ในเดือนกันยายน 2565 ทางรถไฟความเร็วสูงกุ้ยหยาง-หนานหนิง ซึ่งมีกำหนดแล้วเสร็จและเปิดใช้งานภายในปี 2566 มีความคืบหน้าครั้งใหญ่ โดยงานวางรางรถไฟเบื้องต้นของทุกช่วงเสร็จเรียบร้อยแล้ว
สำนักประชาสัมพันธ์ของคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์จีนประจำเมืองกุ้ยหยาง ระบุว่า ทางรถไฟความเร็วสูงกุ้ยหยาง-หนานหนิง เป็นส่วนสำคัญของทางรถไฟความเร็วสูง “8 สายหลักแนวตั้ง และ 8 สายหลักแนวนอน” (เหนือ-ใต้ และตะวันออก-ตะวันตก) ทอดยาวจากเมืองเป่าโถว (เขตปกครองตนเองมองโกเลียใน) ไปจนถึงเมืองไหโข่ว (มณฑลไห่หนาน) โดยออกแบบมาเพื่อรองรับรถไฟความเร็ว 350 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หลังจากสร้างแล้วเสร็จทั้งหมดและเปิดใช้งาน ทางรถไฟนี้จะเชื่อมกับทางรถไฟความเร็วสูงเซี่ยงไฮ้-คุนหมิง และเฉิงตู-กุ้ยหยาง กลายเป็นเส้นทางการคมนาคมหลักที่มีความสะดวกสบายและรวดเร็ว จากเสฉวน ฉงชิ่ง กุ้ยโจว และแม้แต่ภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ไปยังหนานหนิง อ่าวเป่ยปู้ กว่างตง และไห่หนาน
นับตั้งแต่ปี 2555 เป็นต้นมา มณฑลกุ้ยโจวได้ให้ความสำคัญกับการคมนาคมเป็นหลัก โดยสร้างทางรถไฟความเร็วสูงยาว 1,609 กิโลเมตรแล้วเสร็จในช่วงสิ้นปี 2564 การเดินทางจากเขตใหม่กุ้ยอันไปยังกว่างโจว ฉางซา คุนหมิง ฉงชิ่ง เฉิงตู และเมืองอื่น ๆ มีทางรถไฟความเร็วสูงเชื่อมถึงกันโดยตรง นับว่าเชื่อมกับเมืองเอกของมณฑลอื่นโดยรอบ ทั้งนี้ มณฑลกุ้ยโจวค่อย ๆ วางเครือข่ายการขนส่งทางรถไฟโดยมีเขตใหม่กุ้ยอันเป็นศูนย์กลาง
เขตใหม่กุ้ยอัน ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์ในฐานะศูนย์กลางการขนส่งทางบกที่สำคัญของมณฑลกุ้ยโจวทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน มีความสำคัญเด่นชัดมากขึ้นเรื่อย ๆ และก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางรถไฟความเร็วสูงที่สำคัญของจีน
ที่มา: สำนักประชาสัมพันธ์ของคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์จีนประจำเมืองกุ้ยหยาง
ลิงก์รูปภาพประกอบข่าว:
ลิงก์: http://asianetnews.net/view-attachment?attach-id=429767
คำบรรยายภาพ: เขตใหม่กุ้ยอัน ในเมืองกุ้ยหยาง ปี 2564