9krapalm.com

รายงานประจำปีว่าด้วยสภาพแวดล้อมทางกฎหมายสำหรับการดำเนินธุรกิจในประเทศอาเซียนฉบับแรก ได้รับการเผยแพร่ในการประชุมความร่วมมือทางกฎหมายจีน-อาเซียน ครั้งที่ 6

ฉงชิ่ง, จีน, 14 พฤศจิกายน 2567 /PRNewswire/ — รายงานข่าวจาก iChongqing:


The opening ceremony of the 6th China-ASEAN Legal Cooperation Forum. (Photo/Zheng Ran)

เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายนที่ผ่านมา การประชุมความร่วมมือทางกฎหมายจีน-อาเซียน ครั้งที่ 6 (6th China-ASEAN Legal Cooperation Forum) ได้จัดขึ้นที่เทศบาลนครฉงชิ่ง ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน

งานนี้ได้เชิญแขกจากรัฐบาล องค์กรด้านกฎหมาย และธุรกิจต่าง ๆ ทั้งจากประเทศจีนและประเทศสมาชิกอาเซียนกว่า 200 คน มาร่วมหารือเกี่ยวกับความร่วมมือทางกฎหมายในระดับภูมิภาค

“ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ จีนและอาเซียนได้กระชับความร่วมมือด้านการวิจัยทางกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ และด้วยความร่วมมือของเรา เราจึงสามารถคลี่คลายคดีอาญาได้เป็นจำนวนมากทุกปี” Somvanh Saiylongpha รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงความมั่นคงสาธารณะของลาว กล่าว

Saiylongpha กล่าวเสริมว่า การเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างลาวกับจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านความมั่นคงทางการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ได้วางรากฐานที่มั่นคงสำหรับความพยายามร่วมกันในอนาคต

I Gusti Agung Sumanatha ประธานศาลแพ่งและตุลาการศาลฎีกาของอินโดนีเซีย เน้นย้ำว่า “ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับอาเซียนเป็นหนึ่งในหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่สุดในโลกยุคปัจจุบัน และความร่วมมือทางกฎหมายก็เป็นกุญแจสำคัญ” โดยเขายกย่องว่าเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน (CAFTA) เป็นความสำเร็จครั้งสำคัญของการบูรณาการระดับภูมิภาค ซึ่งช่วยส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจได้อย่างมีนัยสำคัญ

Lin Wei อธิการบดีมหาวิทยาลัยรัฐศาสตร์และกฎหมายตะวันตกเฉียงใต้ (SWUPL) ได้นำเสนอความพยายามของทางมหาวิทยาลัยในการพัฒนาศูนย์วิจัยทางกฎหมายจีน-อาเซียน (China-ASEAN Legal Research Center) ให้ก้าวขึ้นเป็นสถาบันชั้นนำด้านความร่วมมือทางกฎหมายในภูมิภาค โดยเขาย้ำว่าศูนย์แห่งนี้จะมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมหลักนิติธรรมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่อไป

ในการประชุมครั้งนี้ยังถือเป็นครั้งแรกที่มีการเผยแพร่รายงานประจำปีว่าด้วยสภาพแวดล้อมทางกฎหมายสำหรับการดำเนินธุรกิจในประเทศอาเซียน (ประจำปี 2567) ซึ่งมีการวิเคราะห์ภูมิทัศน์ทางกฎหมายในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยถือเป็นก้าวสำคัญในการส่งเสริมหลักนิติธรรมเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาค

นอกจากนี้ ในการประชุมยังมีการเผยแพร่กรณีตัวอย่างทั่วไปในเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน ซึ่งประกอบด้วยกรณีตัวอย่าง 10 กรณีเกี่ยวกับการใช้หลักนิติธรรมในเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน โดยกรณีตัวอย่างเหล่านี้ได้มอบแนวทางทางกฎหมายอันมีค่าสำหรับผู้ประกอบธุรกิจในภูมิภาค

ขณะเดียวกันยังมีการเปิดตัวคณะทำงานศิษย์เก่าอาเซียน (เอเชียใต้) ของมหาวิทยาลัย SWUPL โดยมีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์กับศิษย์เก่าในอาเซียน และส่งเสริมการศึกษาด้านกฎหมายระหว่างประเทศ

 

View original content to download multimedia: Read More

Exit mobile version