9krapalm.com

ทรินา โซลาร์ เผยแพร่รายงานผลการประเมิน CAPEX และ LCOE ชี้โมดูล Vertex 210 มม. คุ้มค่าที่สุด

เมื่อวันที่ 26 มกราคมที่ผ่านมา ทรินา โซลาร์ (Trina Solar) ได้เผยแพร่รายงานสมุดปกขาวซึ่งรวบรวมผลการประเมิน CAPEX และ LCOE ของโมดูลตระกูล Vertex จาก 5 องค์กรที่ทรงอิทธิพลในระดับโลกอย่าง Fraunhofer ISE, DNV, Black&Veatch, Enertis Applus+ และ UL โดยรายงานประเมินดังกล่าวประกอบด้วยข้อมูลจาก 6 ประเทศ และมีข้อมูลเปรียบเทียบรวม 84 ชุดด้วยกัน ซึ่งแสดงให้เห็นความคุ้มค่าของโมดูลตระกูล Vertex อย่างครอบคลุม

(คลิกเพื่อดาวน์โหลดรายงาน: https://pages.trinasolar.com/lcoe-whitepaper.html และติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ vertexvalue@trinasolar.com)

เร่งบรรลุเป้าหมายคาร์บอนคู่ขนาน

ปัจจุบัน ทั่วโลกต่างมุ่งมั่นบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน ขณะที่การสร้างระบบพลังงานรูปแบบใหม่โดยให้พลังงานใหม่เป็นแกนหลักก็เป็นทิศทางการพลิกโฉมพลังงานของจีน โดยอุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์จะเป็นที่นิยมมากขึ้นเมื่อต้นทุน LCOE ปรับตัวลดลงจนเข้ามาแทนที่พลังงานฟอสซิสอย่างถ่านหินและน้ำมันดิบได้ พร้อมส่งเสริมการบรรลุเป้าหมาย “คาร์บอนคู่ขนาน” ในคราวเดียวกัน

รายงานสมุดปกขาวฉบับล่าสุดนี้เริ่มด้วยการอธิบายถึงหลักการเกี่ยวกับมูลค่าของระบบ และแนวทางต่าง ๆ ในการลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าต่อหน่วยปรับเฉลี่ย (LCOE) โดยรวบรวมผลการคำนวณและผลการศึกษาจาก Fraunhofer ISE, DNV, BLACK&VEATCH, Enertis Applus+ และ UL ที่ดำเนินการในเยอรมนี สเปน บราซิล สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ครอบคลุมโมดูลพลังงานแสงอาทิตย์ 4 ขนาดด้วยกัน ได้แก่ 210 มม. 182 มม. 166 มม. และ 158 มม. ซึ่งผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ผลลัพธ์ของการใช้โมดูลประเภทต่าง ๆ มีต่อมูลค่าของทั้งระบบนั้น ขึ้นอยู่กับความแตกต่างในปัจจัย 2 ประการด้วยกัน ได้แก่ ต้นทุนอุปกรณ์ส่วนควบ (BOS) และต้นทุน LCOE

ต้นทุน LCOE ของโมดูล Vertex 210 มม. ลดลงได้มากถึง 4.1%

รายงานฉบับนี้ชี้ให้เห็นว่า เมื่อพิจารณาจากสูตรการคำนวณ LCOE แล้ว มูลค่าของระบบจะได้สัดส่วนกับต้นทุนทั้งหมดในวัฏจักรชีวิต ไม่ว่าจะเป็น CAPEX, OPEX เป็นต้น และเป็นสัดส่วนผกผันกับการผลิตไฟฟ้าตลอดทั้งวัฏจักรชีวิต โดยผลการศึกษาขององค์กรต่าง ๆ พบว่า เมื่ออยู่ในสภาวะเดียวกันแล้ว การผลิตไฟฟ้าตลอดทั้งวัฏจักรของโครงการจะแตกต่างกันตามองค์ประกอบต่าง ๆ (P-type) แต่ก็ไม่ได้แตกต่างกันมากนัก โดยผลลัพธ์ที่ CAPEX ของโครงการมีต่อ LCOE นั้นมีนัยสำคัญกว่า ซึ่งหมายความว่า เมื่อการผลิตไฟฟ้าไม่ได้มีความแตกต่างกันมากแล้ว การที่ CAPEX ลดลงจะทำให้ LCOE ลดลงด้วย

ผลการเปรียบเทียบขององค์กรที่กล่าวถึงข้างต้นในภูมิภาคที่แตกต่างกันและประเภทของโครงการที่แตกต่างกัน แสดงให้เห็นว่าโมดูล Vertex 210 มม. ของทรินา โซลาร์ มีข้อได้เปรียบมากมายในแง่ของต้นทุนระบบไฟฟ้า ต้นทุนการขนส่ง และต้นทุนการติดตั้งระบบติดตามแสงอาทิตย์ เมื่อเทียบกับโมดูล 182 มม. และ 166 มม. โดยเมื่อเทียบกับโมดูลอ้างอิง 182 มม. ขนาด 540 วัตต์ พบว่าโมดูล Vertex ขนาด 670 วัตต์ของทรินา โซลาร์ สามารถลดต้นทุน LCOE ได้มากถึง 4.1%

โมดูล Vertex 210 มม. ของทรินา โซลาร์ ใส่ใจเรื่องผลกระทบของต้นทุนระบบตั้งแต่เริ่มต้นออกแบบ จากนั้นจึงพัฒนาแนวคิดการออกแบบโมดูลในลักษณะแรงดันต่ำและกำลังไฟฟ้าสูง ซึ่งช่วยเพิ่มกำลังไฟฟ้าของสตริง (String) ได้สูงสุด 41% ส่งผลให้มูลค่าของระบบสูงขึ้นและกินไฟน้อยลง โดยได้กลายเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่ และมอบคุณค่ามากขึ้นให้แก่ลูกค้าด้วย

เครื่องมือจับคู่อัจฉริยะเวอร์ชัน 3.0 พร้อมให้บริการ

เพื่อให้บริการที่ดีขึ้นแก่ลูกค้า ก่อนหน้านี้ ทรินา โซลาร์ ได้เปิดตัวฐานข้อมูลจับคู่อัจฉริยะสำหรับการออกแบบโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เวอร์ชัน 2.0 ซึ่งประกอบด้วยข้อมูล 22 สตริงอินเวอร์เตอร์ของผลิตภัณฑ์ 238 รายการ, ผู้ผลิตอุปกรณ์ติดตามแสงอาทิตย์รายหลัก 14 ราย และอุปกรณ์ติดตามแสงอาทิตย์กว่า 30 รายการ หลังจากนั้นได้มีการอัปเกรดเป็นเวอร์ชัน 3.0 ที่มาพร้อมข้อมูลมากขึ้น โดยลูกค้าสามารถใช้ระบบค้นหาข้อมูลอัจฉริยะในการค้นหาข้อมูล BOS และ LCOE รวมถึงความแตกต่างของโมดูลหลากหลายประเภทภายใต้สภาพการใช้งานจริง (เว็บไซต์ pvd.trinasolar.com)

รูปภาพ: https://mma.prnewswire.com/media/1735265/image.jpg

Exit mobile version