9krapalm.com

กรอบว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพระดับโลกบรรลุผลในงานประชุม COP15

ข้อตกลงว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพครั้งประวัติศาสตร์ได้มีขึ้นเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ณ ที่ประชุมของการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (COP15) ในเมืองมอนทรีออลของแคนาดา

นายหวง หรุนฉิว (Huang Runqiu) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อมของจีน และประธาน COP15 ประกาศ ณ ที่ประชุมใหญ่ในเมืองมอนทรีออลว่า “ข้อตกลงนี้ได้มีการนำไปใช้แล้ว” ซึ่งสร้างเสียงปรบมือดังกึกก้องจากผู้เข้าร่วมงานทุกคน

ข้อตกลงว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพดังกล่าวมีชื่อว่า กรอบงานด้านความหลากหลายทางชีวิภาพทั่วโลก คุนหมิง – มอนทรีออล (Kunming-Montreal Global Biodiversity Framework) ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อพลิกฟื้นการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและทำให้โลกเข้าสู่เส้นทางแห่งการฟื้นฟู โดยข้อตกลงนี้ประกอบด้วย การบรรลุเป้าหมายระยะยาวเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพภายในปี 2593 รวม 4 เป้าหมาย และเป้าหมายการดำเนินการเฉพาะทาง 23 ประการที่จะแล้วเสร็จภายในปี 2573 ซึ่งครอบคลุมใน 3 ประเด็น คือ การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน และการแบ่งปันผลประโยชน์ของทรัพยากรพันธุศาสตร์อย่างยุติธรรมและเท่าเทียม

ประเด็นสำคัญนี้ได้รับความเห็นชอบจากทุกฝ่าย โดยส่วนที่สำคัญที่สุดของข้อตกลงดังกล่าวคือความมุ่งมั่นในการปกป้อง 30% ของพื้นที่ทางบกและทางทะเลของโลกให้กลายเป็นพื้นที่คุ้มครองภายในปี 2573 ซึ่งจนถึงขณะนี้ มีเพียง 17% ของพื้นที่ทางบก และอีก 10% ของพื้นที่ทางทะเลที่ได้รับการปกป้องคุ้มครอง

ข้อตกลงดังกล่าวเรียกร้องให้มีการระดมทุน 2 แสนล้านดอลลาร์ภายในปี 2573 เพื่อความหลากหลายทางชีวภาพในแหล่งต่าง ๆ และดำเนินการยกเลิกหรือปฏิรูปการอุดหนุนที่จะนำไปสู่การมอบเงินอีก 5 แสนล้านดอลาร์เพื่อธรรมชาติ นอกจากนี้แล้ว โครงการยังเรียกร้องให้เพิ่มเงินทุนเป็นอย่างน้อย 2 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อปี ซึ่งภายในปี 2568 เงินเหล่านี้จะกระจายไปยังกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา และภายในปี 2573 ยอดเงินจะพุ่งทะลุ 3 หมื่นล้านดอลลาร์

กรอบการดำเนินการนี้ยังหมายถึงการอนุรักษ์แบบร่วมประสานกันระหว่างการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ควบคู่ไปกับการลดปัญหาและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วย

ในระหว่างการประชุมใหญ่ คณะผู้เข้าร่วมประชุมต่างเล็งเห็นตรงกันถึงความสำคัญในการละทิ้งความแตกต่าง และหันหน้าเข้าหากันเพื่อดำเนินงานร่วมกัน อีกทั้งยังแสดงการสนับสนุนต่อกรอบดำเนินการนี้

ในฐานะประธานของ COP15 จีนได้จัดการประชุมส่วนแรกที่คุนหมิง เมืองเอกของมณฑลยูนนานทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีนเมื่อปี 2564 และการประชุมส่วนที่สองที่มอนทรีออล ของแคนาดา โดยได้สานต่อในหัวข้อ “อารยธรรมนิเวศวิทยา: สร้างอนาคตร่วมกันเพื่อทุกชีวิตบนโลก” (Ecological Civilization: Building a Shared Future for All Life on Earth)

จีนให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และส่งเสริมการประชุม COP15 อย่างแข็งขัน ซึ่งเกิดขึ้นหลังเจรจา “มาราธอน” ต่อเนื่องมาเกือบ 4 ปี และเลื่อนไปหลายรอบเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19

นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน กล่าวผ่านวิดีโอในพิธีเปิดการประชุมในส่วนที่สองของ COP15 เมื่อวันที่ 15 ธันวาคมที่ผ่านมาว่า “ไม่ว่าจะเป็นการเอาชนะการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 หรือการยกระดับการคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพและบรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืนทั่วโลก ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันและการร่วมมือกันคือหนทางเดียวที่มีประสิทธิภาพในการจัดการกับความท้าทายทั่วโลก”

แม้จะมีความแตกต่างอย่างลึกซึ้งในช่วงก่อนการเจรจาหารือกัน แต่จีนได้พยายามทุกวิถีทางในการอุดช่องว่างเหล่านั้น เพื่อกำหนดแนวทางในการเจรจาและท้ายที่สุดคือการผลักดันให้ได้กรอบการดำเนินงานที่วางไว้

กรอบการดำเนินงานนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งทางประวัติศาสตร์ เนื่องจากมนุษยชาติพยายามแสวงหาการสร้างระบบนิเวศของโลกที่สมบูรณ์และรุ่งเรือง และเพื่อบรรลุเป้าหมายแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน

CGTN: https://news.cgtn.com/news/2022-12-19/COP15-negotiators-reach-agreement-on-global-biodiversity-framework–1fThFHyR68w/index.html

รูปภาพ – https://mma.prnewswire.com/media/1971905/Historic_global_biodiversity_framework_reached_COP15_active_efforts_China.jpg

คำบรรยายภาพ – กรอบว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพระดับโลกครั้งประวัติศาสตร์ บรรลุผลในงานการประชุม COP15 ด้วยความพยายามอย่างมุ่งมั่นของจีน

Exit mobile version