมากที่สุด ซึ่งผลสำรวจได้ออกพบ ผู้สมัครที่มีการกล่าวถึงเป็นอันดับหนึ่งคือ “ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” 52% (1,362,976 Mentions) ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างผลการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. กับเสียงจากโลกโซเชียลเปรียบเทียบการกล่าวถึงผู้สมัครรับการเลือกตั้งแล้ว พบว่า ผลคะแนนเลือกตั้ง ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ มีคะแนนถึง 54% (1,386,215 Mentions) ซึ่งผลใกล้เคียงกันถึง 2%

ในขณะที่ ผลสำรวจ Social Listening พบ 10 ปัญหาที่คนกรุงอยากได้ ผู้ว่าฯกทม.คนใหม่มาแก้ไข ก็สอดคล้องกับ นโยบาย 214ข้อ ของคุณชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ที่ได้วางไว้ โดยเฉพาะ “ปัญหาถนนและทางเท้าชำรุด” ที่ชาวโซเชียลระบุต้องการให้แก้ไขด่วน!! ซึ่งผลสำรวจออกมาติดอันดับ 1 จำนวน 97,875 ข้อความ (เฉลี่ย 52.80%)

และหากวิเคราะห์เชิงลึกจะพบว่า ผลสำรวจจากโลกโซเชียลสอดคล้องกับคะแนนเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. 65 เนื่องจากก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง เสียงจากประชาชนในสื่อออนไลน์ต่างๆ ต้องการให้ คุณชัชชาติ เข้ามาบริหารงานในตำแหน่ง ผู้ว่าฯ กทม. ด้วยก่อนหน้านี้กระแสของคุณชัชชาติ ก็นำมาเป็นอันดับหนึ่ง ด้วยเหตุผลดังนี้

– ป้ายหาเสียงที่มีขนาดเล็ก ไม่กีดขวางทางเท้า สามารถนำมาใช้ประโยชน์ด้วยการทำกระเป๋าได้

– มีการคำนึงถึงการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นประเด็นที่สังคมเห็นคุณค่า และต้องการสนับสนุน

– มีภาพลักษณ์ที่เป็นกันเอง เข้าถึงปัญหาประชาชนได้ง่าย มีการลงพื้นที่หาเสียง ตรวจสอบปัญหาอย่างจริงจัง

– ได้เข้าร่วมรายการดีเบตตามช่องทางต่าง ๆ และสามารถแสดงจุดยืน วิสัยทัศน์ และนโยบายของตนเองผ่านการตอบคำถามได้เป็นที่น่าพึงพอใจ

– มีแนวคิดที่ตรงใจกับกลุ่มคนรุ่นใหม่ มีการประชาสัมพันธ์ และหาเสียงผ่านช่องทางออนไลน์อย่างสร้างสรรค์ โดยใช้สื่อที่ดึงดูดความสนใจของกลุ่มคนรุ่นใหม่ได้

– เป็นผู้สมัครอิสระ โดยไม่สังกัดพรรคการเมืองใดการเมืองหนึ่ง

– ติดนโยบายเพื่อช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ กทม. ทั้งหมด 214 ข้อ

– มีจุดยืน และอุดมการณ์ที่ประชาชนมองว่าตรงข้ามกับฝ่ายรัฐบาล

นางพงษ์ทิพย์ กล่าวอีกว่า จุดแข็งของ “เรียลสมาร์ท” ในบทบาทที่เป็น Digital Super Agency ได้ แสดงให้เห็นแล้วว่าการใช้ Big Data จากโลกออนไลน์ด้วยการทำ social listening เพื่อเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งสะท้อนสภาพความเป็นจริงของทิศทางสังคมต่อประเด็นต่างๆ ทำให้สามารถบริหารจัดการสถานการณ์ และชื่อเสียงของ objective นั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการทำ Social Listening ไม่ได้จำเพาะอยู่กับเรื่องของแบรนด์ หรือการตลาดของสินค้าและบริการ แต่ยังใช้ได้กับทุกเรื่องที่เป็นเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในสังคม

“ทุกวันนี้ผู้คนจะใช้เวลาอยู่ในโลกออนไลน์เกือบ 24 ชั่วโมง ชุดความคิดที่ว่า ความคิดเห็นในโซเชียลมีเดียเป็นกระแสเป็นเรื่อง อารมณ์ เชื่อถืออะไรได้ยาก เป็นชุดความคิดที่ล้าสมัยไปแล้ว ยุคนี้จึงสามารถใช้เทคโนโลยีมาเป็นตัวช่วยจับกระแสสะท้อนความคิดความเห็นของคนในสังคมที่มีต่อเรื่องราวต่างๆ ที่ เกิดขึ้นโดยไม่ต้องตั้งคำถามทำโพลสำรวจความคิดเห็นในรูปแบบเก่าอีกต่อไป” นางพงษ์ทิพย์ กล่าวทิ้งท้าย

ร่วมเกาะติดสถานการณ์การอื่นๆ แบบเรียลไทม์ไปกับเรียล สมาร์ท (Real Smart) ได้ที่ www.realsmart.co.th และ facebook.com/realsmart.co.th

Exit mobile version