9krapalm.com

“หัวเว่ย” เปิดเวที “โอลิมปัสมอนส์ ชาลเลนจ์” ประจำปี 2566 มุ่งพลิกวงการจัดเก็บข้อมูลทั่วโลก

หัวเว่ย (Huawei) ได้ประกาศเปิดตัวกิจกรรมโอลิมปัสมอนส์ ชาลเลนจ์ (OlympusMons Challenge) ประจำปี 2566 พร้อมประกาศผู้คว้ารางวัลโอลิมปัสมอนส์ ประจำปี 2565 ที่การประชุมอินโนเวทีฟ ดาต้า อินฟราสตรักเจอร์ ฟอรัม (Innovative Data Infrastructure Forum หรือ IDI Forum) ประจำปี 2566 โดยมีเป้าหมายเพื่อผลักดันให้นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกร่วมจัดการกับปัญหาทางเทคนิคในการจัดเก็บข้อมูล

นวัตกรรมทางเทคโนโลยีต้องอาศัยความก้าวหน้าทางทฤษฎี เช่นเดียวกับสิ่งประดิษฐ์ทางเทคโนโลยี ต้นแบบ และการใช้งาน ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับความร่วมมือระหว่างภาคอุตสาหกรรม ชุมชนวิชาการ และสถาบันวิจัย หัวเว่ยได้ประกาศจัดโอลิมปัสมอนส์ ชาลเลนจ์ เป็นเวลา 4 ปีติดต่อกันแล้ว ซึ่งช่วยชี้นำทิศทางของการวิจัยในแวดวงการจัดเก็บข้อมูลทั่วโลก หัวเว่ยเอาชนะความท้าทายทางเทคนิคที่สำคัญ เพื่อนำการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ระดับสูงไปสู่การปฏิบัติจริง และนำไปสู่ความร่วมมือที่ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย

ศาสตราจารย์โอนูร์ มูตลู (Onur Mutlu) และคณะ จากมหาวิทยาลัยอีทีเอช ซูริก (ETH Zurich) ซึ่งคว้ารางวัลโอลิมปัสมอนส์ ปี 2565 ไปครอง ได้ศึกษาระบบเครือข่ายรวมการจัดเก็บข้อมูลและประมวลผลข้อมูล โดยพัฒนาอัลกอริทึมเพิ่มประสิทธิภาพแบบใหม่ เพื่อเร่งอัปเกรดสถาปัตยกรรมการจัดเก็บข้อมูล

ในการประชุมนี้ หัวเว่ยได้ประกาศชาลเลนจ์หลักสำหรับรางวัลโอลิมปัสมอนส์ ประจำปี 2566 รวม 2 รายการ ได้แก่ พื้นที่จัดเก็บข้อมูลที่มีความคุ้มค่าต่อบิตขั้นสูงสุด (Storage with Ultimate Per-Bit Cost Efficiency) และความยืดหยุ่นของข้อมูลและบริการที่มุ่งสู่สภาพแวดล้อมแบบมัลติคลาวด์ (Data Resilience and Services Oriented towards Multi-Cloud Environments) โดยหัวเว่ยหวังทำงานร่วมกับชุมชนวิชาการ เพื่อสร้างระบบการจัดเก็บข้อมูลคุณภาพสูงที่โดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมการจัดเก็บข้อมูลที่เน้นข้อมูลเป็นศูนย์กลาง ใช้ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีเทคโนโลยีการกำกับดูแลเพื่อรองรับแอปพลิเคชันใหม่ ๆ ความยืดหยุ่นของข้อมูล และการป้องกันเชิงรุก

โจอัน เซอร์รา-ซากริสตา (Joan Serra-Sagrist?) ศาสตราจารย์จากภาควิชาวิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยอิสระแห่งบาร์เซโลนา (Autonomous University of Barcelona) ได้เปิดตัวการประกวดการบีบอัดข้อมูลระดับโลก (Global Data Compression Competition หรือ GDCC) ครั้งที่ 3 ซึ่งทางมหาวิทยาลัยร่วมจัดกับหัวเว่ย โดยเชิญวิศวกรซอฟต์แวร์ นักวิจัย นักศึกษา และผู้ที่ชื่นชอบเข้าร่วม การแข่งขันดังกล่าวประกอบด้วย 8 โจทย์หลัก โดยเน้นอัลกอริทึมการบีบอัดแบบไม่สูญเสียข้อมูล ด้วยเงินรางวัลรวม 171,000 ยูโร บุคคลและทีมที่ทำอัตราการบีบอัดและประสิทธิภาพได้มากที่สุดจะเป็นผู้ชนะ

ดร.เฉิง จวอ (Cheng Zhuo) หัวหน้าผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยทางเทคนิค ประจำธุรกิจโซลูชันจัดเก็บข้อมูลของหัวเว่ย ได้กล่าวปาฐกถาพิเศษที่งานนี้ในหัวข้อ “Innovations Towards Next-Generation Storage Architecture” (นวัตกรรมสู่สถาปัตยกรรมการจัดเก็บข้อมูลยุคหน้า) โดยเปิดเผยว่า เมื่อองค์กรต่าง ๆ มีความเป็นดิจิทัลเร็วขึ้น นวัตกรรมการจัดเก็บข้อมูลจะดำเนินการใน 6 ด้านหลัก ได้แก่ ความจุ สมรรถนะ ความน่าเชื่อถือ ประสิทธิภาพ ความยืดหยุ่น และระบบนิเวศแบบมัลติคลาวด์

การพัฒนาอุตสาหกรรมการจัดเก็บข้อมูลจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมืออย่างกว้างขวาง โดยธุรกิจโซลูชันจัดเก็บข้อมูลของหัวเว่ยจะยังคงทำงานร่วมกับภาคอุตสาหกรรมและวิชาการ เพื่อพัฒนาโซลูชันที่ชาญฉลาด ดิจิทัล และยั่งยืนในวันหน้า

รูปภาพ – https://mma.prnewswire.com/media/2086601/image_5011010_38450846.jpg

Exit mobile version